ผมเข้าใจว่า สถาบันการเงินเองก็มีรายจ่ายประจำอยู่ เช่น ค่าจ้าง พนง. (ค่าดูแลระบบIT, ค่าไฟ, ค่าเช่าสถานที่บางแห่ง) และดอกเบี้ยก็คือแหล่งเงินพวกนี้
ถ้าจะให้พักหนี้หยุดดอกเบี้ยจริงๆ ต้องตอบคำถามให้เขาได้ด้วยว่า ทำยังไงกับรายจ่ายหลักอย่างเช่น เงินเดือน พนง.
1). เลิกจ้าง (มีต้นทุนค่าชดเชยเลิกจ้าง ซึ่งก็มากโขถ้าปลดออกเยอะๆ ก็คงเจ๊งอยู่ดีเหมือนมีเงินไม่พอจ่ายค่าชดเชยเลิกจ้างงานตามกฏหมาย)
2). เก็บเอาไว้ (ต้องหาเงินจากที่อื่นมาจ่ายตรงนี้แทน แล้วจะเอาจากไหนละ?)
ระบบเศรษฐกิจเรามีความสัมพันธ์กันแบบงูกินหาง จึงยากมากที่ node อันใดอันนึงจะหยุดไว้เฉยๆโดยไม่กระทบกับ node อื่นๆ
ถ้าจะหยุด ต้องหยุดพร้อมกันหมดทั้งระบบ รวมถึงจุดที่รับทรัพยากรใหม่เข้ามาในระบบ (คือทรัพยากรณ์ที่เราได้จากธรรมชาติโดยตรง เช่น เหมืองแร่, แหล่งน้ำดิบ, แหล่งน้ำมันดิบ ฯลฯ)
อีกประเด็นคือ จริงๆแล้วธุรกิจประเภทธนาคารนี่ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนสูงมากๆ (ทรัพย์สินส่วนใหญ่คือหนี้)
การที่เรามองเหมือนว่าพวกนี้เสกเงินอออกมาได้เอง หรือเป็นเสือนอนกิน ก็อาจจะไม่ได้ตรงความเป็นจริงนัก
ก็ดูกันต่อไปว่าเขาจะหาทางออกกันยังไง
แต่จากเรื่อง covid-19 นี่ เศรษฐกิจกระทบหนักแน่นอน
คนที่เตรียมความพร้อมทางการเงิน (ออมเงินไว้ยามฉุกเฉิน ให้อยู่ต่อได้อย่างน้อย 6 เดือน) ก็อาจจะเดือดร้อนน้อยหน่อย ใครที่ไม่ได้เตรียมอะไรไว้เลย ก็น่าจะเป็นงานที่ลำบากมาก ณ เวลานี้
ก็ขอให้ผ่านกันไปได้ทุกคนครับ
ถ้าจะหยุด ต้องหยุดพร้อมกันหมดทั้งระบบ รวมถึงจุดที่รับทรัพยากรใหม่เข้ามาในระบบ (คือทรัพยากรณ์ที่เราได้จากธรรมชาติโดยตรง เช่น เหมืองแร่, แหล่งน้ำดิบ, แหล่งน้ำมันดิบ ฯลฯ)
อีกประเด็นคือ จริงๆแล้วธุรกิจประเภทธนาคารนี่ อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนสูงมากๆ (ทรัพย์สินส่วนใหญ่คือหนี้)
การที่เรามองเหมือนว่าพวกนี้เสกเงินอออกมาได้เอง หรือเป็นเสือนอนกิน ก็อาจจะไม่ได้ตรงความเป็นจริงนัก
ก็ดูกันต่อไปว่าเขาจะหาทางออกกันยังไง
แต่จากเรื่อง covid-19 นี่ เศรษฐกิจกระทบหนักแน่นอน
คนที่เตรียมความพร้อมทางการเงิน (ออมเงินไว้ยามฉุกเฉิน ให้อยู่ต่อได้อย่างน้อย 6 เดือน) ก็อาจจะเดือดร้อนน้อยหน่อย ใครที่ไม่ได้เตรียมอะไรไว้เลย ก็น่าจะเป็นงานที่ลำบากมาก ณ เวลานี้
ก็ขอให้ผ่านกันไปได้ทุกคนครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น