วันอาทิตย์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2560

ปีเก่าผ่านไปแล้ว บัดนี้ก็ถึงเวลา ... สรุปบัญชีประจำปีสิครับ

ในที่สุดก็ถึงเวลาแล้ว....
เวลาของการสรุปบัญชีงบการเงิน(และลงทุน) ส่วนบุคคล ปี 2016

ถึงจะทำมาหลายปีล่ะ แต่ถึงเวลานี้ทีไรก็เหงื่อตกทุกที ... เพราะ
- ยิ่งนานวัน ยิ่งมีความซับซ้อนของพอร์ตการลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อย (รูปแบบการลงทุนหลากหลายขึ้น) การสรุปบัญชีก็ใช้เวลามากขึ้น
- ยิ่ง apply เทคนิคการบริหารการเงินส่วนบุคคลหลายแบบขึ้น ความซับซ้อนก็เพิ่มขึ้น

แม้ว่าจะมีการพัฒนาเครื่องมือในการช่วยให้งานเบาลงแล้ว (บางส่วนในบัญชีนี่เเขียน excel macro ล่ะ) แต่มันก็ยังถือเป็นกิจกรรมที่ใช้เวลามากอยู่ดี - - (แถมมี transaction ใหม่ๆเกิดขึ้นเรื่อยๆอีก)

ยังไม่นับเรื่องยื่นภาษีอีก lol เป็นอะไรที่น่าเบื่อมาก
แต่เมื่อไหร่ที่ทำมันเสร็จ มันจะมีคุณค่ากับเรามากๆ ในเรื่องของการวัดผลพัฒนาการทางการเงินของตัวเอง

และยังมีคุณค่า ในด้านที่ช่วยวางแผนการเงินในอนาคตของปีต่อไปอีกด้วย

ดังนั้นถึงจะน่าเบื่อ แต่ก็คุ้มค่ากับการลงแรงลงเวลาทำมันแหละครับ :)

ว่างๆก็เคยมีคิดว่าจะทำ template บัญชี แชร์ให้คนอื่นไปใช้ดูบ้าง
แต่ติดปัญหานิดหน่อยว่า บัญชีของมัน มันดันเป็นศาสตร์การทำบัญชีที่พัฒนาขึ้นมาด้วยตัวเอง ทำให้คนอื่นน่าจะเข้าใจยากกับการใช้

คืองี้ครับ เมื่อครั้งที่ ผมเริ่มต้องทำบัญชีต้องต้องดูแลการเงินของบ้านตัวเอง
เพราะตอนนั้นผมดูแลบ้านและสิ่งที่เหลืออยู่ที่คุณแม่ผม ฝากให้ผมดูแลเป็นธุระทางการเงินให้ต่อ เพราะแม่ผมเผอิญแต่งงานและไปอยู่ ตปท. = = ซึ่งธุระการเงินแม่ผมซับซ้อนน้อยซะเมื่อไหร่ เพราะท่านเป็นนักหมุนเงินและหนี้บัตรเครดิตมาหลายใบ ... ภาระทุกอย่างเลยมาตกกะผมนี่แหละ บ้านที่ต้องดูแลก็อยู่ ตจว. อีก ในขณะที่ผมเรียนอยู่แถว กทม. (ตอนนั้นเรียน ป.ตรี ปี 2 อยู่) ค่อนข้างหนักสำหรับคนวัยนั้นน่ะ

แต่ตอนนั้นคือเราไม่ได้เรียนทางด้านการเงินหรือธุรกิจอะไร ความรู้ในการทำบัญชีมีแค่บัญชีรายรับรายจ่ายที่เรียนมาตอน ประถม มัธยม ก็ทำๆไป พอให้รู้ว่าอะไรเป็นอะไร

ก็ทำมาเรื่อย จากทำในกระดาษ พัฒนามาเป็น Excel
นึกอะไรออกก็ค่อยๆปรับ ค่อยๆแก้รูปแบบบัญชีมาเรื่อยๆ โดยยึดหลักว่าหลังแก้ไขแล้ว ความถูกต้องของตัวเลขความมั่งคั่งของผมและของแม่ต้องคงเดิม และมีคุณสมบัติใหม่ๆที่ต้องดีขึ้นด้วยในทางใดทางนึง (ง่ายขึ้น, สะดวกขึ้น, บอกข้อมูลที่เราอยากรู้ได้มากขึ้น)

