มุมมองเกี่ยวกับมูลค่าของหุ้น ตามแนวคิดของ vi ตามที่ผมเข้าใจ มีอยู่สองแนวคิดใหญ่ๆ
1. มูลค่ามาจากความสามารถในการสร้างผลกำไร
มุมมองนี้มองว่า มูลค่าหุ้น มาจากการที่หุ้นสามารถผลิตกระแสเงินจากการดำเนินงานแล้วได้กำไร แล้วปันผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้น ยิ่งทำกำไรได้มาก อย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องเป็นเวลานาน มูลค่าก็ยิ่งมาก
ซึ่งก็มีประเภทย่อยอีกดังนี้คือ
1.1 มูลค่ามาจากระยะเวลาคืนทุน
1.2 มูลค่ามาจาก เงินสดทั้งหมดที่มันสร้างให้กับผู้ถือหุ้นได้ในอนาคต ตลอดช่วงชีวิตของมัน - วิธีการหนึ่งในประเภทนี้ ที่ได้ยินกันบ่อยๆ คือ Discounted Cash Flow
2. มูลค่ามาจากทรัพย์สินของบริษัทที่สะสมมา (ทรัพย์สินที่ไม่ใช่หนี้น่ะ)
คือ ถ้าสมมุติว่าบริษัทจะปิดตัวลงวันนี้ แล้วต้องขายทรัพย์สินทอดตลาดทั้งหมดเพื่อมาคืนผู้ถือหุ้น จะได้เงินมาคืนผู้ถือหุ้นทั้งหมดเท่าไหร่
ทรัพย์สินที่ว่านี้ ในทางทฤษฎีก็คือ "ส่วนของผู้ถือหุ้น" นั่นเอง
แต่ในทางปฏิบัตินั้น ส่วนของผู้ถือหุ้นมักจะไม่ได้มี ขนาดเท่ากับที่แสดงตัวเลขในงบการเงินอยู่จริง เพราะ ทรัพย์สินในงบการเงินนั้น จะมีหลายอย่างเป็นมูลค่าที่เกิดจากการประเมิน ด้วยวิธีการทางบัญชีอีกที ซึ่งถ้าถึงเวลาต้องขายทรัพย์สินจริงๆ มักจะได้เงินกลับคืนมาน้อยกว่านั้น
อันที่จริง ยังมีอีกแนวคิดนึง ซึ่งผมว่ามันไม่เข้าหลักการของ VI เท่าไหร่นัก ออกจะค่อนข้างเป็นแนว ลูกครึ่ง แต่ก็มี VI แนวหน้าของประเทศบางคนใช้กันอยู่ ก็ขอแยกเอาไว้เป็นหัวข้อพิเศษคือ
*3. ความสามารถในการทำกำไร ผสมกับการตีมูลค่าที่ตลาดมีให้กับหุ้นตัวนั้น
ซึ่งผมคิดว่า มันเป็นประเภทนึงของ Relative valuation แบบที่พวก โบรกเกอร์ หรือนักวิเคราะห์ ชอบใช้กัน เพราะมีการเอา ปัจจัยจากการให้มูลค่าของ "ตลาด" มามีส่วนเกี่ยวข้องด้วย
ทั้งหมดนั้นเป็นภาพกว้างๆ ซึ่งเดี๋ยวจะลงรายละเอียดเพิ่มเป็นตัวๆ ในโอกาสหน้าครับ
วันอาทิตย์ที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2558
วันพฤหัสบดีที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558
การประมูลคลื่น 4G (1800 MHz) อันหฤโหด
จากข่าวนี้น่ะครับ
https://www.blognone.com/node/74694
ผมเองก็ชะล่าใจไปหน่อย ไม่นึกว่าจะดุเดือดขนาดนี้ นี่ใครมีหุ้นกลุ่มนี้ในมือ (ผมด้วย 55) อาจขวัญเสียกันได้เพราะราคาหุ้นลงฮวบๆ
ซึ่งสรุปคนได้ไปคือ AIS กับ True
ในราคารายล่ะราว 4 หมื่นล้านบาท ! (เยอะกว่าส่วนของผู้ถือหุ้นของทั้งสองบริษัทอีก)
การประมูลที่ราคาสูงๆแบบนี้ หากใครได้ไปทั้งที่ตัวเองมีกำลังชำระค่าคลื่นฯ ไม่มากนัก ก็น่าจะเหนื่อย
