พักนี้ตลาดหุ้นไทย ก็ยังค่อยๆเตี้ยลง เตี้ยลง
เผอิญผมนึกขึ้นได้ว่าเมื่อก่อนเคยตอบกระทู้นึงเอาไว้
เรื่องการติดดอย คิดว่าเข้ากับเหตุการณ์พักนี้ดี เลยรีบเอามาลงก่อน เพราะเผื่อบางคนจำเป็นต้องใช้
(จริงๆตอนนี้เขียนบทความอื่นค้างไว้อยู่แต่ยังไม่ทันเสร็จ)
เรื่องมันมีอยู่ว่า ...
กาลครั้งนึง นานมาแล้วซักพัก ผมไปเจอกระทู้นึงในกลุ่ม
ThaiVI ใน
facebook
เป็นกระทู้เรื่องเข้าซื้อหุ้น IPO
แล้วติดดอย ไม่รู้จะทำยังไงดี
ซึ่งผมคิดว่า
1. สำรวจสถานะของตัวเองให้กระจ่างก่อน - avg.cost ที่ถืออยู่ตอนนี้ เป็นตำแหน่งที่ไปต่อในกลยุทธ์ไหนได้บ้าง (เพราะตอนเข้าซื้อไม่มีกลยุทธ์อะไรเลย) เช่น เป็นตำแหน่ง VI สายปันผลได้หรือไม่, เป็นตำแหน่ง VI สาย C.G.ได้หรือไม่ , หรือเป็น ตำแหน่งเล่นเก็งกำไรได้อย่างเดียว
1.1 ตำแหน่ง VI สายปันผลได้ - (avg.cost เราอยู่ต่ำกว่ามูลค่าเหมาะสมของวิธีสายปันผลนี้) ดูว่าลักษณะธุรกิจผลกำไรสมำเสมอในระยะยาว (ต้องดูผลกำไรย้อนหลังซัก 7 ปีขึ้นไป) ไม่โดนแทนที่ในตลาดหรือเสียความสามารถในการแข่งขันได้ง่ายๆ อัตราปันผลเป็นที่น่าพอใจอยู่แล้ว (5% ขึ้นก็พอได้สำหรับยุคนี้, แต่ถ้าได้มากกว่านั้นยิ่งดี) , อันนี้ถือยาวไปไม่ต้องไปกังวลกับราคาในตลาด
1.2 ตำแหน่ง VI สาย C.G.ได้ - (avg.cost เราอยู่ต่ำกว่ามูลค่าเหมาะสมของวิธีสาย C.G. นี้) ประเมินจาก EPS, P/BV หรือ ROE โดยไม่สนปันผลที่จะได้รับ (บางบริษัทปันผลได้น้อยหรือไม่ปันผลเลยก็ได้ถ้าเขาเอาไปลงทุนต่อได้ดี ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง) ถ้าพื้นฐานมันยังดีอยู่ (สม่ำเสมอในระยะยาว, ไม่โดนแทนที่หรือเสียความสามารถในการแข่งขันได้ง่าย) ก็รอจนราคากลับไปที่มูลค่าเหมาะสมแล้วขายไปตามวิถีของคนเล่นเอา C.G. โดยยังไม่ต้องกังวลราคาตลาดตอนนี้
ซึ่งผมคิดว่า
1. สำรวจสถานะของตัวเองให้กระจ่างก่อน - avg.cost ที่ถืออยู่ตอนนี้ เป็นตำแหน่งที่ไปต่อในกลยุทธ์ไหนได้บ้าง (เพราะตอนเข้าซื้อไม่มีกลยุทธ์อะไรเลย) เช่น เป็นตำแหน่ง VI สายปันผลได้หรือไม่, เป็นตำแหน่ง VI สาย C.G.ได้หรือไม่ , หรือเป็น ตำแหน่งเล่นเก็งกำไรได้อย่างเดียว
