วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2563

[covid-19 เราต้องรอด] วิเคราะห์ เกี่ยวกับดราม่าประกันสังคม ที่คนหาว่า สปส. กับรัฐบาล ฮุบเงินหายไป (ซึ่งผมว่าไม่จริง)

เผอิญยังมีเพื่อนผมข้องใจเรื่องประกันสังคมอยู่ ผมเลยตอบไปแล้วเลยเอามาแปะที่นี่ด้วยละกัน เพื่อใครยังคาใจประเด็นเดียวกันจะได้เข้าใจมากขึ้น

คือจากข่าว มีคนตีความกันไปว่า สปส. มีเงินพอจ่ายผู้ประกันตนแค่ 7-8 แสนคน ซึ่งเป็นแค่ 7% ของผู้ประกันตนทั้งหมด และยังเป็นเงินแค่ราวๆ 23.6% ของกองส่วนที่กันเอาไว้สำหรับจ่ายชดเชยผู้ประกันตนกรณีโดนเลิกจ้างหรือว่างงานทั้งหมด และโวยวายว่าเงินที่เหลือหายไปไหน โกนกินกันไหมหมดแล้วใช่ไหม - -a

เท่าที่ผมอ่านข่าวที่ว่าจากที่นี่ : https://www.sanook.com/news/8082622/
เขาก็ตอบค่อนข้างเคลียร์นะ ไม่ควรอ่านแค่พาดหัว ไปอ่านเนื้อหาข้างในก่อน อ่านเฉพาะช่วงท้ายๆก็ได้สำหรับประเด็นคาใจข้อที่ว่าไป

ทีนี้ขออธิบายเพิ่มเติม เพื่อให้เข้าใจมากขึ้น

เริ่มด้วยแนวคิดของประกันสังคมก่อน
มันคือเครื่องมือที่ใช้จัดการกับสังคมที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีวินัยทางการเงิน หรือบริหารการเงินส่วนบุคคลเองไม่ค่อยเป็น
คนประเภทว่าหาเงินได้เท่าไหร่ก็ใช้หมด ไม่เหลือออม หาได้มากก็ใช้มาก ไม่เคยดำเนินการแผนเกษียณล่วงหน้า หรือค่าใช้จ่ายยามฉุกเฉิน สำหรับตัวเองอย่างจริงจัง
ซึ่งคนประเภทนี้ดันเป็นคนส่วนใหญ่ของสังคม

ดังนั้นเลยมีการตั้งประกันสังคมขึ้นมา เป็นเครื่องมือที่บังคับให้ทุกคนมีการบริหารเงินตรงนั้นโดยอัติโนมัติ
ซึ่งก็ครอบคลุม 3 ด้านใหญ่ๆ

1). เงินรักษาพยาบาล (ก็เหมือนประกันสุขภาพนั่นแหละ)
2). เงินช่วยเหลือชดเชยกรณีว่างงาน จากการถูกเลิกจ้าง
3). เงินเพื่อการเกษียณ

เงินสมทบประกันสังคมที่เราโดนหักไปจากเงินเดือนทุกเดือน ประมาณเดือนละ 750 บาท เรียกว่า เงินสมทบกองทุนประกันสังคม
แต่ในทางเทคนิคในแวดวงประกัน เราถือว่าเงินตรงนี้เหมือนการจ่ายเบี้ยประกัน
ทีนี้ บางสื่อ บางเพจ หรือบางคน เอาไปบิดเบือนสร้างวาทกรรม เรียกมันว่า "เงินสะสม" ซะงั้น ซึ่งผิดความหมายมากๆ
พอนึกว่าเป็นเงินสะสม เลยไปคิดโยงกับการฝากธนาคาร ที่เรามีสิทธิถอนเมื่อไหร่ก็ได้เท่าที่มีในบัญชี ซึ่งมันไม่ใช่เลย

เบี้ยประกันตรงนี้ ถูกแบ่งไปเข้า 3 กองที่ว่าไปข้างต้น
ทีนี้ เงินที่คนเรียกร้องให้จ่ายให้ผู้เดือดร้อน ในกรณี covid-19 จัดอยู่ในข้อ 2). คือ เงินช่วยเหลือชดเชยกรณีว่างงาน จากการถูกเลิกจ้าง

จากข่าว ที่ผมแชร์มาจากโพสต์นี้ https://web.facebook.com/sompolinvestment/posts/2815738901869527
ภาพข่าวจาก ช่อง 9 MCOT ระบุว่าเงินส่วนนี้มีอยู่ทั้งหมดราว 164,103 ล้านบาท (เขาเรียกว่ากองทุนว่างงาน)

ทีนี้ สมมุติต้องจ่ายเงินให้คน 7 แสนคน คนละ 9000 บาทต่อเดือน ต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน
จะคิดเป็นเงินราว 37,800 ล้านบาท (คิดเป็น 23.6% ของเงินกองนี้ทั้งหมด 164,103 ล้านบาท)
ผู้ประกันตนทั้งหมดในระบบนี้ (มาตรา 33 มนุษย์เงินเดือน) มีอยู่ราว 11.6 ล้านคน
ซึ่ง 700,000 / 11,600,000 = 6% ของผู้ประกันตนทั้งหมด
คนก็โวยวายกันว่า ทำไมช่วยคนได้แค่ 6% เงินที่เหลือหายไปไหน โกงใช่ไหม บลาๆ