โดยเฉพาะอาจเป็นไปได้ที่ต้องไปกู้แบงค์ (มีต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นมา... อาจทำให้กำไรลดลงได้ในระยะแรก) หรือไม่งั้นก็ต้องเพิ่มทุนรอบใหม่ ถึงจะมีเงินพอมาจ่ายได้
เรื่องนี้คงจะต้องดูข้อมูลเพิ่มเติมที่จะออกมาหลังจากนี้ดีๆ ว่าสรุปเขาจะเลือกวิธีแบบไหน ซึ่งก็คงมีผลกระทบผู้ถือหุ้นต่างกันไป
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ อาจจะถือว่า มีการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยพื้นฐาน ที่ค่อนข้างมีนัยสำคัญต่อตัวธุรกิจ
สำหรับ VI หากการเปลี่ยนแปลงนั้น ทำให้มูลค่าหุ้นที่ประเมินได้ลดลงและต่ำกว่าราคาที่ตลาดให้อยู่ ก็ควรจะต้องขายหุ้นในมือออกไป โดยไม่ต้องสนราคาต้นทุนว่าเราเคยซื้อมาเท่าไหร่
หากมูลค่าที่ประเมินได้สูงกว่า ราคาตลาด ก็อาจเป็นโอกาสดีที่จะเก็บหุ้นเพิ่ม
โดยส่วนตัวผมคิดว่า หากมูลค่าประเมินจะสูงขึ้นได้ ต้องมาจากการที่เจ้าคลื่นที่ได้มานี้ สามารถเอาไปทำรายได้กลับมาให้ได้เป็นกอบเป็นกำ เพื่อให้บริษัทมียอดขายเพิ่ม กำไรเพิ่มขึ้น เท่านั้น
ดูเหมือนจะต้องเดาอนาคตกันเยอะหน่อย ซึ่งมีความไม่แน่นอนอยู่มาก ผมไม่ค่อยชอบโมเม้นต์แบบนี้เท่าไหร่
นอกจากนั้น สิ่งนี้ยังตอกย้ำกว่า ตลาดกลุ่มนี้มีการแข่งขันกันสูงมากและดุเดือด และมีข้อจำกัดในเรื่องคลื่นที่แย่งกันกินแย่งกันใช้ มีความเสี่ยงกับภาครัฐฯ อยู่เยอะ
การจะคาดหวังว่าบริษัทในกลุ่มธุรกิจแบบนี้ จะทำให้กำไรเติบโตแบบก้าวกระโดดได้ ก็คงเป็นเรื่องยาก
คงต้องติดตามตอนต่อไปครับ ว่าชะตากรรมของ AIS กับ True จะเป็นอย่างไรต่อไป
https://www.blognone.com/node/74694
ผมเองก็ชะล่าใจไปหน่อย ไม่นึกว่าจะดุเดือดขนาดนี้ นี่ใครมีหุ้นกลุ่มนี้ในมือ (ผมด้วย 55) อาจขวัญเสียกันได้เพราะราคาหุ้นลงฮวบๆ
ซึ่งสรุปคนได้ไปคือ AIS กับ True
ในราคารายล่ะราว 4 หมื่นล้านบาท ! (เยอะกว่าส่วนของผู้ถือหุ้นของทั้งสองบริษัทอีก)
การประมูลที่ราคาสูงๆแบบนี้ หากใครได้ไปทั้งที่ตัวเองมีกำลังชำระค่าคลื่นฯ ไม่มากนัก ก็น่าจะเหนื่อย
โดยเฉพาะอาจเป็นไปได้ที่ต้องไปกู้แบงค์ (มีต้นทุนทางการเงินเพิ่มขึ้นมา... อาจทำให้กำไรลดลงได้ในระยะแรก) หรือไม่งั้นก็ต้องเพิ่มทุนรอบใหม่ ถึงจะมีเงินพอมาจ่ายได้
เรื่องนี้คงจะต้องดูข้อมูลเพิ่มเติมที่จะออกมาหลังจากนี้ดีๆ ว่าสรุปเขาจะเลือกวิธีแบบไหน ซึ่งก็คงมีผลกระทบผู้ถือหุ้นต่างกันไป
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ อาจจะถือว่า มีการเปลี่ยนแปลงในปัจจัยพื้นฐาน ที่ค่อนข้างมีนัยสำคัญต่อตัวธุรกิจ
สำหรับ VI หากการเปลี่ยนแปลงนั้น ทำให้มูลค่าหุ้นที่ประเมินได้ลดลงและต่ำกว่าราคาที่ตลาดให้อยู่ ก็ควรจะต้องขายหุ้นในมือออกไป โดยไม่ต้องสนราคาต้นทุนว่าเราเคยซื้อมาเท่าไหร่
