วันพฤหัสบดีที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2560

เริ่มต้นวางแผนการเงินและการลงทุนยังไงดี สำหรับมือใหม่มากกก

เผอิญมีเพื่อนถามมา ว่าอยากลงทุนบ้างต้องทำไง ก็เลยตอบไป เลยสรุปมาเขียน blog ด้วยเลยละกัน

หลายๆคน เมื่อทำงานใช้ชีวิตไปซักพัก อาจจะมีสิ่งกระตุ้นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม เข้ามาในชีวิต ให้นึกได้ว่า จะทำงานหาเงินไปเรื่อย และใช้เงินไปเรื่อยๆ เดือนต่อเดือน โดยไม่มีแบบแผน คงไม่ได้แล้ว อาจจะนึกได้ว่า
- ถ้าอยู่ๆตกงานขึ้นมาจะทำยังไง
- ถ้าแก่จนทำงานหาเงินแบบเดิมไม่ได้แล้ว จะเอาเงินที่ไหนมาดูแลชีวิตที่เหลืออยู่
- เจ็บป่วยทำงานไม่ได้ขึ้นมาจะทำยังไง
- พ่อแม่ จะดูแลท่านยังไง
- ไม่อยากทำงานงกๆจนตายโดยไม่ได้ออกไปใช้ชีวิตแบบที่อยาก (เช่น ไปท่องโลก, ทำธุรกิจส่วนตัว, ทำงานในฝัน)
- ฯลฯ

เราก็จะเริ่มมีความคิดว่า ไม่ได้ละ ต้องเตรียมตัวให้พร้อมรับมือกับโจทย์พวกนั้น
ความคิดง่ายๆคือ "ถ้าเรารวย มีเงินมาก" ก็จะรับมือปัญหาพวกนั้นได้เกือบทั้งหมด (อย่างน้อยก็ดีกว่าต้องรับมือแบบไม่มีเงินแน่นอน และดีกว่ามากๆด้วย)

ถ้าเรากล้าตั้งเป้าว่า "ชั้นจะต้องรวยให้ได้" แล้วละก็
คำถามต่อไปคือ แล้วทำยังไงถึงจะรวยหล่ะ ?

จริงๆหนังสือเรื่องการสร้างเนื้อสร้างตัว เสริมความรู้ทางการเงิน หรือสอนเรื่องวางแผนการเงิน ในท้องตลาด มีเยอะ ยิ่งกว่านั้น เดี๋ยวนี้ก็มี facebook page หรือ blog ที่เขียนไว้เกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ทั่วไป search เจอในเน็ตได้เต็มไปหมด

แต่บางทีมันก็ ... เยอะเกินไป จนจับต้นชนปลายไม่ได้ ว่าจะเริ่มยังไงดี !!

ถ้าจะให้เข้าถึงปรัชญาเรื่องนี้อย่างถึงหัวจิตหัวใจไม่มีวันลืม ก็สามารถลองไล่เรียงออกมาจาก "เป้าหมายชีวิต" ของเราก็ได้ เชื่อว่าทุกเป้าหมายมันต้องมี condition เรื่องเกี่ยวกับเงินอยู่แน่ๆ ว่ามีความจำเป็นทางการเงินยังไงถึงจะรองรับหรือไปถึงเป้าหมายพวกนั้นได้

ยังไงก็ดี ผมคงไม่พูดถึงวิธีตั้งเป้าหมายชีวิตในนี้ เดี๋ยวยาวไป lol กูรู (ทั้งจริงและไม่จริง) เรื่องนี้มีเยอะแยะ
ถ้าให้นึกชื่อ ผมนึกถึงคุณ บัณฑิต อึ้งรังสี (หลายคนอาจจะหมั่นไส้พี่แก แต่ถ้าแยกเรื่องความหมั่นไส้ส่วนตัว ออกจากเนื้อหาที่เขาสอนได้ เนื้อหาเขามีประโยชน์มากนะ) เป็นอันที่ย่อยง่ายสุดละ
อีกคนที่ผมรู้จักส่วนตัวคือพี่ รุตม์ (เจ้าของเพจ Anontawong's Musings : https://web.facebook.com/anontawongblog/ ) ที่ผมเคยทำกิจกรรมด้วยตอนทำงานบริษัทเดียวกัน ก็สรุปได้เข้าใจง่ายเช่นเดียวกัน

งั้นข้ามเรื่องวิธีตั้งเป้าหมายชีวิตไป สมมุติว่าเรามีอยู่แล้วเรียบร้อยละกัน
พอมีเป้าหมายแล้ว รู้แล้วว่าตัวเองมีความต้องการทางการเงินแบบไหน

แล้วไงต่อ?

