วันพฤหัสบดีที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ทางออกของปัญหาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำซ้ำซาก สำหรับเกษตรกรไทย

เร็วๆนี้ เพิ่งเห็นข่าว เกษตรกร เอามะนาวมาเททิ้ง เพราะราคาตกต่ำมาก

ต่อมา เห็นข่าว รบ. แนะนำให้ปลูกอะไรซักอย่าง

ซึ่งจริงๆคงนำไปสู่ผลลัพธ์แบบเดิมๆ

ถ้าเข้าใจเรื่อง demand & supply จะรู้ว่าการให้ทุกคนปลูกอะไรเหมือนกัน พร้อมๆกัน และก็คงถึงเวลาเก็บเกี่ยวพร้อมๆกัน มันจะนำไปสู่ over supply และราคาตกต่ำแบบเลี่ยงไม่ได้ ถึงตอนนั้น เกษตรกร ก็ต้องเอาผลผลิตที่ราคาต่ำมาโยนทิ้งอีก ถามว่าแก้ยังไง
จริงๆภาครัฐแก้คนเดียวไม่ได้ เพราะต้องให้เกษตรกรมีความรู้เรื่องบริหารความเสี่ยงราคาผลผลิตเองด้วย ถึงจะช่วยนำกันไปในทางที่เหมาะสมได้

เพราะราคาสินค้าเกษตร มันจัดเป็นสินค้าโภคภัณฑ์ ราคามีวัฎจักร แต่คาดเดาจริงๆไม่ได้ เพราะถ้ามีคนพยายามเดาและจับจังหวะทำประโยชน์จากมันเยอะมากพอ จะเป็นปัจจัยกระทบให้มันเปลี่ยนไปจากที่คาดการณ์ไว้ได้อีก (และส่วนใหญ่เป็นแบบนั้น เช่น การที่คิดว่าราคาสิ่งนี้จะดีในอีก 3 ปีข้างหน้า ถ้าทุกคนคิดเหมือนกันหมดและทำตามๆกัน กระแสนี้จะเป็นปัจจัยหลักทำให้ราคาสิ่งนี้ไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้อีกต่อไปเพราะมันจะกลายไปเป็น over supply และราคาตกต่ำแทน)

สำหรับคนเรียนสายวิทย์มา ลองนึกถึงหลักการอันนึงของฟิสิกส์ควอนตั้ม น่ะครับ
คือหลักที่ว่า ในสิ่งที่ขนาดเล็กมากๆระดับอะตอมหรือ อิเล็คตรอน นั้น ถ้าเราพยายามหาความเร็วที่แม่นยำ เราก็จะไม่ได้ตำแหน่งที่แม่นยำ, แต่ถ้าเราพยายามจะหาตำแหน่งที่แม่นยำ ก็จะไม่ได้ความเร็วที่แม่นยำ
เพราะการพยายามหาความเร็ว จะไปรบกวนตำแหน่งของอนุภาค และการพยายามหาตำแหน่งของอนุภาค จะไปรบกวนความเร็วของมัน !! (เอ่อ ... ถ้าไม่เข้าใจก็ข้ามย่อหน้านี้ไปก็ได้ครับ แค่นึกถึงเลยเขียนมาเฉยๆ ^^! )

เรื่องราคาสินค้าเกษตรก็เหมือนกัน การพยายามจะทำนายจุดสูงสุดและใช้ประโยชน์ของผลทำนายนั้น กลับไปรบกวนการจะเกิดขึ้นของเหตุการณ์นั้นได้ซะเอง
ดังนั้นโลกของการ "เก็งกำไร" จึงไม่เคยมีสมการอะไรที่ทำนายผลลัพธ์ได้แม่นยำจริง (ไม่งั้นทุกคนคงรวยพร้อมกันหมดแล้ว ซึ่งเป็นไปไม่ได้)

ดังนั้นถ้าให้รัฐฯ หรือคนกลางใดๆก็ตามเป็นเจ้าภาพ ว่าควรปลูกหรือไม่ควรปลูกอะไร เมื่อทุกคนทำพร้อมๆกันตามนั้น ผลลัพธ์มันจะ fail อยู่ดี

ถ้าจะให้มีเจ้าภาพบริหารจริงๆ อาจจะต้องกำหนดโควต้าเป็นภาคๆพื้นที่ไปเลย ว่าภาคไหนควรปลูกอะไรเท่าไหร่ และแต่ละภาคไม่ซ้ำกัน และช่วยแนะนำหรือให้เกษตรกร ใช้กลไกของตลาดซื้อขายล่วงหน้าเป็น เพื่อลดความเสี่ยงของความผันผวนด้านราคาของสินค้าพวกนี้
และใช้คู่กับการกระจายความเสี่ยงโดยการปลูกพืชหลายชนิด ที่แต่ละชนิดมีความเกี่ยวพันกันของราคาค่อนข้างต่ำ
อารมณ์เดียวกับ การกระจายความเสี่ยง ในพอร์ตการลงทุนของเรา ที่ว่าควรมีสินทรัพย์เพื่อการลงทุนที่แตกต่างกัน ซัก 4-5 อย่าง ซึ่งมีความสัมพันธ์กันค่อนข้างต่ำ เป็นต้น
แต่ระบบนี้จะไม่เวิร์ค ถ้าเกษตรกรฯ ไม่เข้าใจว่ารัฐฯ กำลังพาทำอะไร เมื่อไม่เข้าใจ ก็คงมีคนทำตามบ้างไม่ทำตามบ้าง ถ้าเป็นแบบนั้นมันก็ไม่ประสบผลสำเร็จอะไรได้

ผมเลยคิดว่า ยังไง เกษตรกร เอง ก็ต้องเข้าใจเรื่องพวกนี้ด้วยตัวเองด้วย จะพึ่งคนอื่นอย่างเดียวไม่ได้หรอกครับ

ผมเชื่อว่าคงมีคนบ่นว่า เกษตรกรไม่เข้าใจเรื่องพวกนี้ มันยากไป รัฐเลยต้องทำให้
ถ้าเราเชื่อแบบนั้น มันก็จะเป็นแบบนั้น
ถ้าเราเชื่อว่าเรื่องพวกนี้ไม่ยากเกินไปที่เกษตรกรจะเรียนรู้ มีการพยายามให้ความรู้และนำทางอย่างเป็นระบบ ไม่ช้าก็เร็ว มันก็จะสำเร็จได้เอง

ส่วน สำหรับคนตัวเล็กๆอย่างเรา
สิ่งที่ทำได้ ก็คือ ทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด และพัฒนาตัวเองให้ดีที่สุดครับ :) ก็จะเป็นส่วนเล็กๆในการพัฒนาสังคมโดยรวมได้เช่นกัน