หากมูลค่าที่ประเมินได้สูงกว่า ราคาตลาด ก็อาจเป็นโอกาสดีที่จะเก็บหุ้นเพิ่ม
โดยส่วนตัวผมคิดว่า หากมูลค่าประเมินจะสูงขึ้นได้ ต้องมาจากการที่เจ้าคลื่นที่ได้มานี้ สามารถเอาไปทำรายได้กลับมาให้ได้เป็นกอบเป็นกำ เพื่อให้บริษัทมียอดขายเพิ่ม กำไรเพิ่มขึ้น เท่านั้น
ดูเหมือนจะต้องเดาอนาคตกันเยอะหน่อย ซึ่งมีความไม่แน่นอนอยู่มาก ผมไม่ค่อยชอบโมเม้นต์แบบนี้เท่าไหร่
นอกจากนั้น สิ่งนี้ยังตอกย้ำกว่า ตลาดกลุ่มนี้มีการแข่งขันกันสูงมากและดุเดือด และมีข้อจำกัดในเรื่องคลื่นที่แย่งกันกินแย่งกันใช้ มีความเสี่ยงกับภาครัฐฯ อยู่เยอะ
การจะคาดหวังว่าบริษัทในกลุ่มธุรกิจแบบนี้ จะทำให้กำไรเติบโตแบบก้าวกระโดดได้ ก็คงเป็นเรื่องยาก
คงต้องติดตามตอนต่อไปครับ ว่าชะตากรรมของ AIS กับ True จะเป็นอย่างไรต่อไป
ป้ายกำกับ:
4g,
การลงทุน,
ข่าว,
ประมูล,
สัพเพเหระรอบตัว,
สื่อสาร,
หุ้นตก,
investment,
telecom
วันอาทิตย์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2558
อยากจะเป็น VI ก็ต้องมีทัศนคติแบบ VI
ขอท้าวความกลับไปยังช่วงก่อนที่ผมเริ่มจะมาเป็น VI ล่ะกันครับ นั่นคือปลายปี 2012 และเข้าต้นปี 2013
ตอนนั้นผมกำลัง สับสน ตามประสาเม่าฝึกหัด ที่รู้สึกว่าวิธีการลงทุนที่ใช้อยู่มันค่อนข้างเป็นผลเสียกับการทำงานประจำมาก คือเรากระสับกระส่ายจะดูราคาหุ้นตลอดเวลา สมาธิกับงานก็เลยไม่ดี งานออกมาแย่ เลยต้องลองตั้งคำถามและทบทวนตัวเองว่า เรากำลังเดินถูกทางอยู่รึเปล่า
ตอนนั้นวิธีการที่ผมใช้อยู่ เป็นการใช้เรื่องกราฟเทคนิคและการเก็งกำไรต่างๆ จึงเริ่มสงสัยและคลางแคลงใจ ว่ามันน่าจะไม่เหมาะกับมนุษย์เงินเดือนอย่างเราซะแล้ว ถ้ามันกระทบการทำงานแบบนั้น
คนเล่นสายเทคนิคฯ ก็อาจแย้งว่าถ้าทำเป็นจริงๆมันใช้เวลาแป้บเดียวไม่กระทบงาน
แต่เอาเป็นว่าผมพยายามแล้ว แล้วรู้สึกว่ามันไม่สามารถไปถึงจุดที่ว่านั้นได้ เหตุผลก็คือ มันเต็มไปด้วยความ ไม่แน่นอน หากกราฟเปลี่ยน
เราต้องตอบสนองได้ทันควัน ไม่งั้นเราก็เสียหาย
ซึ่งนั่นเลยทำให้เราพยายามจะแว้บไปดูกราฟบ่อยๆ และดูแต่ละครั้งก็ต้องคิดว่าจะเอาไงกันแน่
เพราะหลายๆครั้งและส่วนใหญ่ กราฟมันก็ไม่ได้ชัดขนาดจะฟันธงได้ว่า นี่จะขึ้นแน่
หรือนี่จะลงแน่ๆ (ซึ่งตอนนี้ผมรู้ล่ะว่าทำไม แต่เก็บไว้เล่าตอนอื่น) แถมเรายังมีความลังเลจากข้อมูลอื่นที่ได้ยินมาจาก
ข่าว มาร์ บทวิเคราะห์ ฯลฯ
ยิ่งทำให้ตัดสินใจแต่ละครั้งนั้นเป็นการคิดที่นานและปวดหัวมาก ผมยิ่งเป็นคนนิสัยคิดเยอะคิดซับซ้อนอยู่แล้วด้วยเลยไปกันใหญ่
ตอนนั้นได้ยินว่ามันมีวิธีการลงทุนอีกแนวทางนึงเรียกว่า
VI ซึ่งไม่ต้องมาดูกราฟและปวดหัวแบบนี้
แต่ต้องไปใช้เวลามากกับการดูพื้นฐานกิจการต่างๆแทน จึงคิดว่าลองศึกษาดู