1.1 ตำแหน่ง VI สายปันผลได้ - (avg.cost เราอยู่ต่ำกว่ามูลค่าเหมาะสมของวิธีสายปันผลนี้) ดูว่าลักษณะธุรกิจผลกำไรสมำเสมอในระยะยาว (ต้องดูผลกำไรย้อนหลังซัก 7 ปีขึ้นไป) ไม่โดนแทนที่ในตลาดหรือเสียความสามารถในการแข่งขันได้ง่ายๆ อัตราปันผลเป็นที่น่าพอใจอยู่แล้ว (5% ขึ้นก็พอได้สำหรับยุคนี้, แต่ถ้าได้มากกว่านั้นยิ่งดี) , อันนี้ถือยาวไปไม่ต้องไปกังวลกับราคาในตลาด
1.2 ตำแหน่ง VI สาย C.G.ได้ - (avg.cost เราอยู่ต่ำกว่ามูลค่าเหมาะสมของวิธีสาย C.G. นี้) ประเมินจาก EPS, P/BV หรือ ROE โดยไม่สนปันผลที่จะได้รับ (บางบริษัทปันผลได้น้อยหรือไม่ปันผลเลยก็ได้ถ้าเขาเอาไปลงทุนต่อได้ดี ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง) ถ้าพื้นฐานมันยังดีอยู่ (สม่ำเสมอในระยะยาว, ไม่โดนแทนที่หรือเสียความสามารถในการแข่งขันได้ง่าย) ก็รอจนราคากลับไปที่มูลค่าเหมาะสมแล้วขายไปตามวิถีของคนเล่นเอา C.G. โดยยังไม่ต้องกังวลราคาตลาดตอนนี้
1.3 ตำแหน่งเล่นเก็งกำไรได้อย่างเดียว - คือ avg.cost ของเราอยู่สูงกว่ามูลค่าเหมาะสมแบบ VI ไม่ว่าจะประเมินวิธีไหน - ไม่ค่อยกล้าแนะนำเลยครับ คงต้องเล่นแนวเทคนิคฯ อย่างเดียว แต่ถ้ายังขาดทุนไม่ถึง 5% แล้วยังไม่มีสัญญานเทคนิคในลักษณะกลับตัว เป็นผมคงขายออกมาตั้งหลัก ที่เสียไปถือว่าเป็นค่าครู คราวหลังศึกษาเพิ่มดีๆก่อนเข้าไปเล่นใหม่, แต่ถ้าเกิน 5% ไปแล้วและยังไม่มีสัญญานกลับตัว กูรูสายนี้บางคนก็ถือคติไม่ขายไม่ขาดทุน ให้ทำใจ (แต่บางทีผมก็คิดว่า ถ้ามันไม่มีสัญญานกลับตัวใดๆเลย แปลว่ายังไม่เห็นก้นเหว แนวโน้มคือลงได้อีก และไม่รู้จะลงไปลึกได้อีกแค่ไหน ชิ่งออกมาก่อนอาจจะดีกว่าเงินจมก็ได้), แต่ถ้าเริ่มเห็นสัญญานกลับตัวบ้าง รอมันรีบาวน์แล้วชิ่งออกมาก็ได้ครับ
ซึ่งทั้ง 2 แบบแรกนั้น ต้องเช๊คให้แน่ใจด้วยน่ะครับ
ว่าที่ราคาลงมาเนี่ย มันลงมาตามตลาดโดยรวมเฉยๆ ไม่ใช่การลงมาเพราะปัจจัยพื้นฐานของตัวบริษัทเองที่เปลี่ยนไปในทางแย่
ซึ่งถ้าเป็นกรณีหลัง โดยหลักการควรต้องถอนตัวออกจากหุ้นตัวนั้นทันทีครับ (อ้างอิงบทความ
“จะขายหุ้นเมื่อไหร่”: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/494384
)
กรณีถ้าเป็นหุ้น IPO มักจะไม่ค่อยมีงบย้อนหลังให้ดูยาวๆ การประเมินมูลค่าเหมาะสมนั้นทำได้ยากและคลาดเคลื่อนได้ง่าย เพราะออกแนวเหมือนคาดเดาอนาคตไปหน่อย - -a
ถ้าจะให้ประเมินจากงบปีล่า สุดปีเดียว คงคิดเอาง่ายๆบนสมมุติฐานว่าบริษัทไม่มีการเติบโต เช่น ถ้าใช้วิธีคิดจาก EPS แล้วอยากได้ราคาที่ P/E เท่ากับ 10 ก็เอา
