วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560

เริ่มต้นวางแผนการเงินและการลงทุนยังไงดี สำหรับมือใหม่มากกก

เผอิญมีเพื่อนถามมา ว่าอยากลงทุนบ้างต้องทำไง ก็เลยตอบไป เลยสรุปมาเขียน blog ด้วยเลยละกัน

หลายๆคน เมื่อทำงานใช้ชีวิตไปซักพัก อาจจะมีสิ่งกระตุ้นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เข้ามาในชีวิต ให้นึกได้ว่า จะทำงานหาเงินไปเรื่อย และใช้เงินไปเรื่อยๆ เดือนต่อเดือน โดยไม่มีแบบแผน คงไม่ได้แล้ว อาจจะนึกได้ว่า
- ถ้าอยู่ๆตกงานขึ้นมาจะทำยังไง
- ถ้าแก่จนทำงานหาเงินแบบเดิมไม่ได้แล้ว จะเอาเงินที่ไหนมาดูแลชีวิตที่เหลืออยู่
- เจ็บป่วยทำงานไม่ได้ขึ้นมาจะทำยังไง
- พ่อแม่ จะดูแลท่านยังไง
- ไม่อยากทำงานงกๆจนตายโดยไม่ได้ออกไปใช้ชีวิตแบบที่อยาก (เช่น ไปท่องโลก, ทำธุรกิจส่วนตัว, ทำงานในฝัน)
- ฯลฯ

เราก็จะเริ่มมีความคิดว่า ไม่ได้ละ ต้องเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับโจทย์พวกนั้น
ความคิดง่ายๆคือ "ถ้าเรารวย มีเงินมาก" ก็จะรับมือปัญหาพวกนั้นได้เกือบทั้งหมด (อย่างน้อยก็ดีกว่าต้องรับมือแบบไม่มีเงินแน่นอน และดีกว่ามากๆด้วย)

ถ้าเรากล้าตั้งเป้าว่า "ชั้นจะต้องรวยให้ได้" แล้วละก็
คำถามต่อไปคือ แล้วทำยังไงถึงจะรวยหล่ะ ?

จริงๆหนังสือเรื่องการสร้างเนื้อสร้างตัว เสริมความรู้ทางการเงิน หรือสอนเรื่องวางแผนการเงิน ในท้องตลาด มีเยอะ ยิ่งกว่านั้น เดี๋ยวนี้ก็มี facebook page หรือ blog ที่เขียนไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ทั่วไป search เจอในเน็ตได้เต็มไปหมด

แต่บางทีมันก็ ... เยอะเกินไป จนจับต้นชนปลายไม่ได้ ว่าจะเริ่มยังไงดี !!

ถ้าจะให้เข้าถึงปรัชญาเรื่องนี้อย่างถึงหัวจิตหัวใจไม่มีวันลืม ก็สามารถลองไล่เรียงออกมาจาก "เป้าหมายชีวิต" ของเราก็ได้ เชื่อว่าทุกเป้าหมายมันต้องมี condition เรื่องเกี่ยวกับเงินอยู่แน่ๆ ว่ามีความจำเป็นทางการเงินยังไงถึงจะรองรับหรือไปถึงเป้าหมายพวกนั้นได้

ยังไงก็ดี ผมคงไม่พูดถึงวิธีตั้งเป้าหมายชีวิตในนี้ เดี๋ยวยาวไป lol กูรู (ทั้งจริงและไม่จริง) เรื่องนี้มีเยอะแยะ
ถ้าให้นึกชื่อ ผมนึกถึงคุณ บัณฑิต อึ้งรังสี (หลายคนอาจจะหมั่นไส้พี่แก แต่ถ้าแยกเรื่องความหมั่นไส้ส่วนตัว ออกจากเนื้อหาที่เขาสอนได้ เนื้อหาเขามีประโยชน์มากนะ) เป็นอันที่ย่อยง่ายสุดละ
อีกคนที่ผมรู้จักส่วนตัวคือพี่ รุตม์ (เจ้าของเพจ Anontawong's Musings : https://web.facebook.com/anontawongblog/ ) ที่ผมเคยทำกิจกรรมด้วยตอนทำงานบริษัทเดียวกัน ก็สรุปได้เข้าใจง่ายเช่นเดียวกัน

งั้นข้ามเรื่องวิธีตั้งเป้าหมายชีวิตไป สมมุติว่าเรามีอยู่แล้วเรียบร้อยละกัน
พอมีเป้าหมายแล้ว รู้แล้วว่าตัวเองมีความต้องการทางการเงินแบบไหน

แล้วไงต่อ?