เผื่อจะทำให้ชีวิตเราดีขึ้น ไม่ปวดหัวทุกวันอย่างที่เป็นอยู่
ผมจึงลอง search ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องนี้ สิ่งที่เจอ นั้นมีทั้งแบบที่พอเข้าใจได้ง่ายๆอย่างเรื่องการดู P/E, P/BV หรือการหาเอาจากชีวิตประจำวันว่าอะไรที่คนนิยมซื้อนิยมใช้กัน
และยังมีเรื่องที่ชวนปวดหัวอย่างวิธีที่เรียกว่า Discount Cash Flow อีก (ซึ่ง ณ เวลานั้นผมคิดว่ามันยุ่งยากไปเลยไม่ใส่ใจมันเลย)
พอผมได้ลองใช้วิธี VI อย่างง่ายๆพวกการดูค่า P/E และ P/BV มาตรวจสอบหุ้นในพอร์ตตัวเอง ก็เจอกับอะไรที่น่าตกใจคือ หุ้นเกือบทุกตัว ทำไม P/E หรือ P/BV มันสูงกว่าที่บทความ VI เขาว่ากันไปเกือบหมด
หุ้นที่ถือช่วงนั้น ซึ่งแรกๆก็ซื้อตามมาร์แหละครับ พวก HMPRO, BCH, NUSA, MBK, AYUD ฯลฯ (มั่วไปหลายอยู่) มีตัวเดียวที่พอ OK คือ MBK ที่ตอนนั้น P/BV ยังต่ำมากคืออยู่แถวๆ 1 เอง
ซึ่งพอเห็นอย่างนั้นเลยต้องปรับอะไรหลายอย่าง (แต่บางตัวถือติดพอร์ตไว้เพราะเชื่อในเรื่อง story ของอนาคตที่ดี ตามที่มาร์บอก... เผอิญตอนนั้นยังเป็นเด็กติดมาร์อยู่)
ผมลองหาซื้อหุ้นเองตามหลัก VI เท่าที่รู้อยู่ตอนนั้น (ซึ่งมองย้อนกลับไปนี่รู้สึกว่ารู้น้อยมาก โชคดีตลาดกระทิงไม่งั้นคงเจ็บตัวแน่) ไปเจอ INTUCH ซึ่งรู้สึกว่าพื้นฐานตัวเลขอะไรๆมันดูดีมาก เลยโทรไปถามมาร์ว่าตัวนี้ดีรึเปล่า ซึ่งก็ OK แม้โดยส่วนตัวรู้สึกว่ามันยังแอบแพงไปหน่อย คือเราคาดหวังว่าราคาน่าซื้อน่าจะ 63 บาท แต่ราคาตอนนั้นมันไป 75 อะไรแล้ว แต่ด้วยความอ่อนประสบการณ์ตอนนั้นคือรู้สึกว่า ต้องหาซื้ออะไรซักอย่างติดมือให้ได้ ไม่อยากปล่อยเงินไว้เฉยๆ
(ผมว่ามือใหม่ทุกคนน่าจะเคยเจออารมณ์แบบนี้น่ะ คือทนอยู่เฉยๆไม่ได้ทั้งที่ควรอยู่เฉยๆ :P) ก็เลยซื้อไปเพราะมันดูดีสุด ณ เวลานั้น ผมย้ำอีกทีว่านี่คืออดีตผ่านไปนานหลายปีแล้ว อย่าลอกไปทำตามน่ะครับ เพราะตอนนั้นความรู้ผมยังถือว่าอ่อนด้อยมากอยู่ นอกจากนั้นก็มีหุ้นที่เข้าข่าย P/E , P/BV ต่ำหลายตัวที่ลองซื้อช่วงนั้น แต่ก็มักถือไม่นานเพราะศรัทธาในวิธีนี้อาจจะยังไม่ดีด้วยมั้ง พอเราไม่มั่นใจ หรือราคามันลงนิดๆหน่อยติดตัวแดง ก็ใจฝ่อไม่กล้าถือต่อล่ะ
ซึ่งจากการพยายามเปลี่ยนแปลงครั้งนั้น ทำให้รู้สึกชีวิตเริ่มจะมีความปกติสุขกลับมาบ้าง แต่ว่า ก็ยังไม่ดีพออยู่ดี คือก็ยังติดนิสัยดูกราฟ และเวลาราคาหุ้นลงมาต่ำกว่า avg. cost ของหุ้นเราจนติดตัวแดงๆ ก็จะเป็นทุกข์เป็นร้อนว่าจะทำไงกับมันดี จะซื้อถัวดีมั้ย และถ้ามันลงต่อล่ะจะทำยังไง ฯลฯ สรุปสุขภาพจิตดีขึ้นนิดนึงครับ แต่เรารู้สึกว่าน่าจะดีได้มากกว่านี้ ทำให้เราเบาใจได้มากกว่านี้ โดยเฉพาะตอนกลางปี 2013 นั้น เกิดปรากฏการณ์ที่ตลาดอยู่ๆก็เหมือนจะเกิดการปรับฐานแรงครั้งนึง คือจากที่เคยบูมสุดขีดต่อกันมาหลายปี อยู่ๆก็ร่วงมาค่อนข้างเยอะมาก คนเล่นหุ้นก็อกสั่นขวัญเสียกันใหญ่ เรียกว่าเป็นครั้งแรกที่ผมเห็นสิ่งที่เรียกว่า panic sale เลยก็ว่าได้