เพื่อตอบเรื่องนี้ เราต้องเข้าใจแนวคิดพื้นฐานของระบบประกันภัยก่อน
ระบบประกันภัย เป็นระบบ กระจายความเสี่ยง ในหมู่ผู้เอาประกันที่อยู่ในแผนประกันเดียวกัน
คนที่ไม่เคยเคลม ก็บ่นว่าขาดทุน
ใครได้เคลม ก็รู้สึกคุ้มค่ามาก
เพราะมันคือการเอาเบี้ยประกันรวมทั้งหมด มาจ่ายให้คนที่เกิดเหตุไม่คาดฝัน จนเข้าเกณเคลมเงินประกันได้
ซึ่งโดยปกติ คนที่เกิดเหตุจนต้องเคลม มันต้องเป็นคนส่วนน้อยๆ จากจำนวนผู้ประกันตนทั้งหมด
มันทำให้ความเสี่ยงโดยรวมของกลุ่มผู้เอาประกันทั้งหมด ลดลงไปอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยเดียวกัน ซึ่งเป็นประโยชน์ในการบริหารชีวิตและบริหารเงินมาก

ดังนั้นโดยสรุปคือ
- ไม่มีแผนประกันใดออกแบบไว้ให้ผู้เอาประกันทุกคนเคลมพร้อมกันได้ (ถ้าระดับความเสี่ยงสูงขนาดนั้น จะไม่มีการตั้งกองประกันขึ้นมาตั้งแต่แรก เพราะไม่มีประโยชน์ในการช่วยลดความเสี่ยงเลย)
- จำนวนคนที่เคลมพร้อมกันได้ ปกติไม่ได้สมมุติหรือกะประมาณขึ้นมาเอง แต่ใช้การวิเคราะห์สถิติย้อนหลัง 7 - 10 ปี (หลายทีอาจจะ 20 ปี) เพื่อดูว่าตัวเลขไหนสมเหตุผล โดยมีการเผื่อ safety factor ไว้บ้าง
ผมลองดูเลขคนว่างงานย้อนหลังจากที่นี่ https://www.bot.or.th/App/BIZSHR/stat/DataSeries/31  ย้อนไป 10 ปี มันไม่เกิน 1% เลย สำหรับคนที่อยู่ในระบบเงินเดือนมาก่อน
ดังนั้นการที่ สปส. จ่ายให้ได้ถึง 6% ของมาตรา 33 (มนุษย์เงินเดือน) จึงเป็นการเผื่อ safety factor ไว้ในระดับค่อนข้างสูงมากอยู่แล้ว
และ safety factor ก็ไม่ควรมากเกินไป (ก่อนโลกจะรู้จัก covid-19 กับ หลังจากมี covid-19 ตรงนี้มันต่างกันมาก)
เพราะการบริหารกองประกันที่ดี ตัวกองทุนเองต้องไม่ใช่โตขึ้นเรื่อยๆอย่างเร็วในตลอดเวลาที่ผ่านไป (เพราะนั่นแปลว่ามีการให้ผลตอบแทนผู้เอาประกันน้อยเกินไป ไม่ยุติธรรม)
- ประกันจะมีการเอาเงินบางส่วนไปลงทุนอยู่แล้ว เผื่อให้สามารถเพิ่มวงเงินคุ้มครองให้ผู้เอาประกันได้นิดหน่อย และมีกำไรเพิ่มอีกนิดหน่อยสำหรับตัวบริษัทประกันเอง สัดส่วนการลงทุนขึ้นกับความเหมาะสมของเงินกองนั้นๆ ว่าใช้สำหรับอะไร (เงินสำหรับเกษียณจะถูกจัดพอร์ตแบบความเสี่ยงต่ำสุดเสมอ, ส่วนแบบอื่นๆก็ว่ากันไป)
- กองทุนขนาดใหญ่ การแปลงสินทรัพย์แต่ละประเภทไปๆมาๆ ไม่ใช่แค่คลิกก็เสร็จ (สินทรัพย์ใดๆที่ไม่ใช่เงินสด เวลาจะแปลงเป็นเงินสดต้องเอาไปขาย และพอการขายมีปริมาณมหาศาลมาก คนจะซื้อได้ก็มีแต่พวกสถาบันการเงินด้วยกันเอง ซึ่งต้องใช้เวลากว่าจะมีคนมาซื้อไปจนครบได้เงินตามต้องการ)