หลังจากผ่านการพัฒนา ปรับแก้ ปรับแต่งมายาวนาน ราว 5 ปี ซึ่งมันก็พัฒนารูปแบบไปเยอะมากๆ ผมก็เพิ่งได้เริ่มเข้าสู่โลกการลงทุนครั้งแรก
และเมื่อมาทางสาย VI ที่ทำให้เราได้ศึกษาทางการอ่านงบการเงินตามหลักวิชาบัญชีจริงๆ
เพิ่งได้ถึงบ้างอ้อว่า ไอ้ที่เราทำๆมาทั้งหมดนั่น มีอะไรเทียบเคียงได้กับเรื่องไหนในงบการเงินบ้าง

ซึ่งเป็นเรื่องมหัศจรรย์ ที่ระบบบัญชีที่เราพัฒนามาเองหมด โดยไม่เคยเรียนวิชาบัญชีจริงจังมาก่อน ออกมาสุดท้ายเทียบได้กับการที่เรามี 1). งบกำไรขาดทุน 2). งบแสดงฐานะการเงิน (งบดุล) มาแล้ว
ส่วนของงบ กระแสเงินสดนั้น มันครึ่งๆกลางๆ จะว่าใช่ก็ใช่ ไม่ใช่ก็ได้ ก็เลยถือว่าไม่มีละกัน - -a

แต่ถึงอย่างนั้นบัญชีของผมก็ยังดูต่างจากงบการเงินโดยหลักทางบัญชีพอสมควร ในเรื่องการวัดค่าและภาษาที่ได้เรียกค่าต่างๆ หรือแม้แต่หลักการปลีกย่อยบางอย่างก็ไม่ตรงกับหลักบัญชีจริงๆซะทีเดียว เพราะผมยึดเอาตามลักษณะการใช้งานจริงของตัวเองเป็นหลัก

ดังนั้นผมเลยไม่คิดว่าจะแปลงมันให้คนอื่นไปใช้งานได้ง่ายหรือสะดวกนัก ภาษาที่ใช้แล้วไม่ตรงกับภาษาทางบัญชีจริงๆ แชร์ไปก็คงเหมือนปล่อยไก่ให้คนนินทาอีก งั้นก็เก็บไว้ก่อนดีกว่า

โดยส่วนส่วนตัวผม จึงเห็นว่า ถ้าใครจะมาศึกษาและลองเป็นนักลงทุน หรือต้องการบริหารการเงินส่วนบุคคลของตัวเองให้ดีขึ้น
บัญชีของคุณ อย่างน้อยต้องมี 2 ส่วนประกอบหลักคือ
 
1. งบกำไรขาดทุน - บัญชีรายรับรายจ่ายก็กึ่งๆจะถือว่าเป็นงบกำไรขาดทุนได้ แต่เป็นลักษณะข้อมูลดิบ มันจะเป็นงบกำไรขาดทุนจริงๆ ก็เมื่อคุณสร้าง จุดตัดรอบบัญชีแต่ละรอบอย่างเป็นระบบชัดเจน เช่น ตัดทุกๆ quarter หรือตัดทุกๆเดือน ก็แล้วแต่การใช้งาน ...... แต่ผมว่าถ้าคุณเป็นมนุษย์เงินเดือน ตัดรอบบัญชีเดือนละครั้ง จะช่วยคุณในการวางแผนการเงินได้ดีกว่าน่ะ อย่างของผมจะตัดรอบบัญชีทุกวันที่ 20 ของเดือนครับ เพราะสมัยเรียนมหาลัยที่ผมเริ่มทำบัญชี เงินผมเข้าวันที่ 20 ของเดือน แล้วก็เลยใช้ระบบนี้เรื่อยมา