จากนั้นเผอิญผมไปเจอหนังสือเล่มนึง
ยืนรออ่านในร้านหนังสือระหว่างรอเพื่อน เป็นหนังสือปกดำชื่อ “รู้ก่อนเล่นหุ้น VI” ซึ่งหลังจากอ่านแล้วทำให้เกิดอาการ ตาสว่าง บางประการขึ้นมา ทำให้รู้ว่าก่อนนั้นถึงจะใช้ P/E , P/BV หาหุ้น
แต่มันยังไม่อาจเรียกว่าเป็น VI ได้เลย เพราะ mindset หรือ ทัศนคติ ของเรายังไม่ได้แบบ VI และผลหลังจากได้เรียนรู้จากการปรับ ทัศนคติ ตามหนังสือเล่มนี้
ทำให้ชีวิตเรากลับมาเป็นปกติสุขขึ้นอีกครั้งอย่างแท้จริง ผมเลิกแว้บมาดูกราฟบ่อยๆ เลิกพะว้าพะวงแม้เวลาตลาดลงแล้วหุ้นเราติดตัวแดงคาพอร์ต และเริ่มเห็นภาพชัดขึ้นว่า VI จริงๆเขามองเหตุการณ์ตรงหน้าอย่างไร ซึ่งพอเรามองได้อย่างที่เขามอง เรื่องการตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรในแต่ละเหตุการณ์มันจะง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก
เกริ่นมาซะยาว มาสรุปกันดีกว่าว่า ทัศนคติ แบบ VI ที่ผมได้มาจากหนังสือนั้น มีอะไรบ้าง เฉพาะอันเด่นๆ
หลายๆอันอาจจะคุ้นกันอยู่แล้วเพราะมักจะมาจาก quote ของนักลงทุน VI ชื่อดังต่างๆ นั่นเอง
1. ทัศนคติที่ถูกต้อง สำคัญกว่าเทคนิคที่ถูกต้อง - ข้อนี้นั้น ค่อนข้างจะเป็นปรัชญาซักหน่อย และ ใช้ได้กับทุกๆเรื่องในชีวิตการเรียนรู้ การพัฒนาตัวเอง, เพราะทัศนคตินั้น มักจะเป็นต้นกำเนิดของ ความรู้สึก ความคิด และการกระทำต่างๆในชีวิตประจำวัน (ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเจริญก้าวหน้าของชีวิตเราแน่ๆ) ทั้งที่เราอาจจะรู้ตัว หรือไม่รู้ตัว ดังนั้นเรียกว่า ถ้าปลูกฝังทัศนคติที่ดีให้กับตัวเองแล้ว ก็เป็นการวางรากฐานที่แข็งแรงของการพัฒนาตัวเอง และเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง
2. มูลค่า (value) กับ ราคา (price) ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน
ข้อนี้เป็นข้อที่ประทับใจผมมากที่สุด
คือ VI จริงๆนั้นมองว่า value คือสิ่งที่เราจะได้รับจากของที่ซื้อ และ price คือสิ่งที่เราต้องจ่าย มันเป็นคนละเรื่องกัน แม้ว่าเรามักจะพูดถึงมันด้วยหน่วยวัดเดียวกันคือ บาท (หรือสกุลเงินตราอื่นๆ)
ตัวอย่างเช่น
สมมุติมีเค้กชิ้นนึง ราคาขายปกติคือ 30 บาท, สมมุติว่าวันนึงร้านนี้จัดโปรโมชั่นพิเศษ ซื้อ 1 ชิ้น
แถมอีก 1 ชิ้น, คำถามคือ คนซื้อเค้กวันแรกที่ชิ้นละ 30 บาท กับคนที่ซื้อวันที่ร้านนี้จัดโปรโมชั่น ซื้อ 1 แถม 1 คุณคิดว่าใครซื้อได้คุ้มค่ามากกว่ากัน ?
