วันพฤหัสบดีที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2561

Gold & the Changing Fundamentals : ฤาทองจะกลายเป็นแค่ประวัติศาสตร์

จากบทความนี้

Gold & the Changing Fundamentals

https://www.armstrongeconomics.com/markets-by-sector/precious-metals/gold/gold-the-changing-fundamentals/

ก็เป็นประเด็นที่น่าคิดเหมือนกัน
จริงๆสมัยผมเพิ่งเรียนจบใหม่ๆ ทำงานอยู่บริษัทแห่งนึงข้างสวนลุม
ตอนนั้นเพิ่งเริ่มสนใจเรื่องการลงทุน
เคยถามพี่ที่ไปกินข้าวด้วยกันว่า ทำไมทองถึงมีค่า เพราะโดยส่วนตัวผมหาเหตุผลอธิบายไม่ได้ ว่าทำไมทองต้องแพง เพราะมันมีประโยชน์แค่เป็นเครื่องประดับ

แต่ก้ได้เหตุผลมากมาย ที่ก็ฟังดูมีเหตุผลเหมือนกัน เช่น
- มันมีค่ามาแต่โบราณ ประวัติศาสตร์ทุกชนชาติยกให้ทองเป็นสิ่งมีค่า คนจึง "เชื่อว่า" มันมีค่า
- มันมีจำนวนน้อยและจำกัด ต้นทุนในการขุดหานั้นสูง
- ในภาคอุตสาหกรรม จำเป็นต้องใช้มันในงานบางอย่าง เช่น การผลิต CPU หรือ chipset
- ทนต่อกาลเวลาได้ดีกว่าโลหะชนิดอื่น จึงเหมาะกับการเป็นสิ่งเก็บมูลค่า (ทองที่เก็บไว้เฉยๆ จะไม่สึกกร่อนตามธรรมชาติแม้จะผ่านไปเป็นพันปี ต่างจากโลหะอื่นที่กร่อนกันไปหมดง่ายๆ มีสารเคมีเพียงไม่กี่ชนิดที่ทำลายทองได้ เช่น น้ำประสานทอง)


โดยส่วนตัว ยังมองว่า ทองก็คือทองต่อไป มูลค่ามันก็คงอยู่ไปอย่างงั้นเรื่อยๆ แต่อย่างที่บัฟเฟตว่าไว้ ว่ามันงอกเงยทำประโยชน์อะไรไม่ได้ หุ้นของธุรกิจดีๆ จึงดีกว่ามาก
ผมคิดว่า ทองจะยังมีมูลค่าต่อไป ถ้าสถาบันการเงินยังเชื่อว่ามันมีค่า นั่นเป็น factor ใหญ่สุด และ มันยังมีค่าหากภาคอุตสาหกรรมยังจำเป็นต้องใช้มัน
เพียงแต่มันอาจจะไม่บูมหรือโตไปได้มากกว่านี้ เหมือนกับสมัยก่อนอีกต่อไปแล้ว

ปล. แต่ถ้าเกิดสงครามขนาดที่มนุษย์ต้อง reset อารธรรม กลับไปยุคก่อนมี Internet นี่ ทองกลับมาบูมแน่นอน เพราะพวก Bitcoin ที่เป็นเหมือนทองยุคใหม่ มันไม่สามารถคงอยู่หรือใช้งานได้โดยสินเชิงถ้าขาด Internet
คำถามคือ มีความเสี่ยงแค่ไหนที่จะเกิดเหตุการณ์แบบนั้น ?
ผมว่าก็เยอะอยู่นะ 555

วันอาทิตย์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

การ scam cryptocurrency ที่แฝงมาบน twitter คนดัง

ช่วงนี้ทุกคนคงกำลังติดตามข่าวช่วยเหลือทีมหมูป่า 13 คนที่ติดถ้ำหลวง กันอยู่ และ Elon Musk ก็ได้เข้ามาร่วมวงช่วยเหลือด้วยผ่านบริษัท SpaceX และ Boring company ของเขา

ผมเลยไปตามอ่าน twitter ของ Elon Musk เพื่อติดตามข่าวเรื่องนี้ด้วย

อ่านไปอ่านมา เจอโพสต์ scam ที่คิดว่าควรเอามาเล่าให้ฟัง จะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อ

รูปแรกคือตัวอย่างของโพสต์ที่เป็นมิจฉาชีพ ที่ปลอม account มาให้เหมือน Elon Musk (จุดสังเกตคือ ชื่อ Account จริงๆ ไม่ใช่ @elonmusk  (ดูตามลูกศรสีแดง)


 ถ้าเป็นโพสต์ของ Elon Musk จริงๆ ต้องเป็นแบบนี้ (ดูตามลูกศรสีแดง)