ก็คงต้องทำยังไงก็ได้ให้ระบบการเงินเรามันเป็นไปตามเป้าหมายนั้น ซึ่งจริงๆมันจะต่างกันแค่รายละเอียดปลีกย่อย แต่ภาพใหญ่จะเหมือนกันคือ
"อิสระภาพทางการเงิน"

เดี๋ยวก่อนผมไม่ได้มาขายตรงหาดาวไลน์ ^^! (เคยเจอเพื่อนหลอกเข้าไปผมก็ไม่ชอบเหมือนกัน)
อันที่จริงคำนี้มันเป็นไฟลท์บังคับ ที่ทุกคนต้องไปให้ถึง อย่างน้อยก็ก่อนที่เราจะเข้าวัยเกษียณ ที่เริ่มทำงานหาเงินงกๆไม่ไหวแล้ว
แต่มันก็ดีกว่ามาก ถ้าเราไปถึงมันให้ได้ก่อนเกษียณ ก็ขึ้นกับเป้าหมายของแต่ละคนแหละนะ

อิสระภาพทางการเงินของแต่ละคน อาจจะต่างกันในเรื่อง
- วิธีการ และ
- ขนาด
แต่นิยามที่ตรงกันคือ "ภาวะที่ไม่ต้องกังวลเรื่องที่ว่าจะมีงาน(ที่มีเงิน) ให้ทำประจำหรือไม่อีกต่อไป เพราะว่า รายจ่ายประจำของเรา น้อยกว่ารายรับแบบ passive ที่เราสร้างได้จากระบบทางการเงินที่วางไว้"

คุญบอย วิสูตร แสงอรุณเลิศ , นักเขียนชื่อดัง สรุปเอาไว้ง่ายๆ และผมก็เห็นด้วย ไว้ตามนี้คือ
- หาเงินเก่ง << ทำงานแลกเงินครับ เป็น active income
- เก็บเงินอยู่ << ใช้จ่ายมีเหตุมีผล และเท่าที่จำเป็นจริงๆ จะทำให้รายจ่ายเราไม่เกินรายรับ ที่เราจะหาได้
- รู้ช่องลงทุน << ไอ้นี่ทำให้มี passive income

ตามหลักของคิโยซากิ (คนเขียนหนังสือพ่อรวยสอนลูก) ก็ได้ เรื่อง เงิน 4 ด้าน
ซึ่งสรุปว่า ช่องทางหาเงินคนเรามี 4 ประเภทใหญ่ๆ แต่ด้านที่ให้ passive income ได้ มีแค่การลงทุน (I) หรือทำธุรกิจ (B) เท่านั้น และนั่นเป็นสิ่งที่เราต้องหมั่นสะสมให้มากขึ้นจนไปถึงอิสระภาพทางการเงินได้ในที่สุด

กลับไปที่เรื่อง อิสระภาพทางการเงิน ว่าด้วยเรื่อง วิธีการ และ ขนาด
เรื่อง "วิธีการ" นี่ ผมจะอธิบายแค่เรื่องการบริหารเงินและลงทุนแบบภาพกว้างในก่อนละกัน
ส่วนเรื่อง "ขนาด" นอกจากจะโดนกำหนดจากเป้าหมายชีวิตที่คุณตั้งเอาไว้แล้ว คุณจะได้จากการวิเคราะห์ งบการเงิน หรือ บัญชีรายรับรายจ่ายของตัวเอง
ที่ทำมานานมากพอ (ซัก 6 เดือน) เพื่อหาคำตอบว่า
- รายจ่ายแต่ละเดือนเรา มีรายจ่ายประจำจริงๆเท่าไหร่
- รายรับมีเท่าไหร่
- รายจ่ายที่ไม่ประจำมีเท่าไหร่
- อะไรจำเป็น อะไรไม่จำเป็น
- ฯลฯ
ซึ่งตัวเลขพวกนี้จะช่วยในการวางแผนได้ต่อไป (ตั้งนั้น บัญชีรายรับรายจ่าย เป็นสิ่งขาดไม่ได้นะ)

ซึ่งนั่นจะตอบคำตามเรื่อง "ขนาด" ของอิสระภาพทางการเงินเราได้ ว่าต้องมี passive income ระดับไหนถึงจะจัดว่าเริ่มมี อิสระภาพทางการเงินในเบื้องต้นแล้ว

กลับมาเรื่องวิธีการบริหารเงินและการลงทุนส่วนบุคคลกัน
เราจะข้ามเรื่องวิธีทำบัญชีรายรับรายจ่าย และงบดุล ส่วนบุคคลไป เพราะน่าจะรู้กันแล้ว (ไม่งั้นมันจะยาวไปกะบทความนี้)