คำถามนี้โดย common sense ตอบกันง่ายๆคือ ก็ต้องคนที่ซื้อตอนโปรโมชั่นสิ เพราะว่าจ่ายเท่ากัน แต่ได้เค้กแบบเดียวกัน กลับมามากกว่าตั้งเท่าตัว
ซึ่งก็ถูกต้องครับ โดยสามารถอธิบายได้อีกแบบคือ
คนแรก price ที่จ่ายคือ 30, value ที่ได้รับก็ 30 (ราคาปกติ)
คนที่สอง price ที่จ่ายคือ 30, แต่ value ที่ได้รับคือ 60!!
(ผมจะแทน value ด้วยจำนวนเงินเพื่อให้เข้าใจง่ายเฉยๆน่ะ แต่ในชีวิตจริงๆ มีหลายอย่างที่ value ที่ได้กลับมา ไม่ใช่เงิน หรืออาจถึงกับตีค่าเป็นเงินไม่ได้, อย่าลืมหลักสำคัญว่า value คือสิ่งที่เราได้รับ ซึ่งแต่ละคนแม้ว่าจะได้รับสิ่งเดียวกันมา มันก็อาจจะมี value สำหรับแต่ละคนที่ ไม่เท่ากัน ก็ได้)
หุ้นก็เช่นเดียวกัน หุ้นแต่ละตัวนั้นมี value อย่างนึง และ price ที่ตลาดตั้งให้มันก็เป็นอีกอย่างนึง
แม้จะมีความเกี่ยวโยงกันบ้าง แต่มันไม่ใช่สิ่งเดียวกัน หน้าที่ของ VI ก็คือ ต้องพยายามเข้าซื้อหุ้น ณ เวลาที่ price ที่ตลาดให้ อยู่ต่ำกว่า value ของหุ้นตัวนั้นๆ การซื้อนั้นจึงจะ คุ้มค่า, และเผอิญกว่าสิ่งที่เราคาดหวังจะได้จากหุ้นก็มักจะเป็นตัวเงินอยู่แล้ว (ไม่ว่าจะเป็น ส่วนต่างของราคา หรือ ปันผล) ดังนั้นจึงเข้าใจง่ายกว่าตัวอย่างข้างต้นที่เป็นการซื้อสิ่งของต่างๆในชีวิตประจำวันซะอีก
และด้วยทัศนคติข้อนี้ จะทำให้เราเข้าใจว่า ราคาหุ้น ที่ตลาดให้รายวันนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ต้องไปนั่งสนใจมันมากนัก, เราแค่ดูว่าวันนี้ ราคามันต่ำกว่า มูลค่าที่เหมาะสม ของหุ้นรึยัง ถ้าใช่ก็ซื้อ ถ้าไม่ใช่ก็รอไปวันอื่น, ส่วน มูลค่า หรือ value ของหุ้นแต่ละตัวนั้น ก็ไม่ใช่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงแบบรายวัน การรับรู้ข้อมูลที่เกี่ยวกับ มูลค่า ของหุ้นนั้น ปกติเกิดขึ้นอย่างเร็วก็เป็นรายไตรมาส อย่างช้าก็รายปี (ผมไม่พูดถึงเรื่อง insider เพราะไม่ใช่เรื่องที่คนปกติทำได้) มันไม่มีเหตุผลเลยที่เราจะต้องมาเดือดร้อนกับความผันผวนของราคาที่ตลาดให้กับหุ้นของเราในระยะสั้นๆรายวัน หรือรายสัปดาห์
3. เงินจะมีค่าก็ต่อเมื่อมันใช้ซื้อสิ่งที่เราต้องการได้
มูลค่าของเงินนั้น ไม่ใช่จำนวนว่ามันมีเท่าไหร่ แต่อยู่ที่ว่า มันใช้แลกเปลี่ยนเป็นสิ่งที่เราต้องการได้มากแค่ไหน ข้อนี้อาจจะใช้ขยายความข้อก่อนนี้ วัตถุประสงค์คือ อย่าสับสนเรื่องตัวเลขที่เป็นตัวเงิน กับ คุณค่า หรือ มูลค่า ของสิ่งที่เราจะได้รับ เพราะจริงๆนั้น มูลค่าของเงิน มันก็อ้างอิงขึ้นอยู่กับสิ่งเปรียบเทียบอื่นๆอีกทีเสมอ มันไม่ได้คงที่ ไม่ใช่มาตรวัดแบบมาตรฐาน อย่างเช่นหน่วยเมตร (วัดระยะทาง) หรือหน่วยกรัม (วัดน้ำหนัก) อะไรแบบนั้น
