เทรนของโลกได้เปลี่ยนไปแล้ว
ประเด็นนี้เริ่มมาจาก กระทู้สองกระทู้นี้ครับ
TIGA ผู้ถือครองลิขสิทธิ์ "โคนัน" ปล่อยโคนันทุกตอนให้ดู "FREE" ใน Youtube
จัดหนัก!! ROSE ปล่อย "โดเรม่อน,นารุโตะ,บลีช,รีบอร์น,แฟรี่เทล" ดูฟรี!! Youtube
คุณอาจจะคิดว่า ข่าวการ์ตูนแบบนี้ เกี่ยวอะไรกับการลงทุน
เกี่ยวมากๆครับ ข่าวนี้กระทบกับธุรกิจ ฟรีทีวี ทีวีดิจิตอล และทีวีรูปแบบดั้งเดิมที่ต้องออกอากาศผ่านคลื่นวิทยุ ทั้งภาคพื้นดิน และดาวเทียม โดยตรง
ลองคิดดูน่ะครับ โดยปกติค่ายที่ซื้อลิขสิทธิ์การ์ตูนต่างๆมาฉายนั้น เดิมต้องไปเสียค่า air time ให้กับช่องทีวีเหล่านั้น หรืออีกทางนึง(ซึ่งเยอะกว่า) คือ รายการทีวี มาซื้อลิขสิทธิ์ ไปออกฉาย เพื่อเพิ่มเรทติ้งให้ช่องทีวีเขา
โดยทั้งนี้ทั้งนั้น รายได้หลักของค่ายทีวีจริงๆแล้ว ต้นทางล้วนมาจากเงินโฆษณาทั้งสิ้น
พอค่ายที่นำเข้าลิขสิทธิ์การ์ตูนเหล่านี้ เปลี่ยนมาใช้ youtube แทนทีวีแบบดั้งเดิม
เขาก็ได้รับค่าโฆษณาจาก youtube อยู่เช่นกัน แถมยังไม่ต้องมีคนกลาง (เจ้าของช่องทีวีแบบดั้งเดิม) มาแบ่งรายได้ก้อนนี้ไปอีกด้วย
งานนี้ช่องทีวีแบบดั้งเดิม มีแต่เสียกับเสียครับ
และเมื่อกระแสมันถูกจุดขึ้นมาแล้ว จะมีเทรนเกิดตามมา อีกเรื่อยๆ อีกหลายบริษัทที่ซื้อลิขสิทธิ์ content ต่างประเทศมา ก็จะเปลี่ยนมาใช้โมเดล youtube channel แทนช่องทีวีแบบดั้งเดิม
ซึ่งผมรู้สึกว่า นี่มันเป็น mega trend จริงๆ ยิ่งกว่าเหตุการณ์ทีวีดิจิตอลในปีก่อนนี้ซะอีก
คุณจะปรับพอร์ตยังไงให้เข้ากับ mega trend นี้ ก็แล้วแต่วิจารณญานของแต่ละท่านล่ะครับ ขอให้โชคดี :)
วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558
วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ในวันที่มีข่าวร้ายเกี่ยวกับตลาดหุ้น ออกสื่อมาอย่างเป็นทางการ (ฤาจะถึงคราวเผาจริง?)