สำหรับคนๆนึง อาจจะลอง จำแนกเงินที่มีี ออกได้เป็นส่วนต่างๆได้ตามต่อไปนี้ (แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้เงิน)

1. ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
2. ใช้จ่ายเฉพาะกิจ (แบ่งเป็นกองงบประมาณด้านต่างๆ)
- - เพื่อการให้
- - เพื่อเล่น
- - self improvement
- - ซื้อของใหญ่ของแพง (ที่จำเป็น เป็นครั้งๆ เช่น คอม, มือถือ, รถ, บ้านฯลฯ )
- - งบฉุกเฉิน (ค่ารักษาพยาบาล หรือสำรองใช้ยามว่างงาน 6 เดือน)
3. ออม/ลงทุน
- - active investment (พวกเราซื้อขายในตลาดเองได้โดยตรง เช่น หุ้น)
- - - เงินสด
- - - สินทรัพย์ต่างๆ (หุ้นที่มีในพอร์ต)
- - passive investment (พวกกองทุนรวม)
- - - เงินสด
- - - สินทรัพย์ต่างๆ (กองทุนที่มีในพอร์ต)

คุณอาจจะเคยเห็น นักวางแผนการเงินในทีวี มักจะให้สัดส่วนคร่าวๆมาว่า ควรมีเงินเท่าไหร่ ลงทุนหุ้นเท่าไหร่ ตราสารหนี้เท่าไหร่ ฯลฯ อันนั้นก็เป็นเรื่องเดียวกับที่ผมว่าไปแต่รายละเอียดน้อยกว่า และเป็นแบบสูตรสำเร็จรูป

แต่ผมอยากบอกว่า

สัดส่วนที่เหมาะสมแต่ละส่วน สำหรับแต่ละคน อาจจะไม่ต้องเป็นตามนั้นเป๊ะๆ
วิธีคิดคือ เราจะกันส่วนเพื่อการใช้จ่ายเป็น priority แรก แล้วดูว่าส่วนที่เหลือมีเท่าไหร่ ค่อยมาแบ่งสัดส่วนพอร์ตลงทุนอื่นๆตามลำดับ (ที่ผมแจกแจงไปนั่นแหละ)
โดยอ้างอิงจากผลการวิเคราะห์ บัญชีรายรับรายจ่ายย้อนหลัง 6 เดือนของเรา ที่ว่าไปก่อนหน้านี้ มาช่วยกำหนดสัดส่วนที่เหมาะสม

NOTE1: ว่าด้วยเรื่อง รายจ่ายเฉพาะกิจ หรือกองงบประมาณ ไม่ได้จำเป็นว่าต้องจัดให้มีงบเพียงพอตั้งแต่เริ่มต้น แต่ผมใช้วิธีค่อยๆออมเข้าไปในแต่ละกอง เช่น สมมุติเงินเดือนได้มา 3 หมื่น อาจจะแบ่ง 4% แบ่งออมลงไปในแต่ละกอง (5 กอง รวมกันก็ 20% เป็นต้น)

NOTE2 : รายจ่ายที่แบ่งไปลงทุน ให้คำนวณว่าเหลือเวลาอีกกี่ปีที่เรายังทำงานได้อยู่ก่อนเกษียณ แล้วหลังเกษียณเราต้องใช้จ่ายเงินแต่ละเดือนเท่าไหร่ (อย่าลืมคิดเงินเฟ้อด้วย) สัดส่วนที่เราแบ่งไปลงทุน ต้องมากพอจะทำให้เกิด passive income ที่จะใช้ชีวิตหลังเกษียณได้เป็นอย่างน้อย (แต่อยากเร็วกว่านั้นก็ได้ ก็ลองวางแผนดู)

NOTE3 : แต่ถ้าแบ่งออกมาแล้วพบว่า ไม่สามารถเตรียมเงินไว้ได้พอใช้ สำหรับรายจ่าย (ทั้งแบบประจำ และแบบเฉพาะกิจ) ก็ต้องหาทางพัฒนาตัวเองในทางด้านอาชีพการเงิน เพื่อจะได้มีรายได้ที่สูงขึ้นเพียงพอ หรือตัดลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นจริงๆให้น้อยลงให้มากที่สุด เพื่อให้ได้ตัวเลขที่ดูสมเหตุสมผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของเราได้นะ
;
;
ทีนี้มาดูเฉพาะส่วนของการลงทุนกัน

