งานแรกนั้นไม่มีอะไรแปลก ผมกินกับเพื่อนนานๆครั้ง ร้านสุกี้เจ้าใหญ่รายนึง เป็นอะไรที่ดูมาตรฐานดี ไม่น่าจะแพงไปนัก
กินไปกินมา พอเพื่อนผมถามเช๊คราคาเท่านั้นแหละ น่าจะราวหัวล่ะ 45x บาท ... (ผมอึ้งไปเลย) แต่เคราะห์ดี ที่ท้ายที่สุดแล้ว ราคาบางรายการคิดผิด และเพื่อนมีบัตรสมาชิกใช้ลดได้อีก จึงเหลือแค่หัวล่ะ 400 บาท (ก็ยังแอบแพงน่ะ T-T)
อีกงานนึงวันถัดมา รู้แบบกระชั้นชิด ตอนแรกก็ไม่แอะใจ คิดว่าไปกินบุฟเนื้อย่างธรรมดา ชื่อร้านแปลกๆไม่เคยได้ยิน พอได้ยินราคาเท่านั้นแหละ ผมนี่ซีดไปกระทันหัน คือค่าเสียหายต่อหัวน่าจะราวๆ 6xx บาท จึงได้ทักท้วงไปว่าแพงเกินไป ขอไม่เกิน 500 ได้มั้ย สรุปลงเอยได้อีกเจ้านึงที่ราคาราว 520 บาท (มารู้ภายหลังว่ามันเพิ่งเปลี่ยนราคาเป็น 540 บาทด้วย T=T)
แต่โชคชะตายังไม่โหดร้ายเกินไปนัก อยู่ๆคนร่วมงานเกิดไปไม่ได้กระทันหันหลายคน งานจึงล่มไปโดยปริยาย
;
ย้อนไปเมื่อแค่ซัก 2-3 ปีก่อน เวลาผมไปกินดีๆกับเพื่อนซักครั้ง น่าจะเสียค่าใช้จ่ายราวๆหลัก 2xx - 3xx บาทเท่านั้น ก็ไม่รู้ว่าเพราะค่าต้นทุนมันแพงขึ้น (ค่าแรงแพงขึ้น .. ก็คงมีส่วน) หรือว่าร้านค้าเหล่านี้เริ่มปั่นราคาเกินควรกันแน่ ทั้งที่เวลาไปกินมันก็ไม่ได้อร่อยต่างกันมากนักในราคาใกล้ๆกัน
การที่ราคาขึ้นกันเร็วแบบนี้ แสดงให้เห็นถึงกลไกของตลาดทุนนิยมเสรี กำลังผลิบานเกือบจะเต็มใบ (เผื่อใครยังไม่รู้ สังคมเราเริ่มเปลี่ยนเป็นทุนนิยมเสรีไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว ดังนั้นราคาสินค้าบริหารต่างๆจะใช้กลไกของ demand & supply หาจุดที่จะได้กำไรสูงสุดกัน แทนที่จะดูจากต้นทุนผลิตแล้วบวกกำไรพอเป็นพิธี เหมือนยุคก่อนนี้) แต่ดูเหมือนคนไทยจะยังปรับตัวให้ "เหมาะสม" กับความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ทัน
โดยเฉพาะสังคมยุค social media ที่มีการแชร์รูปกินดีเที่ยวหรู อยู่สบาย กันทั่วไป ทำให้เกิดการกระตุ้นกิเลสกันมากมายมหาศาลกว่าทุกยุคที่ผ่านมา (มันถึงมีสำนวนว่า "กระเป๋าตังในมือผมมันสั่นไปหมดแล้ว" เกิดขึ้นมาไงล่ะ)
ในหลายๆบริษัท พนง. ประจำ ก็มักจะได้ขึ้นเงินเดือนทีละนิดตามอายุงาน (แต่ถ้าได้โปรโมทก็จะได้เยอะหน่อย)
ซึ่งผมก็เป็น พนง. ประจำเช่นกัน มักจะได้ขึ้นครั้งล่ะ 1-2 % แต่ว่าค่าครองชีพรวมถึงสิ่งที่เราเรียกว่า "ภาษีสังคม" กลับวิ่งไปเร็วกว่านั้นมาก โดยเฉพาะอย่างหลัง ซึ่งเข้าใจว่าจะไม่แสดงออกในตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคของ ธปท. เพราะดัชนีนี้คิดเฉพาะปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพเป็นหลัก แล้วไอ้ที่ๆ "ต้อง" ไปจ่ายภาษีสังคมนั้น ก็ไม่ได้เข้าข่ายเอาไปคิดในดัชนีดังกล่าวด้วยเพราะจัดเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย (แต่ถ้าเข้าสังคม ไม่อยากไปก็เหมือนบังคับไปแหละ)
แล้วเราจะเอาตัวรอดจากเหตุการณ์นี้ได้ยังไง ?