พาดหัวข่าวของ Money Channel วันนี้
SET ก.ค.มีโอกาสร่วงถึง 1,300 จุด
(ตัวอย่างเนื้อหา : บล.ซีไอเอ็มบี ระบุ SET ปี 58 เคลื่อนไหวคล้ายปี 54 ขณะที่มีโอกาสปรับตัวซ้ำรอยเดิมโดยขึ้นไปก่อนจะปรับลงมาทำนิวโลว์ มองลงไปได้ถึง 1,300 จุด อิงระดับดัชนีเหมาะสมหลังปรับลด EPS ตลาด .... )
ก่อนหน้าจะมีข่าวนี้ ในเมืองไทย ผมเห็นคนเดียวที่กล้าออกมาบอกตั้งแต่ต้นปี ว่า SET จะลงแน่ๆ คือคุณ ศิริวัฒน์ (เจ้าสัวเยสเตอร์เดย์ ตอนปี 40 ที่หลังจากเจ๊งแล้วออกมาขายแซนวิช)
ส่วน ดร.นิเวศน์ บอกว่ามันเข้าเฟสอิ่มตัวเริ่มเสียวๆแล้ว แต่ก็ยังไม่มองร้ายเท่าคุณศิริวัฒน์
ส่วนโบรกและนักวิเคราะห์ต่างๆ ปกติจะมองโลกแง่ดีได้ทุกวัน จนกว่าจะถึงวันที่มันเจ๊งจริง (รู้ตัวเมื่อสายแล้ว ... ซึ่งคุณ ศิริวัฒน์ เองก็เคยเป็นแบบนั้นมาก่อน)
SET ก.ค.มีโอกาสร่วงถึง 1,300 จุด
(ตัวอย่างเนื้อหา : บล.ซีไอเอ็มบี ระบุ SET ปี 58 เคลื่อนไหวคล้ายปี 54 ขณะที่มีโอกาสปรับตัวซ้ำรอยเดิมโดยขึ้นไปก่อนจะปรับลงมาทำนิวโลว์ มองลงไปได้ถึง 1,300 จุด อิงระดับดัชนีเหมาะสมหลังปรับลด EPS ตลาด .... )
บล.ซี
ไอเอ็มบี ระบุ SET ปี 58 เคลื่อนไหวคล้ายปี 54
ขณะที่มีโอกาสปรับตัวซ้ำรอยเดิมโดยขึ้นไปก่อนจะปรับลงมาทำนิวโลว์
มองลงไปได้ถึง 1,300 จุด อิงระดับดัชนีเหมาะสมหลังปรับลด EPS ตลาด - See
more at:
http://www.moneychannel.co.th/news_detail/4135/#sthash.arwBSC2A.dpuf
บล.ซี
ไอเอ็มบี ระบุ SET ปี 58 เคลื่อนไหวคล้ายปี 54
ขณะที่มีโอกาสปรับตัวซ้ำรอยเดิมโดยขึ้นไปก่อนจะปรับลงมาทำนิวโลว์
มองลงไปได้ถึง 1,300 จุด อิงระดับดัชนีเหมาะสมหลังปรับลด EPS ตลาด - See
more at:
http://www.moneychannel.co.th/news_detail/4135/#sthash.arwBSC2A.dpuf
บล.ซี
ไอเอ็มบี ระบุ SET ปี 58 เคลื่อนไหวคล้ายปี 54
ขณะที่มีโอกาสปรับตัวซ้ำรอยเดิมโดยขึ้นไปก่อนจะปรับลงมาทำนิวโลว์
มองลงไปได้ถึง 1,300 จุด อิงระดับดัชนีเหมาะสมหลังปรับลด EPS ตลาด - See
more at:
http://www.moneychannel.co.th/news_detail/4135/#sthash.arwBSC2A.dpuf
ก่อนหน้าจะมีข่าวนี้ ในเมืองไทย ผมเห็นคนเดียวที่กล้าออกมาบอกตั้งแต่ต้นปี ว่า SET จะลงแน่ๆ คือคุณ ศิริวัฒน์ (เจ้าสัวเยสเตอร์เดย์ ตอนปี 40 ที่หลังจากเจ๊งแล้วออกมาขายแซนวิช)
ส่วน ดร.นิเวศน์ บอกว่ามันเข้าเฟสอิ่มตัวเริ่มเสียวๆแล้ว แต่ก็ยังไม่มองร้ายเท่าคุณศิริวัฒน์
ส่วนโบรกและนักวิเคราะห์ต่างๆ ปกติจะมองโลกแง่ดีได้ทุกวัน จนกว่าจะถึงวันที่มันเจ๊งจริง (รู้ตัวเมื่อสายแล้ว ... ซึ่งคุณ ศิริวัฒน์ เองก็เคยเป็นแบบนั้นมาก่อน)
