วันเสาร์ที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2560

วิธีที่ภาครัฐจะใช้รับมือ Uber คือสิ่งตัดสินอนาคตทางเศรษฐกิจของประเทศไทย

ความขัดแย้งระหว่าง Uber กับ รัฐฯ ในตอนนี้
ผมก็สงสัย และหลายคนก็สงสัย ว่าทำไม Uber ไม่ทำให้ถูกกฏหมายซะให้จบๆ
แต่ถ้าให้เดา คือ ข้อกฏหมายปัจจุบัน มันคงขัดแย้งกับ business rule & process ของ Uber เยอะมากเกินไป จนไม่อาจทำตามได้
คือประมาณว่า ถ้าเปลี่ยนให้เข้ากับกฏหมายไทยตอนนี้ Uber ก็ไม่ใช่ Uber อีกต่อไป (มันจะไม่ใช่ solution ที่เรียกว่า Uber, ไม่ใช่ sharing economy อีกต่อไป)
ประเด็นคือ กฏหมายต้องตามโลกให้ทัน เพราะโลกมันต้องพัฒนาไปเรื่อยๆ
เพราะเราก็เห็นอยู่ว่า หลายประเทศ เช่น สิงค์โปร์ หรือ มาเลเซีย ไม่ได้มีปัญหากับ Uber และ Uber เลยไม่ต้องอยู่อย่างผิดกฏหมายในนั้น

ธุรกิจทั้งหมด ล้วนเกิดมาเพื่อ แก้ปัญหา บางอย่าง
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องที่ควรขัดขวางการเกิดขึ้นของธุรกิจใหม่ เพราะมันเท่ากับขัดขวาง การเกิดขึ้นของวิธีแก้ปัญหาใหม่ๆ
เมื่อไม่มีวิธีแก้ปัญหาใหม่ๆเกิดขึ้นมาได้ การพัฒนาใหม่ๆ จะเกิดได้อย่างไร ?
ในยุคนี้นั้น ผู้นำประเทศที่เข้าใจว่าโลกทุนนิยมทำงานอย่างไร และรู้จักใช้ประโยชน์จากมันได้ ทำให้ประเทศอยู่ใน position ที่มีความได้เปรียบทางธุรกิจ (และในเชิงเศรษฐศาสตร์) ได้ จึงจะเจริญได้เหนือประเทศอื่นๆ
เป็นโชคดีของ สิงค์โปร์ มากๆ ที่ได้นายกเป็นอดีต Programmer พอดี ซึ่งมันเข้ากับ megatrend ของยุคนี้ และนั่นทำให้ประเทศเขาเกิดความได้เปรียบเหนือประเทศอื่นขึ้นมาได้
มันไม่ใช่ยุค ฟิวดัล ที่เป็นแบบ Lord & Vassal แล้ว (ถ้าใช้คำเข้าใจง่ายก็ระบบศักดินา & ระบบอุปถัมภ์ บ้านเรา) ที่มุ่งเป้าแค่ทำยังไงให้ก๊กเรามีกำลังทหารสูงที่สุด แล้วคิดว่าจะไปชิงทรัพยากรของประเทศใกล้ๆมาเป็นความมั่งคั่งของเราได้

วิธีที่ รัฐ จะใช้รับมือกับการเข้ามาของ ธุรกิจเกิดใหม่พวก IT startup ต่างๆ คือสิ่งตัดสินว่า Thailand 4.0 กับการชวนให้มี startup ช่วงที่ผ่านมา จะสำเร็จหรือไม่
พวกเรารู้กันมานานแล้วว่า เดิมคนไทยไม่ได้เป็นชนชาติที่นิยมทำธุรกิจ มีธุรกิจเกิดใหม่น้อย
สาเหตุหลักๆ นอกจากวัฒนธรรม การอบรมสั่งสอนสไตล์ไทยๆ ไม่เอื้อ (แถมทำลาย) ความคิดสร้างสรรค์แล้ว
ถ้าผ่านด่านนั้นไปได้ อีกด่านที่มักไม่รอดคือ ถ้าธุรกิจใหม่ของเรา มันกำลังมาแทนที่ธุรกิจเก่าที่มีรายใหญ่และเส้นใหญ่ครองตลาดอยู่
คิดว่าจะรอดด่านนี้ไปจนตั้งตัวสำเร็จ โดยไม่เจออำนาจมืดมาฆ่าธุรกิจใหม่นี้ ได้รึเปล่า