ถ้าไม่คิดหาทางเพิ่มรายรับให้เร็วกว่าค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ก็คงต้อง หาทางลดรายจ่ายพวกนี้ลงให้ได้แหละครับ
- การหารายได้เพิ่มคงไม่พ้นหาอาชีพเสริมนอกเวลา การเปลี่ยนงาน หรือ การบริหารพอร์ตการลงทุนส่วนตัว
- การลดรายจ่าย อันนี้หินกว่า เพราะถึงเราจะมองว่า ภาษีสังคม หลายครั้งมัน "เว่อร์เกิน" แต่ก็ยากจะเลี่ยงโดยไม่ให้เสียน้ำใจ แล้วทำไงดี
ก็ไม่พ้นต้องหาทางเลี่ยงแบบละมุนละม่อม อันนี้คงต้องใช้ศิลปะกันซักหน่อย เช่น บอกว่าไม่ว่าง ไม่สะดวก หรือ ทำตัวเงียบๆไว้ไม่พูดไม่จา ...
ถ้าโดนต้อนจนมุมจริงๆคงต้อง กลับไปดูเป้าหมายชีวิตของเราเอง ว่าการไปเข้าสังคมนี้มันกระทบเป้าหมายเรายังไง บวกหรือลบ ถ้ามันเป็นผลลบต่อเป้าหมายชีวิตเรา เราก็ควรต้องปฏิเสธอย่างตรงไปตรงมา หรือต่อรองให้ไปเลี้ยงกันในที่ๆราคาถูกกว่านั้นหน่อย (ทุกคนเกิดมามีเสรีภาพในชีวิต คนไทยเราขี้เกรงใจแต่คิดอีกแง่ อีกฝ่ายก็ควรต้องเกรงใจเราด้วย ดังนั้นก็สื่อสารกันได้ ไม่ว่าผลจะออกมายังไง ไม่ใช่ความผิดเราเลยครับ ถ้าผลออกมาแย่มันคือผิดที่วุฒิภาวะของอีกฝ่ายเอง)
ผมรู้สึกว่าคนไทยส่วนใหญ่ แม้แต่คนมีระดับการศึกษาดี ยังขาดการวางแผนการเงินสำหรับชีวิตของตัวเองอยู่ ทำให้ไม่ค่อยรู้ตัวกันว่าใช้เงินเกินตัวกันไปแล้ว (เพราะระบบมหาวิทยาลัย ไม่เคยสอนเรื่องนี้อยู่แล้ว)
แต่ก็เป็นไปได้ว่า เป้าหมายของแต่ละคนที่ต่างกัน ก็ส่งผลให้ plan ออกมาไม่เหมือนกัน งบจับจ่ายก็ต่างกันได้ ซึ่งความแตกต่างระหว่างบุคคลนี้ ควรจะเจรจาหาข้อตกลงอย่างสันติกันได้ โดยเราก็รักษาจุดยืนของเราให้แผนชีวิตของเราและของเขายังราบรื่นต่อไปได้ด้วย น่าจะเป็นสิ่งที่ควรจะเป็นมากที่สุดครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น