ดังนั้นโดยส่วนตัวแล้ว ผมจะไม่ตามข่าวหรือบทวิเคราะห์ของค่ายไหนๆเลย
ถ้าจะอ่านบทวิเคราะห์ ต้องตั้งสติเสมอว่า ให้แยก ข้อเท็จจริง และ
ข้อคิดเห็น ออกจากกันเสมอให้เด็ดขาด
และเราเอาเฉพาะส่วนที่เป็นข้อเท็จจริงมาใช้
วงการนี้นี่ ประสบการณ์และความเก๋า ช่วยให้ได้เปรียบเยอะมากจริงๆ
เราก็จะต้องพัฒนาตัวเอง หมั่นหาความรู้ หมั่นฝึกฝน เพิ่มความเก๋าให้ตัวเอง ตามแนวทางนี้ให้สำเร็จให้ได้
วงการนี้นี่ ประสบการณ์และความเก๋า ช่วยให้ได้เปรียบเยอะมากจริงๆ
เราก็จะต้องพัฒนาตัวเอง หมั่นหาความรู้ หมั่นฝึกฝน เพิ่มความเก๋าให้ตัวเอง ตามแนวทางนี้ให้สำเร็จให้ได้
วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558
เงินเดือนขึ้นทีละคืบ แต่ค่าครองชีพกับรสนิยม ขึ้นทีละศอก
สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ มีเหตุให้ต้องกินเลี้ยงกับเพื่อนฝูง 2 งาน งานแรกเพื่อนมัธยมคนนึงที่ไปเรียนเอกที่อังกฤษแล้วกลับมาเยี่ยมบ้าน อีกงานคือ เลี้ยงส่งเพื่อนในที่ทำงานปัจจุบัน ซึ่งได้ออกจากงานไปสู่โอกาสใหม่ๆ ในโลกกว้าง
งานแรกนั้นไม่มีอะไรแปลก ผมกินกับเพื่อนนานๆครั้ง ร้านสุกี้เจ้าใหญ่รายนึง เป็นอะไรที่ดูมาตรฐานดี ไม่น่าจะแพงไปนัก
กินไปกินมา พอเพื่อนผมถามเช๊คราคาเท่านั้นแหละ น่าจะราวหัวล่ะ 45x บาท ... (ผมอึ้งไปเลย) แต่เคราะห์ดี ที่ท้ายที่สุดแล้ว ราคาบางรายการคิดผิด และเพื่อนมีบัตรสมาชิกใช้ลดได้อีก จึงเหลือแค่หัวล่ะ 400 บาท (ก็ยังแอบแพงน่ะ T-T)
อีกงานนึงวันถัดมา รู้แบบกระชั้นชิด ตอนแรกก็ไม่แอะใจ คิดว่าไปกินบุฟเนื้อย่างธรรมดา ชื่อร้านแปลกๆไม่เคยได้ยิน พอได้ยินราคาเท่านั้นแหละ ผมนี่ซีดไปกระทันหัน คือค่าเสียหายต่อหัวน่าจะราวๆ 6xx บาท จึงได้ทักท้วงไปว่าแพงเกินไป ขอไม่เกิน 500 ได้มั้ย สรุปลงเอยได้อีกเจ้านึงที่ราคาราว 520 บาท (มารู้ภายหลังว่ามันเพิ่งเปลี่ยนราคาเป็น 540 บาทด้วย T=T)
แต่โชคชะตายังไม่โหดร้ายเกินไปนัก อยู่ๆคนร่วมงานเกิดไปไม่ได้กระทันหันหลายคน งานจึงล่มไปโดยปริยาย
;
ย้อนไปเมื่อแค่ซัก 2-3 ปีก่อน เวลาผมไปกินดีๆกับเพื่อนซักครั้ง น่าจะเสียค่าใช้จ่ายราวๆหลัก 2xx - 3xx บาทเท่านั้น ก็ไม่รู้ว่าเพราะค่าต้นทุนมันแพงขึ้น (ค่าแรงแพงขึ้น .. ก็คงมีส่วน) หรือว่าร้านค้าเหล่านี้เริ่มปั่นราคาเกินควรกันแน่ ทั้งที่เวลาไปกินมันก็ไม่ได้อร่อยต่างกันมากนักในราคาใกล้ๆกัน