รูปแบบการ scam นี้คืออะไร
Elon ตัวปลอมจะพยายามแสดงว่า เขาแจกเงินให้แฟนๆที่ติดตามเขาเป็นการขอบคุณ โดยให้คลิกไปใน link เว็บซักแห่ง
สมมุติถ้ามีคนหลงเชื่อ แล้วกดเข้าไปใน link ของ Elon ตัวปลอม คุณมักจะเจอเว็บที่บอกว่า เขาแจกเงิน cypto (ในที่นี้คือ Ethereum) สำหรับคนที่โอนเข้าไปตาม address ที่ให้ไว้เท่าไหร่ (แต่ต้องถึงจำนวนขั้นต่ำ ซึ่งตีเป็นเงินจริงก็เยอะอยู่) จะได้รับกลับไป 10 เท่า มีจำนวนจำกัด (เร่งให้เรารีบร้อนและไม่ตรวจสอบให้ละเอียด)
หน้าเว็บมักจะแสดง จำนวนเงินแจกคงเหลือที่ลดลงอย่างรวดเร็ว และ transaction ด้านล่างให้ดูสมจริงว่ามีคนโอนเข้าไปเท่าไหร่ก็ได้กลับออกไปเท่านั้น แถมเว็บยังมี SSL cert ดูน่าเชื่อถืออีกด้วย

แต่ว่า ทั้งหมดนั้นเป็นของปลอมทั้งหมด

ทั้งจำนวนเงินแจกคงเหลือที่ลดลงอย่างรวดเร็ว (แม้จะลดลงจนหมดแล้ว คุณสามารถทำให้มันกลับมาเต็มใหม่ได้ ถ้าคุณเปิดเว็บนั้นผ่านหน้าต่างโหมด anonymous หรือ incognito จาก browser ของคุณ - เหตุผลคือ ตัวเลขพวกนั้นเป็นของปลอม ที่จะแสดงจำนวนเริ่มต้นสำหรับคนที่เปิดเว็บนั้นเป็นครั้งแรก แล้วจะค่อยๆนับจำนวนถอยหลังลง, วิธีที่มันใช้เช๊คว่าใครมาดูเป็นครั้งแรก ปกติใช้การฝัง cookie ในเครื่องปลายทาง, ซึ่งถ้าเราเปิดเว็บมันในโหมด anonymous ซึ่งจะไม่มีการเก็บ cookie หรือ history ค้างเอาไว้ให้มันตรวจสอบได้เลย มันก็จะไม่รู้ว่าเราเคยเปิดเว็บมันมาก่อนแล้ว)

และรายการ transaction ที่เกิดขึ้นบนหน้าเว็บของมัน ก็เป็นของปลอม
วิธีตรวจสอบคือ ถ้าเราเช๊ค transaction ของ address ที่มันให้เราโอนเงินให้มัน จากเว็บที่ตรวจสอบ blockchain ของสกุลเงินนั้นๆ (เช่นกรณี Ethereum คือเว็บ https://etherscan.io/  ) เราจะเห็นเลยว่า transaction ที่เกิดขึ้นจริงๆกับ address นี้ ไม่ตรงกับที่มันแสดงอยู่บนหน้าเว็บ scam ของมันเลย

SSL cert ของเว็บ ... อันนี้คือของจริง (เว็บ scam หลายเว็บเดี๋ยวนี้เน้นใช้ cert จริงกันด้วย) ซึ่งทำให้หลายคนพลาดได้ง่าย
แม้ว่า SSL cert จะออกโดยบริษัทที่ตรวจสอบและออก cert ได้จริง แต่ว่า cert ก็มีหลายประเภท
และ cert ที่เว็บ scam มักใช้กัน มักเป็น cert ที่ "ไม่เปิดเผยว่าใครเป็นเจ้าของ".
ถ้าเป็นเว็บของธนาคารจริงๆ เวลาดูรายละเอียดของ cert จะมีการแจ้งชัดเจนว่า บริษัทที่มาจดทะเบียนขอออก cert นี้ คือใคร ซึ่งสถาบันการเงินใดๆปกกติจะต้องมีตรงนี้เพื่อให้มั่นใจได้ว่าเป็นเว็บของธนาคารจริงๆ ไม่ใช่เว็บ scam ที่พยายามทำหน้าตาเหมือนเว็บธนาคาร

ตัวอย่างวิธีเช๊ค SSL cert (เว็บตัวอย่างคือเว็บ scam )

 สังเกตว่าจะไม่ระบุว่าใครเป็นเจ้าของ


แต่ถ้าเป็นเว็บธนาคารจริงๆ คุณจะได้ข้อมูล SSL cert ที่มีการระบุตัวตนของเจ้าของ cert ไว้ชัดเจน แบบนี้

ไหนลองมาดูเว็บเทรด crypto ที่น่าเชื่อถือที่สุดของไทยเรา bx.in.th  ...
กรรม กันไม่ระบุเจ้าของซะอย่างงั้น (ควรปรับปรุงหน่อยนะครับท่าน);
;
;

สำหรับคนทั่วไปที่ไม่สันทัดเรื่องเชิง technical มากนัก ผมสรุปให้สั้นๆ จำง่ายๆ
ถ้าใครมาเสนอผลตอบแทนที่ดีมากๆให้เรา โดยมีข้อแม้ว่าต้องโอนเงินไปให้เขาในจำนวนนึงก่อน ถึงจะให้กลับมาในจำนวนที่มากกว่าเดิมมากๆ และพยายามเร่งเร้าให้เราด่วนตัดสินใจในเวลาจำกัด
ทั้งหมดนั้นฟันธงได้เลย ว่าเป็นการ ต้มตุ๋น หรือ scam ไม่ว่าจะเป็นในโลกความเป็นจริง หรือใน Internet