ก็คงต้องทำยังไงก็ได้ให้ระบบการเงินเรามันเป็นไปตามเป้าหมายนั้น ซึ่งจริงๆมันจะต่างกันแค่รายละเอียดปลีกย่อย แต่ภาพใหญ่จะเหมือนกันคือ
"อิสระภาพทางการเงิน"

เดี๋ยวก่อนผมไม่ได้มาขายตรงหาดาวไลน์ ^^! (เคยเจอเพื่อนหลอกเข้าไปผมก็ไม่ชอบเหมือนกัน)
อันที่จริงคำนี้มันเป็นไฟลท์บังคับ ที่ทุกคนต้องไปให้ถึง อย่างน้อยก็ก่อนที่เราจะเข้าวัยเกษียณ ที่เริ่มทำงานหาเงินงกๆไม่ไหวแล้ว
แต่มันก็ดีกว่ามาก ถ้าเราไปถึงมันให้ได้ก่อนเกษียณ ก็ขึ้นกับเป้าหมายของแต่ละคนแหละนะ

อิสระภาพทางการเงินของแต่ละคน อาจจะต่างกันในเรื่อง
- วิธีการ และ
- ขนาด
แต่นิยามที่ตรงกันคือ "ภาวะที่ไม่ต้องกังวลเรื่องที่ว่าจะมีงาน(ที่มีเงิน) ให้ทำประจำหรือไม่อีกต่อไป เพราะว่า รายจ่ายประจำของเรา น้อยกว่ารายรับแบบ passive ที่เราสร้างได้จากระบบทางการเงินที่วางไว้"

คุญบอย วิสูตร แสงอรุณเลิศ , นักเขียนชื่อดัง สรุปเอาไว้ง่ายๆ และผมก็เห็นด้วย ไว้ตามนี้คือ
- หาเงินเก่ง << ทำงานแลกเงินครับ เป็น active income
- เก็บเงินอยู่ << ใช้จ่ายมีเหตุมีผล และเท่าที่จำเป็นจริงๆ จะทำให้รายจ่ายเราไม่เกินรายรับ ที่เราจะหาได้
- รู้ช่องลงทุน << ไอ้นี่ทำให้มี passive income

ตามหลักของคิโยซากิ (คนเขียนหนังสือพ่อรวยสอนลูก) ก็ได้ เรื่อง เงิน 4 ด้าน
ซึ่งสรุปว่า ช่องทางหาเงินคนเรามี 4 ประเภทใหญ่ๆ แต่ด้านที่ให้ passive income ได้ มีแค่การลงทุน (I) หรือทำธุรกิจ (B) เท่านั้น และนั่นเป็นสิ่งที่เราต้องหมั่นสะสมให้มากขึ้นจนไปถึงอิสระภาพทางการเงินได้ในที่สุด

กลับไปที่เรื่อง อิสระภาพทางการเงิน ว่าด้วยเรื่อง วิธีการ และ ขนาด
เรื่อง "วิธีการ" นี่ ผมจะอธิบายแค่เรื่องการบริหารเงินและลงทุนแบบภาพกว้างในก่อนละกัน
ส่วนเรื่อง "ขนาด" นอกจากจะโดนกำหนดจากเป้าหมายชีวิตที่คุณตั้งเอาไว้แล้ว คุณจะได้จากการวิเคราะห์ งบการเงิน หรือ บัญชีรายรับรายจ่ายของตัวเอง
ที่ทำมานานมากพอ (ซัก 6 เดือน) เพื่อหาคำตอบว่า
- รายจ่ายแต่ละเดือนเรา มีรายจ่ายประจำจริงๆเท่าไหร่
- รายรับมีเท่าไหร่
- รายจ่ายที่ไม่ประจำมีเท่าไหร่
- อะไรจำเป็น อะไรไม่จำเป็น
- ฯลฯ
ซึ่งตัวเลขพวกนี้จะช่วยในการวางแผนได้ต่อไป (ตั้งนั้น บัญชีรายรับรายจ่าย เป็นสิ่งขาดไม่ได้นะ)

ซึ่งนั่นจะตอบคำตามเรื่อง "ขนาด" ของอิสระภาพทางการเงินเราได้ ว่าต้องมี passive income ระดับไหนถึงจะจัดว่าเริ่มมี อิสระภาพทางการเงินในเบื้องต้นแล้ว

กลับมาเรื่องวิธีการบริหารเงินและการลงทุนส่วนบุคคลกัน
เราจะข้ามเรื่องวิธีทำบัญชีรายรับรายจ่าย และงบดุล ส่วนบุคคลไป เพราะน่าจะรู้กันแล้ว (ไม่งั้นมันจะยาวไปกะบทความนี้)