10 = P/E
ใส่ค่า EPS ลงไปตรง E ครับ แล้วแก้สมการหาค่า P ไปเลย เช่นสมมุติ EPS เป็น 0.5
10 = P/0.5
10*0.5 = P
P = 5
ซึ่ง ค่า P/E ที่เหมาะสมก็มีหลายแนวอีก เกรแฮมฯ บอกเหมาะสมคือ 8.5 ส่วน ปีเตอร์ ลินซ์ บอกว่า 10 ก็เล่นได้แล้ว อันนี้แล้วแต่คนแล้วครับว่าชอบต้นแบบนักลงทุนคนไหน
กรณีถ้าเป็นหุ้น IPO มักจะไม่ค่อยมีงบย้อนหลังให้ดูยาวๆ การประเมินมูลค่าเหมาะสมนั้นทำได้ยากและคลาดเคลื่อนได้ง่าย เพราะออกแนวเหมือนคาดเดาอนาคตไปหน่อย - -a
ถ้าจะให้ประเมินจากงบปีล่า สุดปีเดียว คงคิดเอาง่ายๆบนสมมุติฐานว่าบริษัทไม่มีการเติบโต เช่น ถ้าใช้วิธีคิดจาก EPS แล้วอยากได้ราคาที่ P/E เท่ากับ 10 ก็เอา
10 = P/E
ใส่ค่า EPS ลงไปตรง E ครับ แล้วแก้สมการหาค่า P ไปเลย เช่นสมมุติ EPS เป็น 0.5
10 = P/0.5
10*0.5 = P
P = 5
ซึ่ง ค่า P/E ที่เหมาะสมก็มีหลายแนวอีก เกรแฮมฯ บอกเหมาะสมคือ 8.5 ส่วน ปีเตอร์ ลินซ์ บอกว่า 10 ก็เล่นได้แล้ว อันนี้แล้วแต่คนแล้วครับว่าชอบต้นแบบนักลงทุนคนไหน
แต่ในความเป็นจริง คงไม่มีบริษัทไหนได้กำไรเท่าเดิมทุกปี
ปกติต้องมีการเติบโต ดังนั้นสิ่งที่ในสูตรด้านบนไม่ได้รวมอยู่ด้วยคือเรื่องของ Growth rate (ของผลกำไร) ซึ่งในทางปฏิบัติควรต้องเอามาคิดด้วยครับ
ถ้าเล่นตามแนว ดร.นิเวศน์ฯ ถึงธุรกิจจะดีมากๆจริง ก็ไม่ควรเข้าที่ P/E เกิน 20 ครับ บนสมมุติฐานที่ว่าธุรกิจนั้นดีมากขนาดจะเติบโต 20% ต่อปีอย่างต่อเนื่องไปได้หลายๆปี เพราะว่าในโลกความเป็นจริง บริษัทที่จะโตเกิน 20% ต่อปีได้ต่อเนื่องซัก 5 ปีขึ้นไป นั้นแทบจะไม่มีให้เห็นอยู่ในโลกจริงๆเท่าไหร่ครับ ตลาดมักอิ่มตัวไปก่อน
หรือโดยสรุปย่อๆคือ P/E ควรจะต้อง
น้อยกว่าหรือไม่เกิน Growth
rate ครับ
นอกจากนั้น วิธีประเมินมูลค่าแบบ VI ยังไม่ได้มีวิธีนี้วิธีเดียวด้วย ยังมีอีกหลายวิธี แล้วแต่จะเลือกใช้ให้เหมาะกับหุ้นตัวนั้นๆครับ (ลักษณะธุรกิจต่างกัน ก็เหมาะกับวิธีประเมินมูลค่าต่างกันไปด้วยครับ)
นอกจากนั้น วิธีประเมินมูลค่าแบบ VI ยังไม่ได้มีวิธีนี้วิธีเดียวด้วย ยังมีอีกหลายวิธี แล้วแต่จะเลือกใช้ให้เหมาะกับหุ้นตัวนั้นๆครับ (ลักษณะธุรกิจต่างกัน ก็เหมาะกับวิธีประเมินมูลค่าต่างกันไปด้วยครับ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น