วันพฤหัสบดีที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

การเล่นหุ้น เป็นการพนันหรือไม่? และเป็น กุศล หรือ อกุศล

วันนี้เผอิญเห็นบทความของ ตังตฤณ ผ่านตามา เขียนถึงเรื่อง "เล่นหุ้นอย่างไร ไม่ให้ใจเป็นนักพนัน" ( https://web.facebook.com/dungtrin/photos/a.172991172758049.44204.169990773058089/1766483696742114/?type=3 ) แล้วนึกขึ้นได้ว่า กาลครั้งนึงในจักรวาลอันไกลโพ้น ผมก็เคยเขียนบทความลักษณะนี้ไว้มาก่อนบน note ส่วนตัว และตั้งให้เห็นได้เฉพาะ friends (ซึ่งเดิมทีเป็นข้อความที่ผมเขียนโพสต์ตอบใน group ธรรมะ อันนึงที่ผมเป็น admin สมัยที่ยังมีไฟกับเรื่องธรรมะอยู่)

ไหนๆก็ไหนๆ หยิบมารีรันอัพ blog เลยละกัน :D
;
;
;
======== บทความนี้ผมเขียนไว้เมื่อ May 3, 2013 ============

การเล่นหุ้น เป็นการพนันหรือไม่? และเป็น กุศล หรือ อกุศล


ยกมาจาก กระทู้ https://www.facebook.com/groups/185596294785898/permalink/600049053340618/
(ถ้าไม่ใช่สมาชิก group อาจจะอ่านไม่ได้ครับ)
======
สำหรับความเห็นของผมเองนั้น
ขึ้นอยู่กับคนเล่นว่าเล่นยังไง โดยปกติพวก VI จะไกลจากอาการของการพนันมากกว่า technical
เพราะใช้การวิเคราะห์ตัวธุรกิจ และคำนวณราคาหุ้นที่เหมาะสมเพื่อตัดสินใจว่าควรซื้อหรือไม่ซื้อ ควรซื้อที่ราคาไหน และบริษัทนี้จะประสบความสำเร็จอย่างคุ้มค่าที่ลงทุนไปรึเปล่า


แต่ แบบ technical เอง ก็มีทั้งที่ใกล้เคียงการพนัน และมีแบบไม่ใช่ด้วย
การพนันคือ เล่นกับความเสี่ยงและดวงล้วนๆ โดยไม่รู้เหนือใต้อะไรเลย


แต่นัก technical ที่เข้าใจหลักการเป็นอย่างดี จะรู้ว่าตัวเองกำลังเล่นอยู่กับเครื่องมือจับทิศทางอารมณ์ของนักซื้อขายคนอื่นๆในตลาดโดยใช้หลักการทางสถิติ รวมถึงอาศัยผลสะท้อนกลับทางพฤติกรรมของผู้ใช้ technical คนอื่นๆ (เรียกว่า ผลกระทบต่อราคาหุ้น จากปัจจัยทางเทคนิค) และพวกนี้จะมี โอกาสทำกำไรได้บ่อยมากครั้งเกินว่าจะเรียกว่าบังเอิญ พวกนี้อาจจะไม่ถือว่าเป็นการพนั แต่เทียบได้กับการซื้อของสินค้าเก็งกำไรในตลาดทั่วไปโดยอาศัยข้อมูลที่ได้เปรียบกว่าคนอื่นๆในตลาดนั้น

แต่ สำหรับคนที่เล่นแบบไม่รู้หลักการอะไรเลย แล้วซื้อขายโดยใช้การ คาดเดา ล้วนๆ แล้วนั่งลุ้นว่า กำลังจะได้หรือจะเสีย พวกนี้ก็จะใกล้เคียงการพนันที่สุด

สรุป
1). ถ้าทำด้วยความรู้ความเข้าใจ ก็ไม่ใช่การพนัน ถ้าทำโดยไม่รู้อะไรกะเสี่ยงดวงเอา ก็คือการพนัน

2). โลภหรือไม่โลภ เป็นอีกประเด็นหนึ่งแยกต่างหาก เพราะก็เป็นไปได้ที่จะเล่นด้วยค
วามหื่นกระหายต่อผลกำไร แต่ก็ทำทุกอย่างตามความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตามความเป็นจริง ก็จะยังไม่ใช่การพนันอย่างเต็มตัว (การพนัน = โลภ + ความไม่รู้ ) ... แต่ลำพังโลภอย่างเดียว ก็เป็นอกุศลอยู่แล้ว และถ้ามันมากเกินไปก็มักจะขาดสติ นำความไม่รู้ตามติดมาด้วย กลายร่างเป็นการพนันไปเต็มตัว