การที่ราคาขึ้นกันเร็วแบบนี้ แสดงให้เห็นถึงกลไกของตลาดทุนนิยมเสรี กำลังผลิบานเกือบจะเต็มใบ (เผื่อใครยังไม่รู้ สังคมเราเริ่มเปลี่ยนเป็นทุนนิยมเสรีไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว ดังนั้นราคาสินค้าบริหารต่างๆจะใช้กลไกของ demand & supply หาจุดที่จะได้กำไรสูงสุดกัน แทนที่จะดูจากต้นทุนผลิตแล้วบวกกำไรพอเป็นพิธี เหมือนยุคก่อนนี้) แต่ดูเหมือนคนไทยจะยังปรับตัวให้ "เหมาะสม" กับความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ทัน
โดยเฉพาะสังคมยุค social media ที่มีการแชร์รูปกินดีเที่ยวหรู อยู่สบาย กันทั่วไป ทำให้เกิดการกระตุ้นกิเลสกันมากมายมหาศาลกว่าทุกยุคที่ผ่านมา (มันถึงมีสำนวนว่า "กระเป๋าตังในมือผมมันสั่นไปหมดแล้ว" เกิดขึ้นมาไงล่ะ)
ในหลายๆบริษัท พนง. ประจำ ก็มักจะได้ขึ้นเงินเดือนทีละนิดตามอายุงาน (แต่ถ้าได้โปรโมทก็จะได้เยอะหน่อย)
ซึ่งผมก็เป็น พนง. ประจำเช่นกัน มักจะได้ขึ้นครั้งล่ะ 1-2 % แต่ว่าค่าครองชีพรวมถึงสิ่งที่เราเรียกว่า "ภาษีสังคม" กลับวิ่งไปเร็วกว่านั้นมาก โดยเฉพาะอย่างหลัง ซึ่งเข้าใจว่าจะไม่แสดงออกในตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคของ ธปท. เพราะดัชนีนี้คิดเฉพาะปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพเป็นหลัก แล้วไอ้ที่ๆ "ต้อง" ไปจ่ายภาษีสังคมนั้น ก็ไม่ได้เข้าข่ายเอาไปคิดในดัชนีดังกล่าวด้วยเพราะจัดเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย (แต่ถ้าเข้าสังคม ไม่อยากไปก็เหมือนบังคับไปแหละ)
แล้วเราจะเอาตัวรอดจากเหตุการณ์นี้ได้ยังไง ?
ถ้าไม่คิดหาทางเพิ่มรายรับให้เร็วกว่าค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ก็คงต้อง หาทางลดรายจ่ายพวกนี้ลงให้ได้แหละครับ
ผมรู้สึกว่าคนไทยส่วนใหญ่ แม้แต่คนมีระดับการศึกษาดี ยังขาดการวางแผนการเงินสำหรับชีวิตของตัวเองอยู่ ทำให้ไม่ค่อยรู้ตัวกันว่าใช้เงินเกินตัวกันไปแล้ว (เพราะระบบมหาวิทยาลัย ไม่เคยสอนเรื่องนี้อยู่แล้ว)
แต่ก็เป็นไปได้ว่า เป้าหมายของแต่ละคนที่ต่างกัน ก็ส่งผลให้ plan ออกมาไม่เหมือนกัน งบจับจ่ายก็ต่างกันได้ ซึ่งความแตกต่างระหว่างบุคคลนี้ ควรจะเจรจาหาข้อตกลงอย่างสันติกันได้ โดยเราก็รักษาจุดยืนของเราให้แผนชีวิตของเราและของเขายังราบรื่นต่อไปได้ด้วย น่าจะเป็นสิ่งที่ควรจะเป็นมากที่สุดครับ
งานแรกนั้นไม่มีอะไรแปลก ผมกินกับเพื่อนนานๆครั้ง ร้านสุกี้เจ้าใหญ่รายนึง เป็นอะไรที่ดูมาตรฐานดี ไม่น่าจะแพงไปนัก
กินไปกินมา พอเพื่อนผมถามเช๊คราคาเท่านั้นแหละ น่าจะราวหัวล่ะ 45x บาท ... (ผมอึ้งไปเลย) แต่เคราะห์ดี ที่ท้ายที่สุดแล้ว ราคาบางรายการคิดผิด และเพื่อนมีบัตรสมาชิกใช้ลดได้อีก จึงเหลือแค่หัวล่ะ 400 บาท (ก็ยังแอบแพงน่ะ T-T)