สำหรับคนๆนึง อาจจะลอง จำแนกเงินที่มีี ออกได้เป็นส่วนต่างๆได้ตามต่อไปนี้ (แบ่งตามวัตถุประสงค์การใช้เงิน)

1. ใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
2. ใช้จ่ายเฉพาะกิจ (แบ่งเป็นกองงบประมาณด้านต่างๆ)
- - เพื่อการให้
- - เพื่อเล่น
- - self improvement
- - ซื้อของใหญ่ของแพง (ที่จำเป็น เป็นครั้งๆ เช่น คอม, มือถือ, รถ, บ้านฯลฯ )
- - งบฉุกเฉิน (ค่ารักษาพยาบาล หรือสำรองใช้ยามว่างงาน 6 เดือน)
3. ออม/ลงทุน
- - active investment (พวกเราซื้อขายในตลาดเองได้โดยตรง เช่น หุ้น)
- - - เงินสด
- - - สินทรัพย์ต่างๆ (หุ้นที่มีในพอร์ต)
- - passive investment (พวกกองทุนรวม)
- - - เงินสด
- - - สินทรัพย์ต่างๆ (กองทุนที่มีในพอร์ต)

คุณอาจจะเคยเห็น นักวางแผนการเงินในทีวี มักจะให้สัดส่วนคร่าวๆมาว่า ควรมีเงินเท่าไหร่ ลงทุนหุ้นเท่าไหร่ ตราสารหนี้เท่าไหร่ ฯลฯ อันนั้นก็เป็นเรื่องเดียวกับที่ผมว่าไปแต่รายละเอียดน้อยกว่า และเป็นแบบสูตรสำเร็จรูป

แต่ผมอยากบอกว่า

สัดส่วนที่เหมาะสมแต่ละส่วน สำหรับแต่ละคน อาจจะไม่ต้องเป็นตามนั้นเป๊ะๆ
วิธีคิดคือ เราจะกันส่วนเพื่อการใช้จ่ายเป็น priority แรก แล้วดูว่าส่วนที่เหลือมีเท่าไหร่ ค่อยมาแบ่งสัดส่วนพอร์ตลงทุนอื่นๆตามลำดับ (ที่ผมแจกแจงไปนั่นแหละ)
โดยอ้างอิงจากผลการวิเคราะห์ บัญชีรายรับรายจ่ายย้อนหลัง 6 เดือนของเรา ที่ว่าไปก่อนหน้านี้ มาช่วยกำหนดสัดส่วนที่เหมาะสม

NOTE1: ว่าด้วยเรื่อง รายจ่ายเฉพาะกิจ หรือกองงบประมาณ ไม่ได้จำเป็นว่าต้องจัดให้มีงบเพียงพอตั้งแต่เริ่มต้น แต่ผมใช้วิธีค่อยๆออมเข้าไปในแต่ละกอง เช่น สมมุติเงินเดือนได้มา 3 หมื่น อาจจะแบ่ง 4% แบ่งออมลงไปในแต่ละกอง (5 กอง รวมกันก็ 20% เป็นต้น)

NOTE2 : รายจ่ายที่แบ่งไปลงทุน ให้คำนวณว่าเหลือเวลาอีกกี่ปีที่เรายังทำงานได้อยู่ก่อนเกษียณ แล้วหลังเกษียณเราต้องใช้จ่ายเงินแต่ละเดือนเท่าไหร่ (อย่าลืมคิดเงินเฟ้อด้วย) สัดส่วนที่เราแบ่งไปลงทุน ต้องมากพอจะทำให้เกิด passive income ที่จะใช้ชีวิตหลังเกษียณได้เป็นอย่างน้อย (แต่อยากเร็วกว่านั้นก็ได้ ก็ลองวางแผนดู)

NOTE3 : แต่ถ้าแบ่งออกมาแล้วพบว่า ไม่สามารถเตรียมเงินไว้ได้พอใช้ สำหรับรายจ่าย (ทั้งแบบประจำ และแบบเฉพาะกิจ) ก็ต้องหาทางพัฒนาตัวเองในทางด้านอาชีพการเงิน เพื่อจะได้มีรายได้ที่สูงขึ้นเพียงพอ หรือตัดลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็นจริงๆให้น้อยลงให้มากที่สุด เพื่อให้ได้ตัวเลขที่ดูสมเหตุสมผล เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของเราได้นะ
;
;
ทีนี้มาดูเฉพาะส่วนของการลงทุนกัน

สำหรับผม สัดส่วนระหว่างพอร์ต passive กับ active ผมจะไม่เอามาคิดรวมกัน (แต่ตอนเริ่มออกตัวจะแบ่งให้มีขนาดเท่าๆกัน) เพื่อทดลองดูว่าพอร์ตไหนผลตอบแทนดีกว่าภายใต้ฝีมือเรา