วันอังคารที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

นักเทรดรู้ไว้ไม่เจ็บ - การ cutloss, การไม่เดาอนาคต, ไม่พาตัวเองไปอยู่ในสถานการณ์เสียเปรียบ

ขอย้ำว่าผมเป็นนักลงทุน VI กับแนว passive เป็นหลัก แต่เผอิญสอนเทรดได้ด้วยแค่นั้น :D

วันนี้เพื่อนนักเทรดคริปโตมือใหม่ เสียค่าครูไปพอควร เลยให้คำแนะนำบางอย่างไป แล้วก็เอามาแชร์บน blog / page ตัวเองด้วยเลย

สรุปสั้นๆละกันไม่ยืดเยื้อ ผมก๊อปข้อความแชทมาเลยขี้เกียจเกลา

เขาถาม : จะซื้อที่ราคา 50500 แต่ไปกดเลขผิด ซื้อ 52000 ซึ่งเปนราคาสูงมากตอนตลาดกำลังจะร่วงยาว กด cancel ไม่ทันเพราะราคาแพงขนาดนี้ย่อมมีคนขายทันที แถม..........ทันทีที่พลาดไปแล้วมีข่าวร้ายออกมาธนาคารนอร์เวย์สั่งให้สามารถปิดบัญชีคนเทรดคริปโตได้ กำลังคิดว่าควร cut loss ไหม
ผมตอบ : ถ้าเมื่อไหร่เหตุการณ์เริ่มผิดแผน ต้อง cutloss แบบไม่เกี่ยงราคา หนีให้เร็วที่สุด โดยเฉพาะถ้าแทรนด์กราฟไม่มีแววจะไปถึงจุดนั้นได้ (เช่น ติดดอย แต่เทรนด์กราฟกำลังลง)
ถ้าจำได้ ผมบอกว่า พวกนักเทรดจริงๆ ไม่มีการติดดอย เพราะเขาเลือกจะ cutloss แทน เวลาราคากำลังร่วงลง ถ้ายังไม่เห็นก้นหลุม ห้ามช้อนซื้อ มันไม่ใช่สิ่งที่นักเทรดจริงๆทำ
ต้องเห็นก้นหลุมก่อน และแน่ใจว่าดูจากกราฟแล้วมันมีสัญญานชัดพอว่ามันเปลี่ยนเป็นขาขึ้นแล้ว ค่อยเข้าซื้อ
นักเทรดจริงๆ ไม่ take action ด้วยการเดาอนาคต แต่เป็นการตอบสนองต่อสถานการณ์ตรงหน้าให้ถูกต้อง
 คือเราเดาได้นะ ว่าแนวรับแนวต้าน มีตรงไหนบ้าง
แต่เงื่อนไขการตัดสินใจสุดท้าย ต้องดูว่า ราคามันไปหยุดตรงนั้นจริงๆไหม

เขาถาม : cut loss ไม่ทันจริง ข่าวร้ายมาตอนนอนอยู่ แล้วไหม่มีข่าวร้ายแบบนี้มานานมากกกก ละ
ผมตอบ : บทเรียนคือ อย่าเปิด position หรือ session การเทรดค้างไว้โดยไม่มีการดูแลที่พร้อมจะ take action ได้ ยกเว้นว่าตลาดนั้นมันเสถียรพอจะเล่นกราฟ interval ระดับ daily ได้ แบบนั้นถึงจะเล่นแบบเปิด session ข้ามวันแล้วมาดูวันละทีได้
แต่ถ้ามันผันผวนมากจนต้องเล่น interval เล็กกว่านั้น ก็ไม่ควรเปิดข้ามวัน และต้อง monitor มันอยู่เสมอพร้อม take action ทันที

เช่น ในตลาดทองคำ เมื่อหลายปีก่อน มีเหตุการณ์ที่เรียกว่า สงกรานต์เลือด
คนถือทองค้างไว้ขาดทุนยับ ตอนวันหยุดสงกรานต์ของไทย ที่ในไทยไม่สามารถซื้อขายทองได้ แต่ตลาดทองคำนั้นเหมือนตลาดเงินตรา คือมันเปิดซื้อขายทั่วโลกกันตลอด 24 ชม. แล้วจะหยุดช่วงสั้นๆในคืนวันอาทิตย์เท่านั้น


การที่เราเปิด session การเทรดค้างเอาไว้ในเวลาที่เราไม่สามารถจะเทรดได้(ข้ามวันหยุดยาว) ในขณะที่นักเทรดทั่วโลกสามารถเทรดกันได้สบาย เป็นการพาตัวเองไปอยู่ในสถานการณ์เสียเปรียบ นักเทรดไม่ควรทำ

เพราะสนามการเทรด เป็นสนามที่นักเทรดลงมาต่อสู้ฟาดฟันกัน
ใครเปิดช่องโหว่แบบนั้น ก็ย่อมเสียหายเป็นเรื่องธรรมดา


วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561

วิธีบันทึกประวัติการลงทุนของตัวเอง - สิ่งที่กูรูหลายคนลืมสอน

ช่วงนี้เพื่อนผมคนนึง เพิ่งเริ่มเล่น crypto currencies (พวกสกุลเงิน ดิจิตอล เช่น bitcoin, ethereum )
ทั้งแบบฝากเหมืองขุด และแบบเทรด แล้วกำลังเริงร่ากับผลลัพธ์ในการเทรด ที่ผ่านเพิ่งมาไม่กี่วัน (ไม่ถึงสัปดาห์ดี) ทั้งยังบอกว่าการเทรดเก็งกำไรเป็นเรื่องง่ายนิดเดียว

ผมก็เลยให้คำแนะนำบางอย่างไป และคิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับผู้ติดตามบทความผมด้วย ไม่ว่าจะเป็นสาย เก็งกำไร หรือ สาย VI

ก่อนอื่น ต้องบอกก่อนว่า ปัจจุบัน ผมไม่ได้เล่นแนวเก็งกำไรอะไรเลย เน้นการลงทุนระยะยาว และสไตล์ passive เป็นหลัก ดังนั้นผมคงเรียกว่าเป็นเทรดเดอร์อย่างเต็มปาก ไม่ได้
แต่ผมเคยอยู่ในตลาดทองคำมาก่อนในช่วงแรกเริ่มหัดลงทุน และนั่นเป็นประสบการณ์เก็งกำไรหลักๆ ที่ผมได้เรียนรู้ ซึ่งแม้จะเลิกเล่นไปแล้ว ก็ยังมีศึกษาเพิ่มเติมอยู่บ้างเพื่อเปิดมุมมองใหม่ๆ จนผมคิดว่าเข้าใจหลักการพื้นฐานของการเก็งกำไรดีแล้ว ก่อนจะมาแบ่งปันเรื่องการลงทุนโดยการเขียนบทความบน blog นี้ ดังนั้นรับรองว่าไม่มั่ว

แต่วันนี้ผมก็ไม่ได้มาเล่าเรื่องหลักการเทรดทั้งหมดอะไรให้ฟัง (มันยาวมันเยอะ เอาไว้ถ้ามีคนขอมาเยอะๆค่อยกว่ากัน เพราะยังไงผมจะเน้นแนว VI เป็นหลักมากกว่า) แต่จะมาพูดถึงพื้นฐานสำคัญอันนึง ที่สุดท้ายแล้ว มันจะทำให้คุณเป็นนักลงทุนที่เก่งได้เร็วกว่าคนที่ไม่รู้หลักนี้ ไม่ว่าจะเป็นแนวเก็งกำไร หรือแนว VI

สิ่งที่ผมจะพูดถึงวันนี้คือ การบันทึกประวัติการลงทุนของตัวเอง

โดยปกติคนเรามักจะเรียนรู้ได้จากประสบการณ์ แต่ว่าในโลกของการลงทุน มันมีสิ่งนึงที่มักจะบิดเบือนประสบการณ์และบทเรียนไปแบบผิดๆ สิ่งนั้นคือ อคติ
มนุษย์เรา มีอคติ ที่มักจะคิดเข้าข้าง และหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองอยู่เสมอ
ดังนั้นแม้จะมีประสบการณ์บางอย่างมาแล้ว แต่ถ้าข้อเท็จจริงนั้นมันเหมือนกับว่าเราคือคนผิด จิตใต้สำนึกเรามักจะพยายาม "ปฏิเสธ" และหาเหตุผลสนับสนุนตัวเอง หรือข้อแก้ตัว มาบิดเบือนข้อเท็จจริงนั้น บทเรียนที่ได้จากข้อเท็จจริงอันบิดเบือนนั้น จึงกลายเป็นบทเรียนที่บิดเบือนและใช้จริงไม่ได้ไปด้วย

การบันทึกประวัติการลงทุนของตัวเอง อย่างถูกวิธี จะเป็นสิ่งที่ป้องกันอิทธิพลของอคติเหล่านั้น ในการเรียนรู้

ผมได้รู้เรื่องนี้จากหนังสือเสียงเล่มนึงของ ดร.นิเวศน์ (ซึ่งเขาก็อ้างอิงว่าเป็นคำสอนของ จอร์จ โซรอส อีกที) ว่าการจดบันทึกเหตุผลในการซื้อของของเราทุกครั้ง และย้อนกลับมาศึกษามันบ่อยๆ ผลลัพธ์มันจะมหัศจรรย์มาก

วิธีการทำงั้นง่ายๆ
คือเราจะต้องบันทึกประมาณว่า
- ว/ด/ป
- เหตุผล/สมมุติฐาน ในการซื้อ หรือ ขาย ครั้งนั้น
- ราคา , volume
- สรุปผล (จำแนกด้วย 2 ตัวแปร หรือ 4 ความเป็นไปได้ , เหตุผลเราถูก-ผลลัพธ์ถูก, เหตุผลเราถูก-ผลลัพธ์ผิด, เหตุผลเราผิด-ผลลัพธ์ถูก, เหตุผลเราผิด-ผลลัพธ์ผิด)