นอกจากนั้น ข้อนี้ยังเตือนใจว่า อย่าให้เงินมาเป็นสิ่งสำคัญเหนือทุกสิ่งในชีวิตของเรา ดูให้ดีๆว่าอะไรกันแน่ที่สำคัญ เงินเป็นเพียงเครื่องมือ อย่าถึงกับเอาความสุขทุกด้านในชีวิตทั้งหมดไปแลกกับมัน ใช้ชีวิตพอดีๆ เพราะชีวิตมีหลายด้านที่ต้องดูแลครับ
4. อย่าซื้อ ในสิ่งที่เราไม่เข้าใจมูลค่าของมัน
การที่เราจะเป็น VI ได้เนี่ย เวลาจะซื้ออะไรซักอย่าง ต้องตั้งคำถามเสมอว่า "มูลค่าที่เหมาะสมของมัน เทียบได้กับราคากี่บาท"
VI ที่ดีต้องซื้อ ของคุณภาพดี ในราคาเหมาะสม หรือ ของดีราคาถูกได้เลยก็ยิ่งดี
เรื่องหุ้นก็เช่นกัน ก่อนซื้อหุ้นแต่ละตัว และ ก่อนที่เราจะมองราคามันบนกระดานด้วย เราต้อง "ประเมินมูลค่า" ของมันออกมาได้ว่า ธุรกิจของหุ้นตัวนี้ เราเห็นว่ามันมีมูลค่าเทียบได้เป็นหุ้นล่ะกี่บาท
ทักษะนี้เป็นทักษะที่สำคัญที่สุดอย่างนึงของเป็น VI
ถ้าใครยังจิ้มซื้อหุ้นไปเลย โดยยังไม่ทันได้ประเมินมูลค่าหุ้นนั้นออกมาจากปัจจัยพื้นฐานต่างๆก่อน นั่นไม่ใช่วิถี VI แน่นอน
5. ในระยะสั้น ตลาดหุ้นเป็นตัวกำหนดราคาหุ้น แต่ในระยะยาว ตลาดหุ้นเป็นตัวสะท้อนมูลค่าของหุ้น
จริงๆข้อนี้นั้น มาจาก quote ของ เบนจามิน เกรแฮม ที่ว่า "ตลาดหุ้นในระยะสั้นเป็นเสมือนเครื่องลงคะแนน แต่ในระยะยาวเป็นเสมือนเครื่องชั่ง"
ซึ่ง ปีเตอร์ ลินซ์ ก็ได้พูดเรื่องนี้ไว้เช่นกัน แต่ด้วยสำนวนที่ต่างออกไปคือ "ในระยะยาวนั้น กราฟราคาหุ้น จะวิ่งไปตามกราฟของผลกำไรเสมอ" (ปีเตอร์ ลินซ์ มองว่า มูลค่าหลักของหุ้น มาจากความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ)
ข้อนี้โดยสรุปคือ ราคาหุ้นระยะสั้นๆนั้น จะวิ่งไปตามการให้ราคาของ Mr.Market ซึ่งก็เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย บางทีให้ราคาถูกๆ แต่แค่ข้ามวันก็ให้ราคาแพงกับหุ้นตัวนั้นซะเฉยๆ เอาแน่เอานอนไม่ได้ แต่ในระยะยาวๆแล้วนั้น ยังไงราคาหุ้นก็จะวิ่งล้อไปในทิศทางเดียวกันกับมูลค่าของหุ้นนั้น เสมอ
ดังนั้น อย่าไปบ้าจี้ตาม Mr.Market กระวนกระวายกับราคาผันผวนรายวัน เพราะพื้นฐานของธุรกิจมันไม่ได้เปลี่ยนกันง่ายๆทุกวันหรือทุกสัปดาห์