สำหรับผม สัดส่วนระหว่างพอร์ต passive กับ active ผมจะไม่เอามาคิดรวมกัน (แต่ตอนเริ่มออกตัวจะแบ่งให้มีขนาดเท่าๆกัน) เพื่อทดลองดูว่าพอร์ตไหนผลตอบแทนดีกว่าภายใต้ฝีมือเรา


พอร์ตการลงทุนแบบ active ผมก็ค่อนข้าง free style
คือถ้าวิเคราะห์เจอหุ้นดีๆ (เราเป็นพวกสไตล์ VI) ก็ซื้อไปแบบกะคร่าวๆ ว่าควรมีหุ้นในพอร์ตกระจายความเสี่ยงกันหน่อยซัก 4-5 ตัว ไม่ควรถือตัวไหนตัวเดียวเยอะเกินไป

พอร์ตแบบ passive ผม จริงๆแนะนำให้ลงแบบ DCA ทะยอยลงไปแต่ละเดือนเท่าๆกัน จะปลอดภัยกว่า
แต่ตอนนี้ผมไม่มีเงินเดือน ผมก็เลยปรับพอร์ตแบบง่ายๆไปเลยคือ แบ่งลงกองทุนรวมหุ้น ตปท. ที่เราคิดว่าเศรษฐกิจมั่นคงพอและ p/e ปานกลางถึงต่ำ ประเทศละเท่าๆกันไป ซัก 3 ประเทศ (ไทย, เมกา, จีน) และลงตราสารหนี้นิดหน่อย และเหลือเงินสดไว้เป้นสภาพคล่องนิดนึง
แล้วผมก็คิดว่าจะทำ portfolio rebalancing ทุก 6 เดือน สำหรับพอร์ตแบบ passive อันนี้
บันทึกเวลาลงปฏิทินไปเลย ให้มันเตือนเมื่อถึงเวลา ตอนนี้ก็ลืมๆมันไปเลย lol

จริงๆถ้าไม่ค่อยมีเวลามาก บางคนก็ทำแต่พอร์ต passive อย่างเดียวเลยก็มี
ผมเองก็ ลองนู่นลองนี่เยอะไปหน่อย ภาระการทำบัญชีเลยหนักมาก lol นี่ดองไว้เยอะอยู่ ขนาดว่าใช้ความสามารถใน MS-excel ช่วยเบาแรงแล้ว

ก็เดี๋ยวผลเป็นไงจะมาเล่าอีกทีละกันครับ
แต่อ่านมาถึงตรงนี้ น่าจะพอได้ไอเดีย วิธีคิด กลับไปประยุกต์กับโจทย์ชีวิตของตัวเองได้บ้างแล้วนะ :)

======== ภาคผนวก ===========
ข้อมูลแต่ละกองทุน เดี๋ยวนี้ดูเว็บ wealthmagik ง่ายดี
ซึ่งมีแต่พวก fact เราต้องมาคิดวิเคราะห์ต่อเอง

สำหรับการลงทุน กองทุนรวม ผมมีหลักง่ายๆให้คือ
- เหมาะกับการลงทุนสไตล์ passive เท่านั้น (DCA ไปรายเดือน) ไม่เหมาะกับการเทรดเพราะตอบสนองคำสั่งเราช้าไป
- เลือกกองทุนพวกกองทุนดัชนี จะดีกว่ากองทุน active (ซึ่งค่าทำเนียมแพงและผลตอบแทนไม่ดีเท่ากองทุนดัชนี)

นอกนั้นคือเลือกประเภทสินทรัพย์ที่กองทุนนั้นๆไปลงทุนให้ถูก จัดสัดส่วนให้ดี แล้วมาทำ portfolio rebalancing ทุก 6 เดือน

บางคนอยากเล่นหุ้นกู้ อันนี้ผมไม่รู้เรื่องเลย lol
ดังนั้นผมเอง หุ้นกู้ ก็เล่นผ่านกองทุนรวม ประเภทตราสารหนี้เอา
หุ้นกู้ กับ พันธบัตรรัฐบาล ล้วนแต่เป็น ตราสารหนี้ทั้งคู่

อ่อ กองทุนรวมประเภทหุ้น และเป็นกองทุนดัชนี ก่อนลงทุนให้สำรวจค่า p/e ตลาดหุ้นนั้นๆที่มันไปลงทุนด้วย ว่าไม่ควรแพงเกินไป (ดูเทียบกับประเทศอื่นๆ ก็ได้) และเป็นตลาดหุ้นประเทศที่เศรษฐกิจมั่นคงดีหน่อยนะ
วิธีหาข้อมูล ก็ลอง google คำว่า "global pe ratio" อาจจะมีบางเว็บทุกสรุปไว้ (แต่ข้อมูลมันจะอัพเดทช้าหน่อยคืออาจจะปีนึงอัพ 2 ครั้ง สรุปภาพใหญ่ๆ)