อธิบายเพิ่มสำหรับการสรุปผล ว่าผลลัพธ์ 4 แบบนั้นหมายถึงอะไร
- เหตุผลเราถูก-ผลลัพธ์ถูก = เหตุผลที่เราใช้ และผลลัพธ์ที่เกิด ไปในทางเดียวกัน เป็นเหตุเป็นผล กัน
- เหตุผลเราถูก-ผลลัพธ์ผิด = เหตุผลที่เราใช้ก็ยังเป็นจริงในวันสรุปผล เพียงแต่ว่ามันอาจมีตัวแปรอื่นที่คิดไม่ถึงซึ่งทำให้ผลลัพธ์สุดท้ายนั้นไม่เป็นไปตามที่เราคิดไว้
- เหตุผลเราผิด-ผลลัพธ์ถูก = เหตุผลเราสุดท้ายแล้วก็ไม่ได้ตรงกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น แต่ผลลัพธ์กลับไปในทางที่เราทำนาย (เช่น คิดว่าราคามันจะขึ้นไปอีก 5% แล้วมันก็ขึ้นไปจริงๆ แต่ด้วยเหตุผลอื่นที่ไม่ตรงกับเหตุผลที่เราใช้) ...... อันนี้ไม่ได้เรียกว่าเราเก่ง แต่เรียกว่าฟลุ๊ก อย่าหลงตัวเองว่าเก่ง
- เหตุผลเราผิด-ผลลัพธ์ผิด = ตรงไปตรงมา เมื่อเหตุผลที่เราคิดไว้มันดันผิดไปจากสิ่งที่เกิดขึ้น ผลลัพธ์ก็ย่อมไม่เป็นไปทางที่เราคิดไว้



เล่นๆไปแล้วให้มาย้อนอ่านดูด้วยเป็นพักๆ แล้วสรุปบทเรียน ให้ตัวเอง
มันจะช่วยให้คุณได้บทเรียนที่ ปลอดจากอคติ และใช้ประโยชน์ได้จริง
เมื่อคุณสะสมบทเรียนนี้ไปมากขึ้นเรื่อยๆ คุณจะเก่งขึ้นเรื่อยๆ และเป็นความเก่งของจริง ไม่ใช่มโนไปเอง

หวังว่าผู้อ่านจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ และขอให้ประสบความสำเร็จในเส้นทางนี้ทุกคน ไม่ว่าจะเลือกลงทุนกับอะไรก็ตามครับ :)

วันอาทิตย์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561

บทความ ดร.นิเวศน์ พูดถึงหุ้นไทยช่วงนี้ + เปรียบเทียบความเสี่ยง กองทุนรวมหุ้น กับ การเลือกหุ้นเอง

เผอิญวันนี้อ่านกระทู้นี้ของ ดร.นิเวศน์ http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=61566
(ดร. เขาพูดถึงตลาดหุ้นไทยช่วงนี้ ว่าทำไมต่างชาติขายหุ้นออกเรื่อยๆ และวิเคราะห์ว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป - ผมแนะนำเข้าไปอ่านด้วย ได้ไอเดียใหม่ๆเยอะดี ^^ )
 
อ่านเสร็จแล้ว มีความคิดแว้บเข้ามาในหัว เกี่ยวกับการเปรียบเทียบความเสี่ยงระหว่าง กองทุนรวมหุ้น กับ การเลือกซื้อหุ้นเองเป็นตัวๆ
 
ถ้ายังจำกันได้ ในบทความเก่าๆบางอัน ผมเคยบอกว่า การเล่นกองทุนรวม ไม่ได้มีความเสี่ยงต่ำกว่า การเล่นหุ้นโดยเลือกเอาเองเป็นตัวๆ

เพราะว่า กองทุนรวมนั้น ปกติจะลงทุนในหุ้นหลายๆตัว และหวังผลการเคลื่อนไหวของราคาตามค่าเฉลี่ยของตลาดนั้นๆ (ไม่ต้องพูดถึงกองทุน active ซึ่งปกติแล้วผลตอบแทนน้อยกว่ากองทุนแบบ index เลย) แต่การเลือกหุ้นด้วยตัวเอง ถ้าทำตามหลักการแบบ VI เป็นอย่างดีแล้ว ถือไว้ซัก 4-5 ตัวในพอร์ต (เป็นการกระจายความเสี่ยงเล็กๆ เพราะปู่ปีเตอร์ ลินซ์ เคยว่าไว้ว่า โดยปกติการเลือกหุ้นสไตล์ VI แบบง่ายๆ มา 5 ตัว มักจะพลาด 1 เกินความคาดหมาย 1 และได้ผลตอบแทนไม่ดีไม่แย่ 3 ตัว) ความเสี่ยงมักจะต่ำกว่ากองทุนรวม ซึ่งยังไงๆราคาก็วิ่งตามความผันผวนเฉลี่ยของตลาด

อันนี้ยืนยันโดยประสบการณ์ที่ทดลองเองส่วนตัวเหมือนกัน เวลาที่คนอื่นตื่นเต้นเวลาหุ้นไทยร่วงๆ ส่วนใหญ่เวลาผมมองพอร์ตตัวเอง มักจะเห็นความเปลี่ยนแปลงแค่เล็กน้อยหรือแทบไม่เห็นเลย คือ หุ้นส่วนใหญ่ที่เลือกมาตามวิธีแบบ VI จริงๆ มันไม่เคลื่อนไหวตามกระแสของตลาดเท่าไหร่

