วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ประเด็นเรื่อง กรีซ จะชักดาบ หรือออกจาก EU เห็นเขาว่าเป็นเรื่องใหญ่ (?)

พักนี้ข่าวเศรษฐกิจที่ออกบ่อยๆ ก็เห็นจะเป็นเรื่อง กรีซ ซึ่งมีหนี้สินมหาศาล และทำท่าจะกำลังจะผิดนัดชำระหนี้ IMF จำนวน 1,600 ล้านยูโร... ซึ่งนี่แค่งวดเดียว แต่จริงๆ กรีซ หนี้ท่วมกว่านั้น คือเป็นหนี้หลัก 3 แสนล้านยูโร จากเจ้าหนี้หลายราย (จำได้ลางๆว่าตัวหลักๆมี ECB กะ EU)

แล้วตอนนี้ก็เล่นเสี่ยงทายกับผลประชามติ ของวันที่ 5 ก.ค. นี้อยู่ ว่าประชาชน กรีซ จะยอมรับเงื่อนไขรัดเข็มขัดของเหล่าเจ้าหนี้หรือไม่

สำหรับผม คำถามนี้ตอบได้ง่ายมาก ด้วยคำว่า "ไม่รู้" :P

ข่าวนี้อาจจะมีประเด็นสำคัญต่อตลาดหุ้นอยู่บ้าง แต่นั่นคือสำหรับนักเก็งกำไร ที่ต้องเฝ้าระวังเรื่อง fund flow ซึ่งจะทำให้ดัชนีโดยรวมของตลาด พุ่งขึ้น หรือ ดิ่งลง ได้

แต่สำหรับนักลงทุนแนว VI นั้น เรื่อง กรีซ อาจจะไม่ใช่ประเด็นสำคัญอะไร ถ้าบริษัทที่คุณถือหุ้นอยู่ ไม่ได้มี กรีซ หรือ EU เป็น ลูกค้า หรือ supplier ที่เกี่ยวข้องกัน

อันที่จริง ต่อให้ธุรกิจที่เราถือ มีความเกี่ยวข้องกับ EU อยู่บ้าง แต่ผมก็ไม่คิดว่า EU จะได้รับผลกระทบมากนัก

ถ้ามองว่า กรีซ เป็นเนื้อร้าย หรือคนประเภท มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ ที่ฝังตัวอยู่กับ EU มานาน
การที่วันนึง EU ตัดส่วนแย่ๆนี้ออกไปได้ มันอาจจะเจ็บบ้างในระยะสั้นๆ (งบดุล ช่องทรัพสิน ลูกหนี้รายใหญ่กลายเป็นหนี้สูญไปซะงั้นนี่นา) แต่ในระยะยาวๆ น่าจะไปได้ไกลและคล่องตัวยิ่งกว่าตอนที่ต้องหิ้วปีก กรีซ ไปไหนมาไหนด้วย

สมมุติน่ะครับ ... ถ้าสุดท้าย กรีซ ออกไปจาก EU จริงๆ ใครที่กังวลว่า จะมีชาติอื่นๆเลียนแบบกรีซ มันก็ขึ้นกับว่า ชะตากรรมของกรีซ หลังจากออกไปจาก EU นั้น เป็นอย่างไร
ถ้าเป็นไปในทางดีขึ้น ชาติอื่นๆที่เป็นหนี้ท่วมเหมือนกันอย่าง สเปน, อิตาลี่ ก็อาจจะเลียนแบบก็ได้
แต่ดูท่าทางแล้ว แค่ตอนนี้ที่ยังไม่ได้ออกจาก EU จริงๆ บ้านเมืองกรีซ ยังอลหม่านราวกับกำลังจะเกิดสงครามโลกก็ไม่ปาน ภาพข่าวที่ออกมาน่าสังเวชมาก
และดูๆแล้ว การเสียสิทธิประโยชน์ในฐานะสมาชิก EU ไป น่าจะส่งผลร้ายกับ กรีซ มากกว่าจะเป็นผลดี
ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น ก็คงไม่มีใครอยากเลียนแบบหรอกครับ

แต่สุดท้ายจะฟันธงว่ามันจะออกไปทางไหน ก็คงต้องตอบคำเดิมคือ "ไม่รู้" หรอกครับ และก็คงไม่มีใครรู้อนาคตแบบนั้น
และการพยายามเดา ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งด้วยสำหรับการลงทุน

แต่สิ่งที่ควรทำคือ ให้เราคิดกรณี worst case เอาไว้ (ซึ่งอาจจะมีหลายๆแบบก็ได้) และประเมินดูว่ามันกระทบ ธุรกิจที่เราถือหุ้นอยู่ มากน้อยแค่ไหน
ถ้ามันไม่ได้กระทบยอดขายหรือต้นทุนของบริษัทเรา ก็ไม่มีอะไรต้องกังวล
ต่อให้ fund flow จะส่งผลให้หุ้นลงทั้งตลาดและหุ้นของเราโดนลูกหลงไปด้วย แค่นั่นก็เป็นปัจจัยชั่วคราว

บัฟเฟต เองก็เคยบอกว่า ถ้าทนเห็นหุ้นในพอร์ตตัวเอง ขาดทุนถึง 50% ไม่ได้ ก็ไม่ควรอยู่ในตลาดหุ้น

คุณ โจ-ลูกอีสาน บอกไว้ว่า การขายหุ้นออกไป ในขณะเกิดวิกฤต เป็นการละเมิดศีลที่ร้ายแรงของ VI

การเป็น VI ไม่ได้หมายความว่า ต้องให้หุ้นทุกตัว ขึ้นสีเขียวอยู่เสมอ (อันนี้เป็นกับดักที่มือใหม่ซึ่งตบะไม่แก่กล้าพอ จะรู้สึกหวั่นไหวได้ง่าย) เราแค่ต้องทำให้มั่นใจว่า เมื่อประเมินมูลค่าตามหลักการและเหตุผลที่ถูกต้องแล้ว ต้นทุนในการซื้อหุ้นของเรา ต่ำกว่ามูลค่าเหมาะสมที่ประเมินได้ อย่างมี Margin Of Safty เพียงพอหรือไม่ ( 30% โดยปกติ, แต่ถ้า เบรนด์เขาดี ก็แค่ 20% พอ)

  • ถ้าใช่ ก็คือถือหุ้นไว้ หรือซื้อหุ้นเพิ่ม ถ้า SET จะลงจนหุ้นเราแดง มันจะแดงก็แดงไป เป็นแค่เรื่องชั่วคราว (อาจจะต้องใช้ศรัทธาประกอบเพื่อให้ทนผ่านช่วงเวลาแดงๆแบบนั้นไปได้น่ะ) 
  • ถ้าไม่ใช่ ก็ขายออกไป อย่าเก็บไว้ให้เสี่ยงพอร์ต
(อย่างไรก็ตาม มี VI บางคน ใช้หลักการทาง technical เข้ามาจับจังหวะซื้อขายด้วย เป็นการ optimize ให้ผลลัพธ์ดีขึ้น ก็แล้วแต่คนถนัดครับ เรื่องนี้ยังบางคนก็เห็นด้วยบ้างก็ไม่เห็นด้วย)

ส่งท้ายก็เช่นเคย ที่เขียนไปทั้งหมดนั้นเป็นเพียง ข้อคิดเห็น ของผม ไม่ใช่การชี้นำหรือฟันธงอะไร
การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน เงินของท่าน ท่านรับผิดชอบของท่านเองน่ะครับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น