2. งบแสดงฐานะการเงิน (หรืองบดุล) - เป็นส่วนหลักในการลงทุน ที่บอกว่า เรามีทรัพสินอะไรบ้าง เงินสดในบัญชีธนาคารมีเท่าไหร่, ถือหุ้นอะไรบ้าง, ถือกองทุนอะไรบ้าง, มีลูกหนี้ใครบ้าง ฯลฯ โดยทั้งหมดนั้นต้องบอกคุณลักษณะที่งบดุลพึงต้องบอก คือ แต่ละสินทรัพย์ที่ว่าไปนั้น (ลูกหนี้ก็ถือเป็นทรัพย์สินในทางบัญชีได้น่ะครับเผื่อใครไม่รู้)
- มีมูลค่าปัจจุุบันคงเหลือเท่าไหร่
- ต้นทุนเท่าไหร่
- กำไรขาดทุนเท่าไหร่
- มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลง ณ วันที่เท่าไหร่บ้าง (เช่นมีการซื้อหรือขายหุ้น หรือปรับพอร์ต)

ว่าจะเขียนสั้นก็ยาวซะล่ะ ตัดจบแค่นั้นละกันครับ
 
May the force be with you เหล่าสหายผู้ต้องเคลียร์บัญชีทุกท่าน ไฟต์ๆ ทำๆไปมันต้องเสร็จสิน่า

วันอาทิตย์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2560

วันนี้อ่านเจอข่าวว่า รพ.รัฐฯ กำลังจะเจ๊ง

จากข่าวนี้
http://www.thairath.co.th/content/835599
การจัดสรรเงินในระบบสาธารณสุขที่ไม่เป็นตามจริง น่าจะอธิบายปัญหาต่างๆ ทั้งๆที่ระบบหลักประกันสุขภาพของไทยดีมาก แต่ สปสช. ทำให้ล้ม ดังที่เกิดปัญหาเป็นลูกโ

อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/835599
การจัดสรรเงินในระบบสาธารณสุขที่ไม่เป็นตามจริง น่าจะอธิบายปัญหาต่างๆ ทั้งๆที่ระบบหลักประกันสุขภาพของไทยดีมาก แต่ สปสช. ทำให้ล้ม ดังที่เกิดปัญหาเป็นลูกโ

อ่านข่าวต่อได้ที่: http://www.thairath.co.th/content/835599
สรุปสั้นๆ (เนื่องจากก๊อปข้อความมาไม่ได้ ฮาๆ) คือ ระบบหลักประกันสุขภาพของบ้านเราดีมาก แต่โครงสร้างทางการเงิน ของทั้งระบบ ไม่สามารถอุ้มระบบนี้เอาไว้ได้ (รายจ่ายมากกว่ารายรับมาก) อีกทั้งโครงสร้างการบริหารที่บิดเบี้ยวจากส่วนกลาง ซุกและปกปิดปัญหาไว้แล้วให้บุคลากร ระดับปฏิบัติการเป็นคน absorb แทน จึงเกิดปัญหาสมองไหล (หมอ พยาบาล ฯลฯ ทนอยู่ในระบบนั้นไม่ได้ เพราะตัวเองจะตายซะก่อนคนไข้ แถมยังทำคุณบูชาโทษ โดนฟ้องร้องติดคุกกันอีก ใครจะอยากเสี่ยงอยู่ต่อไป)


ใครหวังพึ่งสวัสดิการรัฐอย่างเดียวขอให้คิดดีๆเพราะว่าเสี่ยงมากครับ
สิ่งที่เราทุกคน ทำได้และควรทำคือ

- มีกองทุนฉุกเฉินของตัวเอง ซึ่งควรมีปริมาณเงินเพียงพอจะใช้ชีวิตต่อไปได้อีก 6 เดือนเป็นอย่างน้อย กรณีป่วยจนทำงานไม่ได้เป็นเวลานานๆ (ใช้ตอนที่ตกงานได้ด้วยน่ะ)

- มีพวกประกันสุขภาพ และประกันอุบัติเหตุติดตัวไว้ ( ใครที่ทำงานบริษัทเอกชนใหญ่ๆดีๆหน่อย ก็มักจะมีอยู่แล้ว)

- ดูแลสุขภาพของตัวเองให้ดีที่สุด ทั้งอาหารการกิน, การออกกำลังกาย, พักผ่อนเพียงพอ, ตรวจสุขภาพประจำปี, แล้วใช้ชีวิตอยู่บนความไม่ประมาท

วันนี้เอาสั้นๆครับ ส่วนภาคขยายความของแต่ละหัวข้อ นึกออกวันไหนเดี๋ยวน่าจะได้เขียนครับ