แต่ก็ไม่ใช่ว่าการลงทุนในกองทุนรวมนั้นไม่ดี เพียงแต่ต้องรู้วิธีในการอยู่กับมัน
โดยธรรมชาติของกองทุนรวมนั้น เราไม่สามารถเล่นแบบ trading ได้ (เพราะมันตอบสนองต่อคำสั่งช้า 2-3 วันทำการ) ดังนั้นสไตล์เดียวที่ผมนึกออกคือการบริหารพอร์ตแบบ passive หรือที่ ดร.นิเวศน์ เอง เคยเขียนบทความเอาไว้ว่าเป็น KISS investment (Keep It Simple and Stupid) ซึ่งเป็นการผสมผสานกันระหว่างการกระจายความเสี่ยงในพอร์ตนั้นๆ กับการทำ portfolio rebalancing
เป็นหนึ่งในวิธีที่ได้ผลดีระยะยาว (ระยะสั้นอาจมีเสียวได้โดยเฉพาะช่วงหุ้นร่วงๆช่วงนี้ ตามปัจจัยจากฝั่งเมกาฯ ที่เงินทุนไหลออกจากตลาดหุ้น ทำให้ดัชนีรวมของตลาดหุ้นเมกาฯ ร่วง ซึ่งแน่นอนกระทบตลาดหุ้นไทยและทั่วโลกด้วย) โดยต้องใช้ความเชื่อมั่นในหลักการและอดทน ไม่หวั่นไหวต่อปัจจัยระยะสั้น วิธีบริหารพอร์ตแบบนี้จึงจะสำเร็จได้

วันพุธที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2561

บทสนทนามื้อเที่ยงเมื่อ 6 ปีก่อน ที่นึกขึ้นได้วันนี้และแอบทำให้ขนลุก (แกมเสียดาย) - เกี่ยวกับ bitcoin นิดหน่อย

เมื่อราวๆ 6 ปีก่อน ครั้งที่ผมยังทำงานอยู่บริษัท IT ข้ามชาติแห่งนึงแถวๆข้างสวนลุมพินี
วันนั้น ผมไปกินข้าวเที่ยงกับพี่คนนึงในทีมตามปกติ ณ ร้านข้าวแกงหลังตึกที่เราทำงานอยู่

ตอนนั้นผมค่อนข้างใหม่กับเรื่องการลงทุนมาก แต่ค่อนข้างไฟแรงและสนใจใครรู้มากๆกว่าเราจะหลุดจากวงจรหนูถีบจักรของมนุษย์เงินเดือนที่ไม่มีอิสระในชีวิตของตัวเองได้ยังไง (เหมือนเพิ่งจะรับแนวคิดมาจากเซ็ตหนังสือพ่อรวยสอนลูก)

ผมชอบยกคำถามหรือประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับเรื่องการเงินการลงทุน หรือวิธีหาอิสระภาพทางการเงินอื่นๆขึ้นมาคุย เพื่อจะได้ความรู้จากคนอื่นๆรอบๆตัวด้วย

จนเหมือนจะกลายเป็นแบรนด์ของผมไปกลายๆ ราวกับว่ามีฉลาก "financial freedom" แปะอยู่บนหน้าผากผม

ในวันนั้นเราคุยกันว่า ระบบการเงินของโลกทำงานยังไง แล้วคนสร้างฐานะหรือมีอิสระภาพทางการเงินกันขึ้นมาได้ยังไงบ้าง
อยู่ๆก็เกิดสงสัยขึ้นว่า

"ถ้าเราเข้าใจระบบการเงินมากพอ เราจะหาช่องว่างในการออกจากระบบนี้ได้รึเปล่า"

เดิมทีสมัยเด็กๆ ผมเป็นพวกชอบสร้างหรือประดิษฐ์อะไรต่างๆขึ้นมาเอง พวกสิ่งที่ผมอยากได้แต่ไม่มีเงินไปซื้อหามาใช้ อาจจะเพราะรู้สึกว่ามันแพง ไม่สมเหตุสมผล ดูไม่ดี หรืออะไรก็แล้วแต่

จนผมเชื่อว่า "ถ้าอยากได้อะไรแล้วไม่มีตังซื้อ ก็แค่สร้างมันขึ้นมาเองซะสิ"

พอรวมกับความคิดข้างต้น เลยกลายเป็นว่า "เป็นไปได้ไหม ที่เราจะออกจากระบบที่เป็นอยู่ แล้วสร้างระบบใหม่ของเราขึ้นมาเอง" เพราะคนที่เข้าไปอยู่ในโลกใบใหม่เป็นคนแรกมักจะได้เปรียบและตักตวงอะไรได้เยอะก่อนคนอื่นที่ตามมา