อีกงานนึงวันถัดมา รู้แบบกระชั้นชิด ตอนแรกก็ไม่แอะใจ คิดว่าไปกินบุฟเนื้อย่างธรรมดา ชื่อร้านแปลกๆไม่เคยได้ยิน พอได้ยินราคาเท่านั้นแหละ ผมนี่ซีดไปกระทันหัน คือค่าเสียหายต่อหัวน่าจะราวๆ 6xx บาท จึงได้ทักท้วงไปว่าแพงเกินไป ขอไม่เกิน 500 ได้มั้ย สรุปลงเอยได้อีกเจ้านึงที่ราคาราว 520 บาท (มารู้ภายหลังว่ามันเพิ่งเปลี่ยนราคาเป็น 540 บาทด้วย T=T)
แต่โชคชะตายังไม่โหดร้ายเกินไปนัก อยู่ๆคนร่วมงานเกิดไปไม่ได้กระทันหันหลายคน งานจึงล่มไปโดยปริยาย
;
ย้อนไปเมื่อแค่ซัก 2-3 ปีก่อน เวลาผมไปกินดีๆกับเพื่อนซักครั้ง น่าจะเสียค่าใช้จ่ายราวๆหลัก 2xx - 3xx บาทเท่านั้น ก็ไม่รู้ว่าเพราะค่าต้นทุนมันแพงขึ้น (ค่าแรงแพงขึ้น .. ก็คงมีส่วน) หรือว่าร้านค้าเหล่านี้เริ่มปั่นราคาเกินควรกันแน่ ทั้งที่เวลาไปกินมันก็ไม่ได้อร่อยต่างกันมากนักในราคาใกล้ๆกัน
การที่ราคาขึ้นกันเร็วแบบนี้ แสดงให้เห็นถึงกลไกของตลาดทุนนิยมเสรี กำลังผลิบานเกือบจะเต็มใบ (เผื่อใครยังไม่รู้ สังคมเราเริ่มเปลี่ยนเป็นทุนนิยมเสรีไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว ดังนั้นราคาสินค้าบริหารต่างๆจะใช้กลไกของ demand & supply หาจุดที่จะได้กำไรสูงสุดกัน แทนที่จะดูจากต้นทุนผลิตแล้วบวกกำไรพอเป็นพิธี เหมือนยุคก่อนนี้) แต่ดูเหมือนคนไทยจะยังปรับตัวให้ "เหมาะสม" กับความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ทัน
โดยเฉพาะสังคมยุค social media ที่มีการแชร์รูปกินดีเที่ยวหรู อยู่สบาย กันทั่วไป ทำให้เกิดการกระตุ้นกิเลสกันมากมายมหาศาลกว่าทุกยุคที่ผ่านมา (มันถึงมีสำนวนว่า "กระเป๋าตังในมือผมมันสั่นไปหมดแล้ว" เกิดขึ้นมาไงล่ะ)
ในหลายๆบริษัท พนง. ประจำ ก็มักจะได้ขึ้นเงินเดือนทีละนิดตามอายุงาน (แต่ถ้าได้โปรโมทก็จะได้เยอะหน่อย)
ซึ่งผมก็เป็น พนง. ประจำเช่นกัน มักจะได้ขึ้นครั้งล่ะ 1-2 % แต่ว่าค่าครองชีพรวมถึงสิ่งที่เราเรียกว่า "ภาษีสังคม" กลับวิ่งไปเร็วกว่านั้นมาก โดยเฉพาะอย่างหลัง ซึ่งเข้าใจว่าจะไม่แสดงออกในตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคของ ธปท. เพราะดัชนีนี้คิดเฉพาะปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพเป็นหลัก แล้วไอ้ที่ๆ "ต้อง" ไปจ่ายภาษีสังคมนั้น ก็ไม่ได้เข้าข่ายเอาไปคิดในดัชนีดังกล่าวด้วยเพราะจัดเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย (แต่ถ้าเข้าสังคม ไม่อยากไปก็เหมือนบังคับไปแหละ)
แล้วเราจะเอาตัวรอดจากเหตุการณ์นี้ได้ยังไง ?