วันอังคารที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2560

เมื่อประโยค "อยากรู้ว่าประเทศไทยอีก 10 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร ให้ดูประเทศพัฒนาแล้ววันนี้" เริ่มใช้ไม่ได้

วันนี้เห็นข่าว ทีวีดิจิตอล หลายเจ้า ที่อ่วมหนัก อยากขอคืนช่องที่ประมูลไปแพงหูฉี่ คืนให้ กสทช. โดยไม่ต้องการเงินคืน แค่ไม่ต้องการจ่ายค่างวดอีกต่อไป

;
หลายคนอาจมีคำถามในใจว่า ทำไม ทีวีดิจิตอล ที่เป็นของเพิ่งมาใหม่ ถึงได้เหมือนกับ จะใกล้ลาโลกแล้วอย่างรวดเร็ว อย่างที่เป็นอยู่ตอนนี้

ทำให้ผมนึกถึงหลักการนึงในการทำนายอนาคตการเติบโตของธุรกิจ ในตลาดหุ้นต่างๆ ข้อนึงที่เคยพูดกันมานานแล้ว

หลักนั้นประมาณว่า "อยากรู้ว่าประเทศไทยอีก 10 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร ให้ดูประเทศพัฒนาแล้ววันนี้"
VI ในยุคก่อน ใช้หลักการนี้ในการทำนายว่า ธุรกิจอะไร ที่อนาคตจะรุ่ง หรือจะร่วง และค่อนข้างจะใช้ได้แม่นยำดี

อย่างน้อยก็เมื่อซัก 5 ปีก่อน

แต่วันนี้ หลักการนี้เริ่มโดนท้าทาย ด้วยสิ่งที่เรียกว่า globalization และความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีด้าน IT ที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด จนอาจเรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติใหญ่ ที่เกิดขึ้นถัดจาก ยุคการปฏิวัติเขียว และยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม

ความเปลี่ยนแปลงที่ว่านั้น ทำให้การเติบโตทางธุรกิจ ในแต่ละพื้นที่ ไม่ได้อ้างอิงกับปัจจัยรอบตัวในพื้นที่นั้นๆเพียงอย่างเดียวอีกต่อไป
แต่เริ่มมีช่องทาง ในการเข้าถึงปัจจัยระดับ global ในทางตรงได้มากขึ้น และไร้พรมแดน

ซึ่งนั้นทำให้หลักการที่เราว่าไปข้างต้นนั้น โดนสั่นคลอน เพราะหลักการนั้นจะเป็นจริงเฉพาะเมื่อ การเติบโตทางธุรกิจ ขึ้นกับปัจจัยแวดล้อมในพื้นที่ๆมันอยู่ (economic system ของท้องถิ่นนั้น) เป็นส่วนใหญ่

สิ่งที่มาทำให้ digital TV เริ่มใกล้เป็นธุรกิจตะวันตกดินคือ สื่อออนไลน์อย่าง Youtube (และ facebook ก็พยายามจะแย่งตลาด Youtube เพิ่มอีกซะด้วย, ไม่นับรายเล็กรายน้อยอื่นอีกมากมาย พวก online streaming ความบันเทิงที่ส่งถึงบ้านหรือมือถือเพียงแค่มี Internet)

สิ่งที่กำลังมาแทนที่ digital TV พวกนั้น ล้วนมีข้อได้เปรียบเดียวกันคือ ความไร้พรมแดน
แปลว่า ถึงเราอยู่ในประเทศไทย เราก็ใช้งานเทคโนโลยีระดับเดียวกันกับคนอีกซีกโลก ในประเทศพัฒนาแล้วต่างๆ
ความคิดที่ว่าเราต้องใช้ของที่ล้าสมัยจากประเทศเหล่านั้นแล้วเสมอ ไม่เป็นจริงอีกต่อไป (และไม่เป็นจริงมานานพอควรแล้ว ในวงการ IT เพราะเราก็ใช้ PC หรือ smartphone รุ่นเดียวกับที่ขายใน ตปท. มานานแล้ว ขาดแค่ infrastructure อย่าง Internet ความเร็วสูง แต่ตอนนี้มันพร้อมแล้ว)

ดังนั้นในการวิเคราะห์ ประเมินธุรกิจ เวลาจะหาหุ้นเพื่อลงทุน คงต้องระลึกถึงเรื่องนี้ไว้ด้วยเสมอ คงทำตามตำรา VI เก่าๆ เพียงอย่างเดียวไม่ได้แล้ว