นั่นคือปัญหาใหญ่ที่สุดอันนึง ที่เราแตกต่างจากประเทศที่อุดมไปด้วยธุรกิจเกิดใหม่
ประเทศพวกนั้น โอกาสโดนเล่นงานนอกเกมแบบนั้นยากกว่า
นั่นคือหน้าที่สำคัญที่สุดของภาครัฐ
ไม่ใช่ที่เป็นแบบในประเทศเรา ที่เป็นอุปสรรคต่อการเกิดนวัตรกรรม ใหม่ๆ ซะมากกว่า แถมยังเป็นพวกเดียวกันกับธุรกิจเก่ารายใหญ่นั้นไปซะอีก

ทุกครั้งที่มีการพยายาม ฝืนกลไกตลาด แทรกแซง ระบบเศรษฐกิจ ในจุดที่เป็น core features ของระบบเศรษฐกิจนั้นโดยตรง
ผมมักจะนึกถึงความสูญเสียทางเศรษฐกิจจากวิกฤตต้มยำกุ้งปี 40
กรณี Uber มันเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้น
ในอนาคตจะมี information technology ใหม่ๆถาโถมเข้ามาอีกเรื่อยๆ
นอกจากนั้นยังมี ai หุ่นยนต์ และโซลูชั่นทดแทนแรงงานมนุษย์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมาเรื่อยๆ

อันที่จริงก็มีการพูดถึงเรื่องนี้มาสักพักหนึ่งแล้วทั้งจากภาคเอกชน สถาบันผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจ และแบงค์ชาติ
ว่าเราต้องพยายาม แก้ปัญหาแรงงานไร้ทักษะ ซึ่งประเทศเรานั้นมีอยู่เป็นจำนวนเยอะมาก
ถ้าไม่อยากให้พวกเขาถูกทิ้งไว้เบื้องหลัง และโดนเทคโนโลยีการผลิตใหม่ๆแย่งงานพวกเขาไปหมด ก็ต้องพยายามผลักดันให้พวกเขาหลุดจากสถานะแรงงานไร้ทักษะให้ได้ ไปสู่ตำแหน่งงานที่ใช้ความรู้และทักษะให้มากขึ้น และไปสู่จุดที่เทคโนโลยีการผลิตเข้ามาทดแทนได้ยากขึ้น
งานนี้ไม่ใช่งานที่ทำครั้งเดียวจบเพราะว่าความก้าวหน้าของ ai นั้นมีมากขึ้นทุกวัน
การพยายามฝืนความเปลี่ยนแปลงนี้ โดยคิดแค่ว่าออกกฎหมายป้องกันเอาไว้ ไม่ให้เทคโนโลยีพวกนั้นเข้ามา และคนของเราจะได้ทำงานแบบเดิมต่อไป โดยที่ไม่ต้องพัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้น มีความสุขกับการเป็นแรงงานไร้ทักษะต่อไป
มันอาจจะเหมือนได้ผลในระยะสั้น
แต่ว่าในระยะยาวแล้ว จะทำให้ประเทศของเราสูญเสียความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจในตลาดโลกมากขึ้นเรื่อยๆมากขึ้นเรื่อยๆ
ในทาง software development เราอาจจะเรียกสิ่งนี้ว่าการสร้าง technical debts
ในภาษาทั่วไปอาจจะเรียกว่า การซุกปัญหาไว้ใต้พรม
ยิ่งปล่อยมันให้เนิ่นนานเท่าไหร่ความรุนแรงของมันก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ
จนถึงวันที่มันผลิแตกออกมา
ความเสียหายก็อาจจะประเมินค่าไม่ได้โดยเฉพาะมันเป็นความเสียหายบนโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจของประเทศทั้งหมด
เราอาจจะต้องกลับไปเริ่มพัฒนาประเทศโดยการนับหนึ่งใหม่
เพราะว่าเราตามโลกไม่ทันแล้ว และระยะห่างที่โลกวิ่งนำหน้าเราไปนั้นก็ไกลมาก