นั่นคือคำอธิบายว่า ทำไมตอนนี้มีเงินจ่ายแค่ 23.6% จากทั้งหมดของ 164,103 ล้านบาท
เพราะว่าส่วนที่บอกว่าจ่ายได้นี้ ผมเดาว่าเป็นส่วนที่มีสภาพเป็น เงินสด ดังนั้นจึงจ่ายได้เลย
ส่วนที่เหลืออันอื่นน่าจะอยู่ในรูป พันธบัตร ตราสารหนี้ หุ้น ฯลฯ ที่ถ้าจะเอามาจ่ายต้องเอาไปขายก่อน ซึ่งต้องใช้เวลาอย่างที่ว่าไป
ซึ่งหากเลวร้ายที่สุด ต้องใช้เงินกองนี้ทั้งหมด 164,103 ล้านบาท ก็จะครอบคลุม ผู้ประกันตน 26.2% ของผู้ประกันตนทั้งหมด ซึ่งก็ถือว่าจ่ายได้เยอะมากแล้ว (แต่หลังจากนี้อาจจะต้องยุบกองไปเลย เว้นแต่รัฐฯ จะโปะเงินเข้ามาให้ใหม่)

หวังว่าจะเข้าใจมากขึ้นนะครับ
ถ้าประเทศเราไม่มีระบบประกันสังคม แล้วคุณต้องบริหารชีวิตตัวเอง ไปซื้อประกันแต่ละกองเอง คุณก็หลีกหนีหลักการพวกนี้ไม่พ้นเหมือนกัน แถมปวดหัวมากกว่าใช้บริการประกันสังคมที่มีคนทำให้เกือบทุกอย่างด้วย
ข่าวเดี๋ยวนี้ก็ช่างปั่น ไม่สนจริยธรรมในการนำเสนออะไร
ถ้าเรามีความรู้ไม่พอ เขาก็ปั่นได้ ขายข่าวได้
และพวกนี้ไม่เคยรับผิดชอบความเสียหายอะไรที่เกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นจำเลยในข่าวเลย
ยุคนี้เสพข่าวแบบฟังหูไว้หู ใช้วิจารนญานมากๆครับ
มีความรู้ทางการเงินติดตัวไว้มากๆ จะได้ไม่โดนใครหลอกเรื่องเงินๆทองๆได้ง่าย เวลาจะตรวจสอบรัฐบาลฯหรือวิจารณ์ จะได้มีหลักการรองรับด้วย

ปล. ตัวเลขอาจจะมีพลาดบ้าง ต้องขออภัยล่วงหน้า แต่ต้องการให้เข้าใจภาพรวมทั้งหมดของสิ่งที่เรียกว่าประกันสังคมกันครับ

วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2563

[Covid-19 เราต้องรอด] ทำไมธนาคารหรือสถาบันการเงินถึงไม่หยุดดอกเบี้ย!! หรือให้จ่ายแบบลดเงินต้นได้!!

ความเห็นผมต่อการที่สถาบันการเงินยังคิดดอกเบี้ย และเหมือนจะไม่ได้ช่วยอะไรในเรื่องวิกฤติ covid-19 ที่กำลังเผชิญกันอยู่

ผมเข้าใจว่า สถาบันการเงินเองก็มีรายจ่ายประจำอยู่ เช่น ค่าจ้าง พนง. (ค่าดูแลระบบIT, ค่าไฟ, ค่าเช่าสถานที่บางแห่ง) และดอกเบี้ยก็คือแหล่งเงินพวกนี้
ถ้าจะให้พักหนี้หยุดดอกเบี้ยจริงๆ ต้องตอบคำถามให้เขาได้ด้วยว่า ทำยังไงกับรายจ่ายหลักอย่างเช่น เงินเดือน พนง.
1). เลิกจ้าง (มีต้นทุนค่าชดเชยเลิกจ้าง ซึ่งก็มากโขถ้าปลดออกเยอะๆ ก็คงเจ๊งอยู่ดีเหมือนมีเงินไม่พอจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้างงานตามกฏหมาย)
2). เก็บเอาไว้ (ต้องหาเงินจากที่อื่นมาจ่ายตรงนี้แทน แล้วจะเอาจากไหนละ?)


ระบบเศรษฐกิจเรามีความสัมพันธ์กันแบบงูกินหาง จึงยากมากที่ node อันใดอันนึงจะหยุดไว้เฉยๆโดยไม่กระทบกับ node อื่นๆ
ถ้าจะหยุด ต้องหยุดพร้อมกันหมดทั้งระบบ รวมถึงจุดที่รับทรัพยากรใหม่เข้ามาในระบบ (คือทรัพยากรณ์ที่เราได้จากธรรมชาติโดยตรง เช่น เหมืองแร่, แหล่งน้ำดิบ, แหล่งน้ำมันดิบ ฯลฯ)
อีกประเด็นคือ จริงๆแล้วธุรกิจประเภทธนาคารนี่ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนสูงมากๆ (ทรัพย์สินส่วนใหญ่คือหนี้)
การที่เรามองเหมือนว่าพวกนี้เสกเงินอออกมาได้เอง หรือเป็นเสือนอนกิน ก็อาจจะไม่ได้ตรงความเป็นจริงนัก

ก็ดูกันต่อไปว่าเขาจะหาทางออกกันยังไง
แต่จากเรื่อง covid-19 นี่ เศรษฐกิจกระทบหนักแน่นอน
คนที่เตรียมความพร้อมทางการเงิน (ออมเงินไว้ยามฉุกเฉิน ให้อยู่ต่อได้อย่างน้อย 6 เดือน) ก็อาจจะเดือดร้อนน้อยหน่อย ใครที่ไม่ได้เตรียมอะไรไว้เลย ก็น่าจะเป็นงานที่ลำบากมาก ณ เวลานี้
ก็ขอให้ผ่านกันไปได้ทุกคนครับ

วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562

สรุปปี 2019 และเป้าหมายปี 2020

สวัสดีปีใหม่ 2020 (2563) สำหรับทุกคนที่ติดตาม blog นี้อยู่นะครับ :)
ขอให้ยังมีความสุขกายสบายใจกันอยู่ สุขภาพแข็งแรงดี และ มีความก้าวหน้าในทุกด้านของชีวิตที่หวังไว้

กลายเป็น blog อัพปีละครั้งไปแล้ว ^^!

แต่ก็ตามลำดับความสำคัญครับ ต้องว่างจริงๆหรือโอกาสพิเศษแหละถึงได้มาเขียนอะไรเล่นบ้าง

สรุปปี 2019 เฉพาะที่เกี่ยวกับการลงทุน เท่าที่นึกออกหลักๆของผมนะ
- หุ้นนี่อาการหนักครับ ขนาดผมเป็นแนว VI และ conservative ยังต้องยอมรับว่า ไม่มีหุ้นอะไรที่น่าเอาเข้าพอร์ตมาถือไว้เลย ที่มีอยู่และคิดว่าวิเคราะห์มาดีแล้วผลก็ออกมาต่างจากที่ประเมินไว้ทำให้ต้องขายทิ้งยอมขาดทุนไปนิดหน่อย ช่วงนี้เลยถือเงินสดเอาไว้รอช้อนดีกว่า
- มีเทคโนโลยีและสินทรัพย์การลงทุนใหม่ๆ ที่ต้องสนใจและปรับตัวเข้าไปใช้มัน ถ้าไม่ทำเราก็คงโดน disrupt เช่น หลังๆมี platform วิเคราะห์และให้ข้อมูลที่ VI สนใจ เริ่มเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเยอะ (ปีก่อนๆผมคงพูดถึง JITTA แต่ปี 2019 ผมให้ AVA advisor ครับ) ดังนั้นการเป็น VI จึงเริ่มไม่ง่าย เพราะคนส่วนใหญ่เริ่มเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายพอกัน และถ้าไม่อยากเสียเปรียบหรือช้ากว่าคนอื่น ยังไงเราก็ต้องใช้ tools พวกนี้ด้วยเหมือนกัน
- ตลาด crypto currency รายใหญ่ของไทยอย่าง Bx.in.th ปิดกิจการ - ทำให้คนที่เคยอยู่เดิมที่นี่ต้องย้ายออกไปหาที่สิงใหม่ครับ โชคดีกว่าเมืองไทยเราทั้งตลาดและโบรค crypto ล้วนเป็นสิ่งถูกกฏหมายและมีกฏหมายควบคุมกันชัดเจนไปแล้ว ดังนั้นปัญหาการเชิดเงินเราหนีไปดื้อๆจึงไม่มี (เว้นแต่คุณจะใช้โบรคเถื่อน) โดยส่วนตัวผมย้ายไปสิง Bitkub ซึ่งน่าจะเป็นอันดับ 2 ในประเทศไทยตอนนั้น (แต่ตอนนี้คงเป็นอันดับ 1 ไปแล้วแหละ)
- ผมคิดว่าการลงทุนในหุ้นอย่างเดียวนั้นคงไม่พอซะแล้ว เพราะหุ้นและธุรกิจทั่วโลกหดกันหมด (เป็นความจริงที่ปฏิเสธได้ยากว่าเศรษฐกิจโลกกำลังมีปัญหาและฝืดลง) และมองว่าตลาด crypto น่าจะเป็นสิ่งที่ผมไปเพิ่มความสนใจมากขึ้นต่อไปแทน เพราะมันค่อนข้างเปิดกว้างกว่ามาก แถมยังเชื่อมโยงไปยังโอกาสนอกประเทศได้ง่ายกว่า (ในขณะที่โบรคเกอร์หุ้น คุณต้องมีเงินในพอร์ตค่อนข้างเยอะมากๆ เขาถึงจะเปิดให้คุณซื้อขายหุ้นนอกประเทศได้) แถมตลาด crypto ส่วนใหญ่ล้วนเปิด Open API ให้เราใช้งานได้ตามสะดวก (คนที่เป็น Programmer ก็ถือว่าได้แต้มต่อในส่วนนี้นะ ซึ่งนั่นก็คือ ผมเอง :P ) ในขณะที่ตลาดหุ้นไทยนั้น จะใช้ API ต้องจ่ายตังให้เขา (ซึ่งปกติโบรคหุ้นรับหน้าที่นี้ไป)
- พอร์ตการลงทุนแบบ Passive ผมก็รันไปตามระบบเรื่อยๆครับ แบบ K.I.S.S ตามที่เคยว่าไป แต่จากการปรับพอร์ตครั้งล่าสุดนี่ขาดทุนไปนิดนึงไม่กี่ % แต่ก็ถือว่าดีมากๆแล้วสำหรับสภาพตลาดของปี 2019