ถ้าไม่คิดหาทางเพิ่มรายรับให้เร็วกว่าค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ก็คงต้อง หาทางลดรายจ่ายพวกนี้ลงให้ได้แหละครับ
- การหารายได้เพิ่มคงไม่พ้นหาอาชีพเสริมนอกเวลา การเปลี่ยนงาน หรือ การบริหารพอร์ตการลงทุนส่วนตัว
- การลดรายจ่าย อันนี้หินกว่า เพราะถึงเราจะมองว่า ภาษีสังคม หลายครั้งมัน "เว่อร์เกิน" แต่ก็ยากจะเลี่ยงโดยไม่ให้เสียน้ำใจ แล้วทำไงดี
ก็ไม่พ้นต้องหาทางเลี่ยงแบบละมุนละม่อม อันนี้คงต้องใช้ศิลปะกันซักหน่อย เช่น บอกว่าไม่ว่าง ไม่สะดวก หรือ ทำตัวเงียบๆไว้ไม่พูดไม่จา ...
ถ้าโดนต้อนจนมุมจริงๆคงต้อง กลับไปดูเป้าหมายชีวิตของเราเอง ว่าการไปเข้าสังคมนี้มันกระทบเป้าหมายเรายังไง บวกหรือลบ ถ้ามันเป็นผลลบต่อเป้าหมายชีวิตเรา เราก็ควรต้องปฏิเสธอย่างตรงไปตรงมา หรือต่อรองให้ไปเลี้ยงกันในที่ๆราคาถูกกว่านั้นหน่อย (ทุกคนเกิดมามีเสรีภาพในชีวิต คนไทยเราขี้เกรงใจแต่คิดอีกแง่ อีกฝ่ายก็ควรต้องเกรงใจเราด้วย ดังนั้นก็สื่อสารกันได้ ไม่ว่าผลจะออกมายังไง ไม่ใช่ความผิดเราเลยครับ ถ้าผลออกมาแย่มันคือผิดที่วุฒิภาวะของอีกฝ่ายเอง)
ผมรู้สึกว่าคนไทยส่วนใหญ่ แม้แต่คนมีระดับการศึกษาดี ยังขาดการวางแผนการเงินสำหรับชีวิตของตัวเองอยู่ ทำให้ไม่ค่อยรู้ตัวกันว่าใช้เงินเกินตัวกันไปแล้ว (เพราะระบบมหาวิทยาลัย ไม่เคยสอนเรื่องนี้อยู่แล้ว)
แต่ก็เป็นไปได้ว่า เป้าหมายของแต่ละคนที่ต่างกัน ก็ส่งผลให้ plan ออกมาไม่เหมือนกัน งบจับจ่ายก็ต่างกันได้ ซึ่งความแตกต่างระหว่างบุคคลนี้ ควรจะเจรจาหาข้อตกลงอย่างสันติกันได้ โดยเราก็รักษาจุดยืนของเราให้แผนชีวิตของเราและของเขายังราบรื่นต่อไปได้ด้วย น่าจะเป็นสิ่งที่ควรจะเป็นมากที่สุดครับ
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)