วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2558

แนวคิดเกี่ยวกับมูลค่าของหุ้น (1)

มุมมองเกี่ยวกับมูลค่าของหุ้น ตามแนวคิดของ vi ตามที่ผมเข้าใจ มีอยู่สองแนวคิดใหญ่ๆ

1. มูลค่ามาจากความสามารถในการสร้างผลกำไร
มุมมองนี้มองว่า มูลค่าหุ้น มาจากการที่หุ้นสามารถผลิตกระแสเงินจากการดำเนินงานแล้วได้กำไร แล้วปันผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น ยิ่งทำกำไรได้มาก อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องเป็นเวลานาน มูลค่าก็ยิ่งมาก
ซึ่งก็มีประเภทย่อยอีกดังนี้คือ
1.1 มูลค่ามาจากระยะเวลาคืนทุน

1.2 มูลค่ามาจาก เงินสดทั้งหมดที่มันสร้างให้กับผู้ถือหุ้นได้ในอนาคต ตลอดช่วงชีวิตของมัน - วิธีการหนึ่งในประเภทนี้ ที่ได้ยินกันบ่อยๆ คือ Discounted Cash Flow

2. มูลค่ามาจากทรัพย์สินของบริษัทที่สะสมมา (ทรัพย์สินที่ไม่ใช่หนี้น่ะ)
คือ ถ้าสมมุติว่าบริษัทจะปิดตัวลงวันนี้ แล้วต้องขายทรัพย์สินทอดตลาดทั้งหมดเพื่อมาคืนผู้ถือหุ้น จะได้เงินมาคืนผู้ถือหุ้นทั้งหมดเท่าไหร่
ทรัพย์สินที่ว่านี้ ในทางทฤษฎีก็คือ "ส่วนของผู้ถือหุ้น" นั่นเอง
แต่ในทางปฏิบัตินั้น ส่วนของผู้ถือหุ้นมักจะไม่ได้มี ขนาดเท่ากับที่แสดงตัวเลขในงบการเงินอยู่จริง เพราะ ทรัพย์สินในงบการเงินนั้น จะมีหลายอย่างเป็นมูลค่าที่เกิดจากการประเมิน ด้วยวิธีการทางบัญชีอีกที ซึ่งถ้าถึงเวลาต้องขายทรัพย์สินจริงๆ มักจะได้เงินกลับคืนมาน้อยกว่านั้น

อันที่จริง ยังมีอีกแนวคิดนึง ซึ่งผมว่ามันไม่เข้าหลักการของ VI เท่าไหร่นัก ออกจะค่อนข้างเป็นแนว ลูกครึ่ง แต่ก็มี VI แนวหน้าของประเทศบางคนใช้กันอยู่ ก็ขอแยกเอาไว้เป็นหัวข้อพิเศษคือ

*3. ความสามารถในการทำกำไร ผสมกับการตีมูลค่าที่ตลาดมีให้กับหุ้นตัวนั้น
ซึ่งผมคิดว่า มันเป็นประเภทนึงของ Relative valuation แบบที่พวก โบรกเกอร์ หรือนักวิเคราะห์ ชอบใช้กัน เพราะมีการเอา ปัจจัยจากการให้มูลค่าของ "ตลาด" มามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย

ทั้งหมดนั้นเป็นภาพกว้างๆ ซึ่งเดี๋ยวจะลงรายละเอียดเพิ่มเป็นตัวๆ ในโอกาสหน้าครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น