ปี 2020 นี่คิดว่าจะทำอะไรบ้าง
- ไปดูตลาด crypto มากขึ้นครับ อาจจะลองเขียนโปรแกรมอะไรเล่นไปต่อ API ที่เขามีให้ เราจะได้บริหารมันง่ายขึ้น (จริงๆคิดมานานแล้วแต่เอาชนะความขี้เกียจไม่ได้ซักที - -a เพราะมันก็ใช่ว่าจะทำง่ายอ่ะนะ มันต้องใช้เวลาเยอะเหมือนกัน)
- อาจจะเติมเงินเข้าพอร์ตฝั่ง Passive ซักหน่อย เพราะดูพึ่งพาได้มากกว่าอันอื่น ณ ตอนนี้
- ทำสุขภาพให้ดี ปีนี้หวังว่า office syndrome ที่รักษามาเป็นปีกว่าแล้ว (ซึ่งก็ดีขึ้นอย่างช้าๆ) จะมี progress สำคัญในปีนี้ - สุขภาพดีก็เป็นการลงทุนที่คุ้มค่าอย่างนึงนะเพราะมันจะช่วยเพิ่มพลังในการทำงานอื่นต่อไป :)
- Career อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ขอดูก่อนว่า บริษัท จะประเมินเงินเดือนใหม่ให้เรายังไง

วันพฤหัสบดีที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2562

กิจกรรมทางการเงินการลงทุนของผมช่วงๆนี้

หลังปีใหม่มาแป้บๆ ช่วงนี้ก็ ไม่มีอะไรมาก หลักๆหลายคนคงอยู่ในช่วงเตรียมหรืออาจะยื่นภาษีประจำปี 2561 กันไปแล้ว
โดยปกติ เพื่อให้ภาษีเป็นเรื่องง่ายหน่อย เวลามีเอกสาร 50ทวิ ของอะไรก็ตามส่งมาถึงบ้าน หรืออะไรที่ต้องเอาไว้ยื่นภาษี ผมจะเก็บใส่ถุงแยกไว้ต่างหากแล้วแปะฉลากไว้ว่าสำหรับยื่นภาษีปีไหน
พอถึงเวลาต้องยื่น ก็หยิบถุงนั้นออกมาใช้ได้เลย ไม่ต้องไปคุ้ยหา เชื่อว่าทุกคนก็คงทำแบบนี้อยู่แล้ว :)

ส่วนเรื่องหุ้น ใครมีหุ้นหลายตัวแล้วขี้เกียจกรอกเอง ก็แค่ไปสมัครเว็บ TSD ให้เรียบร้อย เมื่อมี TSD account แล้ว เราสามารถ login เข้าไปเช๊คข้อมูลเกี่ยวกับหุ้นที่เป็นชื่อของเราได้ รวมถึงสามารถโหลดไฟล์สรุปสำหรับยื่นภาษีของปีนั้นๆ เอาไป upload ตอนยื่นภาษีทางเว็บสรรพากรได้เลย ค่อนข้างเป็นระบบที่สมบูรณ์ ไม่ต้องทำไรมากกว่านั้น

เรื่องอื่นๆก็ ช่วงนี้เป็นช่วง portfolio re-balancing กองทุนแนว passive ตามปกติของผม (ปรับทุก 6 เดือน) หลังจากมูลค่าลดลง 2% เทียบกับรอบกลางปีที่แล้ว (เนื่องจากลาดหุ้นร่วงเยอะ) แต่โดยภาพรวมๆระบบ K.I.S.S investment ที่กำลังลองอยู่นี่ ก็ถือว่าดีมากในการบริหารพอร์ตแบบไม่ต้องคิดอะไรให้เปลืองแรงมากนัก แค่ทำตามระบบไปเรื่อยๆ ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ

ส่วนพอร์ตหุ้น ยังไม่เจอหุ้นหน้าใหม่ๆที่น่าสนใจ
หุ้นเดิมที่ถืออยู่มีบางตัวพื้นฐานเปลี่ยนไปแล้วก็เลยขายทิ้งไปละ ตัวที่พื้นฐานไม่มีอะไรน่าห่วงก็ถือไว้ ตามหลักการปกติ

หุ้นบริษัทนอกตลาดที่ลองเล่นไว้ตัวนึง ก็แค่ประคองตัวไปได้แต่มีอะไรยังไม่อยู่ในร่องในรอยเยอะ (ตอนเข้ามานี่กะเอาไว้เพื่อเรียนรู้ว่าหุ้นแนวนี้มีอะไรเหมือนหรือต่างจากในตลาดบ้าง) ก็ถือว่าเป็นบทเรียนสำคัญทีเดียว ไว้ว่างๆค่อยมาเล่าว่าใครจะลงทุนนอกตลาดต้องระวังเรื่องอะไรบ้าง

ทางด้าน crypto ที่ผ่านมาก็ถือว่าได้ความรู้ที่ต้องการละ พอจะเห็นช่องทางอะไรเพิ่มขึ้นมาบ้าง แต่คงไม่ไปเล่นอะไรกับมันมากนัก