พอร์ตการลงทุนแบบ active ผมก็ค่อนข้าง free style
คือถ้าวิเคราะห์เจอหุ้นดีๆ (เราเป็นพวกสไตล์ VI) ก็ซื้อไปแบบกะคร่าวๆ ว่าควรมีหุ้นในพอร์ตกระจายความเสี่ยงกันหน่อยซัก 4-5 ตัว ไม่ควรถือตัวไหนตัวเดียวเยอะเกินไป

พอร์ตแบบ passive ผม จริงๆแนะนำให้ลงแบบ DCA ทะยอยลงไปแต่ละเดือนเท่าๆกัน จะปลอดภัยกว่า
แต่ตอนนี้ผมไม่มีเงินเดือน ผมก็เลยปรับพอร์ตแบบง่ายๆไปเลยคือ แบ่งลงกองทุนรวมหุ้น ตปท. ที่เราคิดว่าเศรษฐกิจมั่นคงพอและ p/e ปานกลางถึงต่ำ ประเทศละเท่าๆกันไป ซัก 3 ประเทศ (ไทย, เมกา, จีน) และลงตราสารหนี้นิดหน่อย และเหลือเงินสดไว้เป้นสภาพคล่องนิดนึง
แล้วผมก็คิดว่าจะทำ portfolio rebalancing ทุก 6 เดือน สำหรับพอร์ตแบบ passive อันนี้
บันทึกเวลาลงปฏิทินไปเลย ให้มันเตือนเมื่อถึงเวลา ตอนนี้ก็ลืมๆมันไปเลย lol

จริงๆถ้าไม่ค่อยมีเวลามาก บางคนก็ทำแต่พอร์ต passive อย่างเดียวเลยก็มี
ผมเองก็ ลองนู่นลองนี่เยอะไปหน่อย ภาระการทำบัญชีเลยหนักมาก lol นี่ดองไว้เยอะอยู่ ขนาดว่าใช้ความสามารถใน MS-excel ช่วยเบาแรงแล้ว

ก็เดี๋ยวผลเป็นไงจะมาเล่าอีกทีละกันครับ
แต่อ่านมาถึงตรงนี้ น่าจะพอได้ไอเดีย วิธีคิด กลับไปประยุกต์กับโจทย์ชีวิตของตัวเองได้บ้างแล้วนะ :)

======== ภาคผนวก ===========
ข้อมูลแต่ละกองทุน เดี๋ยวนี้ดูเว็บ wealthmagik ง่ายดี
ซึ่งมีแต่พวก fact เราต้องมาคิดวิเคราะห์ต่อเอง

สำหรับการลงทุน กองทุนรวม ผมมีหลักง่ายๆให้คือ
- เหมาะกับการลงทุนสไตล์ passive เท่านั้น (DCA ไปรายเดือน) ไม่เหมาะกับการเทรดเพราะตอบสนองคำสั่งเราช้าไป
- เลือกกองทุนพวกกองทุนดัชนี จะดีกว่ากองทุน active (ซึ่งค่าทำเนียมแพงและผลตอบแทนไม่ดีเท่ากองทุนดัชนี)

นอกนั้นคือเลือกประเภทสินทรัพย์ที่กองทุนนั้นๆไปลงทุนให้ถูก จัดสัดส่วนให้ดี แล้วมาทำ portfolio rebalancing ทุก 6 เดือน

บางคนอยากเล่นหุ้นกู้ อันนี้ผมไม่รู้เรื่องเลย lol
ดังนั้นผมเอง หุ้นกู้ ก็เล่นผ่านกองทุนรวม ประเภทตราสารหนี้เอา
หุ้นกู้ กับ พันธบัตรรัฐบาล ล้วนแต่เป็น ตราสารหนี้ทั้งคู่

อ่อ กองทุนรวมประเภทหุ้น และเป็นกองทุนดัชนี ก่อนลงทุนให้สำรวจค่า p/e ตลาดหุ้นนั้นๆที่มันไปลงทุนด้วย ว่าไม่ควรแพงเกินไป (ดูเทียบกับประเทศอื่นๆ ก็ได้) และเป็นตลาดหุ้นประเทศที่เศรษฐกิจมั่นคงดีหน่อยนะ
วิธีหาข้อมูล ก็ลอง google คำว่า "global pe ratio" อาจจะมีบางเว็บทุกสรุปไว้ (แต่ข้อมูลมันจะอัพเดทช้าหน่อยคืออาจจะปีนึงอัพ 2 ครั้ง สรุปภาพใหญ่ๆ)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น