"เป็นไปไม่ได้หรอก ถ้าทำได้คนก็คงทำกันไปหมดแล้ว"
"ระบบที่มันเป็นอยู่ทุกวันนี้มันผูกขาดเอาไว้ค่อนข้างสมบูรณ์แบบ เราได้แค่เล่นตามเกมเพื่อไปหาจุดดีๆก็เท่านั้น" พี่ที่ผมคุยด้วยบอกขึ้นมา (อาจจะไม่เป๊ะๆแต่ก็คร่าวๆประมาณนี้)

;
;
;
;
วันนี้ทุกคนคงได้ยินคนพูดถึง Bitcoin ไม่มากก็น้อย
แต่เพิ่งวันนี้เองที่ผมนึกถึงบทสนทนาในวันนั้น และตระหนักว่า

"เฮ้ย นี่มันมีคนแหกระบบเดิมสำเร็จไปแล้วนี่หว่า"

ปรากฎการณ์ของ Bitcoin ในช่วงร้อนแรงนี้ เป็นที่หนาวๆร้อนๆ ของทั้งรัฐบาล และสถาบันการเงิน (แบงก์ชาติ) ต่างๆ
เพราะว่าผู้คนมีทางออกจากระบบเดิมที่พวกเขาผูกขาดอำนาจไว้มาหลายร้อยปี ... อำนาจที่เขาเสกเงินและดูดเงินจากกระเป๋าประชาชนได้เนียนๆผ่านหลายช่องทาง กำลังถูกลดทอนลงไป
;
;
ผมแอบขนลุกนิดหน่อย ในหลายๆแง่มุม

- ผมเป็นคนนึงที่คิดว่า "น่าจะ...." ในวันนั้น และน่าจะมีอีกหลายร้อยหลายพัน (หรือล้าน) คนที่คิด แต่ไม่มีศักยภาพหรืออาจจะไม่ได้ใส่พลังมากพอในการทำมันให้เป็นจริง แต่มีคนนึงทำมันขึ้นมาสำเร็จ (miracle happens)

- เหตุการณ์ที่ผ่านมานานมากแล้วเพิ่งระลึกขึ้นได้ในวันนี้ (เป็นข้อเสียของการไม่ได้หยิบมันมาจดเป็นเป้าหมายแล้วทบทวนทุกวัน เพราะถ้าไม่งั้นเราจะตระหนักได้เร็วกว่านี้มากๆ -- ทำให้เห็นว่าการจดบันทึกเป้าหมายและทบทวนทุกวัน เป็นเรื่องสำคัญ ***)

- ประโยคหรูๆที่พวก Life coach หรือพวกสอนใช้กฏแรงดึงดูด ทำนองว่า "ทุกสิ่งที่คิดจินตนาการได้ ล้วนเกิดขึ้นจริงได้" ,  หรือ "อยากได้อะไรให้คิดว่าได้มันมาในจินตนาการบ่อยๆ ความคิดนั้นจะทำให้สิ่งนั้นเป็นจริงขึ้นมา"  ก็ใช่ว่าจะไม่มีมูลซะทีเดียว  กระแสความคิดของคน โดยเฉพาะในวงกว้าง ถ้ามันมากพอ สุดท้ายมันมักจะผลักดันให้เกิดสิ่งนั้นขึ้นมาจริงๆ

- เราดูจะเอื่อยและช้าไปหน่อย ที่ยังไม่ได้ศึกษาเรื่อง Bitcoin แบบจริงจัง ทั้งที่ก็รู้จักมันคร่าวๆมานานหลายปีมากแล้วก่อนมาเป็นกระแส อันนี้น่าเสียดายโอกาสนิดหน่อย แต่คงไม่มีอะไรสายเกินไปถ้าจะเริ่มซะตอนนี้ (อนึ่ง มันมีความเสี่ยงแน่ๆ เหมือนสินค้าโภคภัณฑ์ ราคาผันผวนสูง ดังนั้นถ้าจะทำอะไรกับมันควรต้องเข้าใจศาสตร์ของการเก็งกำไร (ผมบอกได้เลยว่าไม่ใช่แบบพวกผู้เชี่ยวชาญมาสอนกันตามทีวีช่องการลงทุน พวกนั้นมักสอนไม่ครบระบบ) และเรื่องทางเทคนิคพื้นฐานของ Bitcoin ให้ดีมากพอ ก่อนจะลงเงินกับมันจริงๆ)
;
;
;

ปล. หนังสือดีที่สุดที่จะทำให้เข้าใจหลักการพื้นฐานของการเทรดเก็งกำไร ผมแนะนำให้ศึกษาเรื่องของ Turtle Trading ของ ริชาร์ด เดนนิส, แอบเห็นบทความภาษาไทยและ pdf ภาษาอังกฤษอยู่ (โดยส่วนตัวไปเข้าใจกับ version อังกฤษมากกว่า) พอเข้าใจหลักการแล้วจึงจะมีไอเดียเอาไปประยุกต์ปรับแต่งเป็นของตัวเองได้ต่อไปครับ

ปล2. ยังไงผมก็เป็น VI อยู่ดีนะ ไม่ชอบเก็งกำไร lol แต่สอนและชี้ทางที่ถูกให้ได้ถ้าใครอยากรู้จริงๆ