ด้านอาชีพกับสุขภาพ ก็ถือว่าไปในทางที่ดีขึ้น - keep forward :)

ดูแล้วก็น่าจะเป็นปีที่ดีนะ (แต่ no comment เรื่องการเมือง 555 ) ก็ขอให้ทุกคนยังไปได้สวยเหมือนกันนะ

วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2561

Gold & the Changing Fundamentals : ฤาทองจะกลายเป็นแค่ประวัติศาสตร์

จากบทความนี้

Gold & the Changing Fundamentals

https://www.armstrongeconomics.com/markets-by-sector/precious-metals/gold/gold-the-changing-fundamentals/

ก็เป็นประเด็นที่น่าคิดเหมือนกัน
จริงๆสมัยผมเพิ่งเรียนจบใหม่ๆ ทำงานอยู่บริษัทแห่งนึงข้างสวนลุม
ตอนนั้นเพิ่งเริ่มสนใจเรื่องการลงทุน
เคยถามพี่ที่ไปกินข้าวด้วยกันว่า ทำไมทองถึงมีค่า เพราะโดยส่วนตัวผมหาเหตุผลอธิบายไม่ได้ ว่าทำไมทองต้องแพง เพราะมันมีประโยชน์แค่เป็นเครื่องประดับ

แต่ก้ได้เหตุผลมากมาย ที่ก็ฟังดูมีเหตุผลเหมือนกัน เช่น
- มันมีค่ามาแต่โบราณ ประวัติศาสตร์ทุกชนชาติยกให้ทองเป็นสิ่งมีค่า คนจึง "เชื่อว่า" มันมีค่า
- มันมีจำนวนน้อยและจำกัด ต้นทุนในการขุดหานั้นสูง
- ในภาคอุตสาหกรรม จำเป็นต้องใช้มันในงานบางอย่าง เช่น การผลิต CPU หรือ chipset
- ทนต่อกาลเวลาได้ดีกว่าโลหะชนิดอื่น จึงเหมาะกับการเป็นสิ่งเก็บมูลค่า (ทองที่เก็บไว้เฉยๆ จะไม่สึกกร่อนตามธรรมชาติแม้จะผ่านไปเป็นพันปี ต่างจากโลหะอื่นที่กร่อนกันไปหมดง่ายๆ มีสารเคมีเพียงไม่กี่ชนิดที่ทำลายทองได้ เช่น น้ำประสานทอง)


โดยส่วนตัว ยังมองว่า ทองก็คือทองต่อไป มูลค่ามันก็คงอยู่ไปอย่างงั้นเรื่อยๆ แต่อย่างที่บัฟเฟตว่าไว้ ว่ามันงอกเงยทำประโยชน์อะไรไม่ได้ หุ้นของธุรกิจดีๆ จึงดีกว่ามาก
ผมคิดว่า ทองจะยังมีมูลค่าต่อไป ถ้าสถาบันการเงินยังเชื่อว่ามันมีค่า นั่นเป็น factor ใหญ่สุด และ มันยังมีค่าหากภาคอุตสาหกรรมยังจำเป็นต้องใช้มัน
เพียงแต่มันอาจจะไม่บูมหรือโตไปได้มากกว่านี้ เหมือนกับสมัยก่อนอีกต่อไปแล้ว

ปล. แต่ถ้าเกิดสงครามขนาดที่มนุษย์ต้อง reset อารธรรม กลับไปยุคก่อนมี Internet นี่ ทองกลับมาบูมแน่นอน เพราะพวก Bitcoin ที่เป็นเหมือนทองยุคใหม่ มันไม่สามารถคงอยู่หรือใช้งานได้โดยสินเชิงถ้าขาด Internet
คำถามคือ มีความเสี่ยงแค่ไหนที่จะเกิดเหตุการณ์แบบนั้น ?
ผมว่าก็เยอะอยู่นะ 555

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การ scam cryptocurrency ที่แฝงมาบน twitter คนดัง

ช่วงนี้ทุกคนคงกำลังติดตามข่าวช่วยเหลือทีมหมูป่า 13 คนที่ติดถ้ำหลวง กันอยู่ และ Elon Musk ก็ได้เข้ามาร่วมวงช่วยเหลือด้วยผ่านบริษัท SpaceX และ Boring company ของเขา

ผมเลยไปตามอ่าน twitter ของ Elon Musk เพื่อติดตามข่าวเรื่องนี้ด้วย

อ่านไปอ่านมา เจอโพสต์ scam ที่คิดว่าควรเอามาเล่าให้ฟัง จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อ

รูปแรกคือตัวอย่างของโพสต์ที่เป็นมิจฉาชีพ ที่ปลอม account มาให้เหมือน Elon Musk (จุดสังเกตคือ ชื่อ Account จริงๆ ไม่ใช่ @elonmusk  (ดูตามลูกศรสีแดง)


 ถ้าเป็นโพสต์ของ Elon Musk จริงๆ ต้องเป็นแบบนี้ (ดูตามลูกศรสีแดง)

รูปแบบการ scam นี้คืออะไร
Elon ตัวปลอมจะพยายามแสดงว่า เขาแจกเงินให้แฟนๆที่ติดตามเขาเป็นการขอบคุณ โดยให้คลิกไปใน link เว็บซักแห่ง
สมมุติถ้ามีคนหลงเชื่อ แล้วกดเข้าไปใน link ของ Elon ตัวปลอม คุณมักจะเจอเว็บที่บอกว่า เขาแจกเงิน cypto (ในที่นี้คือ Ethereum) สำหรับคนที่โอนเข้าไปตาม address ที่ให้ไว้เท่าไหร่ (แต่ต้องถึงจำนวนขั้นต่ำ ซึ่งตีเป็นเงินจริงก็เยอะอยู่) จะได้รับกลับไป 10 เท่า มีจำนวนจำกัด (เร่งให้เรารีบร้อนและไม่ตรวจสอบให้ละเอียด)
หน้าเว็บมักจะแสดง จำนวนเงินแจกคงเหลือที่ลดลงอย่างรวดเร็ว และ transaction ด้านล่างให้ดูสมจริงว่ามีคนโอนเข้าไปเท่าไหร่ก็ได้กลับออกไปเท่านั้น แถมเว็บยังมี SSL cert ดูน่าเชื่อถืออีกด้วย

แต่ว่า ทั้งหมดนั้นเป็นของปลอมทั้งหมด

ทั้งจำนวนเงินแจกคงเหลือที่ลดลงอย่างรวดเร็ว (แม้จะลดลงจนหมดแล้ว คุณสามารถทำให้มันกลับมาเต็มใหม่ได้ ถ้าคุณเปิดเว็บนั้นผ่านหน้าต่างโหมด anonymous หรือ incognito จาก browser ของคุณ - เหตุผลคือ ตัวเลขพวกนั้นเป็นของปลอม ที่จะแสดงจำนวนเริ่มต้นสำหรับคนที่เปิดเว็บนั้นเป็นครั้งแรก แล้วจะค่อยๆนับจำนวนถอยหลังลง, วิธีที่มันใช้เช๊คว่าใครมาดูเป็นครั้งแรก ปกติใช้การฝัง cookie ในเครื่องปลายทาง, ซึ่งถ้าเราเปิดเว็บมันในโหมด anonymous ซึ่งจะไม่มีการเก็บ cookie หรือ history ค้างเอาไว้ให้มันตรวจสอบได้เลย มันก็จะไม่รู้ว่าเราเคยเปิดเว็บมันมาก่อนแล้ว)

และรายการ transaction ที่เกิดขึ้นบนหน้าเว็บของมัน ก็เป็นของปลอม
วิธีตรวจสอบคือ ถ้าเราเช๊ค transaction ของ address ที่มันให้เราโอนเงินให้มัน จากเว็บที่ตรวจสอบ blockchain ของสกุลเงินนั้นๆ (เช่นกรณี Ethereum คือเว็บ https://etherscan.io/  ) เราจะเห็นเลยว่า transaction ที่เกิดขึ้นจริงๆกับ address นี้ ไม่ตรงกับที่มันแสดงอยู่บนหน้าเว็บ scam ของมันเลย

SSL cert ของเว็บ ... อันนี้คือของจริง (เว็บ scam หลายเว็บเดี๋ยวนี้เน้นใช้ cert จริงกันด้วย) ซึ่งทำให้หลายคนพลาดได้ง่าย
แม้ว่า SSL cert จะออกโดยบริษัทที่ตรวจสอบและออก cert ได้จริง แต่ว่า cert ก็มีหลายประเภท
และ cert ที่เว็บ scam มักใช้กัน มักเป็น cert ที่ "ไม่เปิดเผยว่าใครเป็นเจ้าของ".
ถ้าเป็นเว็บของธนาคารจริงๆ เวลาดูรายละเอียดของ cert จะมีการแจ้งชัดเจนว่า บริษัทที่มาจดทะเบียนขอออก cert นี้ คือใคร ซึ่งสถาบันการเงินใดๆปกกติจะต้องมีตรงนี้เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเป็นเว็บของธนาคารจริงๆ ไม่ใช่เว็บ scam ที่พยายามทำหน้าตาเหมือนเว็บธนาคาร

ตัวอย่างวิธีเช๊ค SSL cert (เว็บตัวอย่างคือเว็บ scam )

 สังเกตว่าจะไม่ระบุว่าใครเป็นเจ้าของ


แต่ถ้าเป็นเว็บธนาคารจริงๆ คุณจะได้ข้อมูล SSL cert ที่มีการระบุตัวตนของเจ้าของ cert ไว้ชัดเจน แบบนี้

ไหนลองมาดูเว็บเทรด crypto ที่น่าเชื่อถือที่สุดของไทยเรา bx.in.th  ...
กรรม กันไม่ระบุเจ้าของซะอย่างงั้น (ควรปรับปรุงหน่อยนะครับท่าน);
;
;

สำหรับคนทั่วไปที่ไม่สันทัดเรื่องเชิง technical มากนัก ผมสรุปให้สั้นๆ จำง่ายๆ
ถ้าใครมาเสนอผลตอบแทนที่ดีมากๆให้เรา โดยมีข้อแม้ว่าต้องโอนเงินไปให้เขาในจำนวนนึงก่อน ถึงจะให้กลับมาในจำนวนที่มากกว่าเดิมมากๆ และพยายามเร่งเร้าให้เราด่วนตัดสินใจในเวลาจำกัด
ทั้งหมดนั้นฟันธงได้เลย ว่าเป็นการ ต้มตุ๋น หรือ scam ไม่ว่าจะเป็นในโลกความเป็นจริง หรือใน Internet


วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การเล่นหุ้น เป็นการพนันหรือไม่? และเป็น กุศล หรือ อกุศล

วันนี้เผอิญเห็นบทความของ ตังตฤณ ผ่านตามา เขียนถึงเรื่อง "เล่นหุ้นอย่างไร ไม่ให้ใจเป็นนักพนัน" ( https://web.facebook.com/dungtrin/photos/a.172991172758049.44204.169990773058089/1766483696742114/?type=3 ) แล้วนึกขึ้นได้ว่า กาลครั้งนึงในจักรวาลอันไกลโพ้น ผมก็เคยเขียนบทความลักษณะนี้ไว้มาก่อนบน note ส่วนตัว และตั้งให้เห็นได้เฉพาะ friends (ซึ่งเดิมทีเป็นข้อความที่ผมเขียนโพสต์ตอบใน group ธรรมะ อันนึงที่ผมเป็น admin สมัยที่ยังมีไฟกับเรื่องธรรมะอยู่)

ไหนๆก็ไหนๆ หยิบมารีรันอัพ blog เลยละกัน :D
;
;
;
======== บทความนี้ผมเขียนไว้เมื่อ May 3, 2013 ============

การเล่นหุ้น เป็นการพนันหรือไม่? และเป็น กุศล หรือ อกุศล


ยกมาจาก กระทู้ https://www.facebook.com/groups/185596294785898/permalink/600049053340618/
(ถ้าไม่ใช่สมาชิก group อาจจะอ่านไม่ได้ครับ)
======
สำหรับความเห็นของผมเองนั้น
ขึ้นอยู่กับคนเล่นว่าเล่นยังไง โดยปกติพวก VI จะไกลจากอาการของการพนันมากกว่า technical
เพราะใช้การวิเคราะห์ตัวธุรกิจ และคำนวณราคาหุ้นที่เหมาะสมเพื่อตัดสินใจว่าควรซื้อหรือไม่ซื้อ ควรซื้อที่ราคาไหน และบริษัทนี้จะประสบความสำเร็จอย่างคุ้มค่าที่ลงทุนไปรึเปล่า


แต่ แบบ technical เอง ก็มีทั้งที่ใกล้เคียงการพนัน และมีแบบไม่ใช่ด้วย
การพนันคือ เล่นกับความเสี่ยงและดวงล้วนๆ โดยไม่รู้เหนือใต้อะไรเลย


แต่นัก technical ที่เข้าใจหลักการเป็นอย่างดี จะรู้ว่าตัวเองกำลังเล่นอยู่กับเครื่องมือจับทิศทางอารมณ์ของนักซื้อขายคนอื่นๆในตลาดโดยใช้หลักการทางสถิติ รวมถึงอาศัยผลสะท้อนกลับทางพฤติกรรมของผู้ใช้ technical คนอื่นๆ (เรียกว่า ผลกระทบต่อราคาหุ้น จากปัจจัยทางเทคนิค) และพวกนี้จะมี โอกาสทำกำไรได้บ่อยมากครั้งเกินว่าจะเรียกว่าบังเอิญ พวกนี้อาจจะไม่ถือว่าเป็นการพนั แต่เทียบได้กับการซื้อของสินค้าเก็งกำไรในตลาดทั่วไปโดยอาศัยข้อมูลที่ได้เปรียบกว่าคนอื่นๆในตลาดนั้น

แต่ สำหรับคนที่เล่นแบบไม่รู้หลักการอะไรเลย แล้วซื้อขายโดยใช้การ คาดเดา ล้วนๆ แล้วนั่งลุ้นว่า กำลังจะได้หรือจะเสีย พวกนี้ก็จะใกล้เคียงการพนันที่สุด

สรุป
1). ถ้าทำด้วยความรู้ความเข้าใจ ก็ไม่ใช่การพนัน ถ้าทำโดยไม่รู้อะไรกะเสี่ยงดวงเอา ก็คือการพนัน

2). โลภหรือไม่โลภ เป็นอีกประเด็นหนึ่งแยกต่างหาก เพราะก็เป็นไปได้ที่จะเล่นด้วยค
วามหื่นกระหายต่อผลกำไร แต่ก็ทำทุกอย่างตามความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ก็จะยังไม่ใช่การพนันอย่างเต็มตัว (การพนัน = โลภ + ความไม่รู้ ) ... แต่ลำพังโลภอย่างเดียว ก็เป็นอกุศลอยู่แล้ว และถ้ามันมากเกินไปก็มักจะขาดสติ นำความไม่รู้ตามติดมาด้วย กลายร่างเป็นการพนันไปเต็มตัว