VI นั้นต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากอารมณ์แปรปรวนของ Mr.Market ให้เป็น คือวันไหนเขาอารมณ์ไม่ดีให้ราคาหุ้นถูกๆ เราก็ซื้อหุ้นจากเขา วันไหนเขาอารมณ์ดีมากให้ราคาหุ้นสูงๆ เราก็ขายหุ้นให้เขาได้ (หรือบางกรณีอาจจะไม่ขาย อันนี้รายละเอียดไว้ว่ากันทีหลังบทอื่น)
6. หุ้นคือการเป็นส่วนหนึ่ง ของการเป็นเจ้าของธุรกิจ
ซื้อหุ้นให้เหมือนกับเรากำลังจะซื้อธุรกิจ
ถ้าเราทำธุรกิจซักอย่าง เราอยากทำธุรกิจแบบไหน
อาการของธุรกิจแบบไหนที่ถือว่าเป็นธุรกิจดี กำลังรุ่ง, หรืออาการแบบไหนคือธุรกิจกำลังแย่
การมองหุ้นในลักษณะแบบนี้ จะช่วยให้เราเป็นนักลงทุนจริงๆ และไม่ตกไปอยู่ในฐานะนักเก็งกำไร
อีกทั้งการประเมินมูลค่าหุ้นตามหลัก VI ก็เป็นหลักเดียวกันกับการวิเคราะห์ธุรกิจแหละครับ
วางมุมมองกับหุ้นให้ถูก แล้วเราจะรู้เองว่าควรปฏิบัติกับหุ้นนั้นยังไง จึงจะสมเหตุสมผล
7. อย่าให้ความโลภ (หรือความกลัว) อยู่เหนือเหตุผล
การตัดสินใจใดๆ ควรอยู่บน "ข้อเท็จจริง" จากปัจจัยพื้นฐานของหุ้นตัวนั้นๆ
หลายครั้งที่เรามักตัดสินใจผิด เมื่อเราโลภ หรือเรากลัว ตามที่สภาพแวดล้อมของตลาดบงการให้เราเป็น โดยลืมดู "ข้อเท็จจริง" ของปัจจัยพื้นฐาน ของหุ้น ว่ามันเปลี่ยนไปหรือไม่ เป็นไปอย่างที่ตลาดโลภหรือกลัว จริงๆรึเปล่า
8. หมั่นพัฒนาตนเอง และขยันฝึกฝนอยู่เสมอ
ข้อนี้ผมรวบๆ หลายข้อในหนังสือเล่มนั้น ยุบมาเป็นอันเดียวเพราะมันคล้ายๆกัน
มันเป็นหลักการของ ความสำเร็จ ในเกือบทุกๆเรื่อง
คือเราต้องขยันศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ด้านไหนเรายังไม่เก่ง ก็ทำให้มันเก่งขึ้นได้
นอกจากศึกษาทฤษฎีแล้ว ต้องเอาไปใช้ภาคปฏิบัติบ่อยๆ จนมันซึมเข้าจิตใต้สำนึก
ให้เหมือนปั่นจักรยาน ที่ถ้าฝึกปั่นเป็นแล้ว ก็จะไม่ลืมวิธีปั่นจักรยานอีก
9. อย่ายอมขาดทุน, ไม่รวยดีกว่าจน
คำว่าอย่ายอมขาดทุน อาจจะไม่ได้หมายถึงการ cut loss ตามวิธีที่นักเทคนิค ใช้กัน
แต่หมายถึง อย่าซื้อหุ้น ถ้าไม่มั่นใจในผลการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นจริงๆ (อาจจะเพราะมีตัวแปรที่คาดเดาไม่ได้เยอะไป คือความเสี่ยงเยอะไป)
ถ้าเราซื้อหุ้นแล้วระหว่างที่ถือไว้ รู้สึกว่าใจไม่สงบและกังวลเกี่ยวกับหุ้นตัวนั้นอยู่ แปลว่าเรา "ไม่มั่นใจ" อยู่น่ะครับ สังเกตใจตัวเองด้วย
ถ้าไม่มั่นใจก็ขายออกไปก่อนดีกว่าครับ พลาดตกรถ(ไม่รวย) ก็ดีกว่าขาดทุนเพราะเราวิเคราะห์พลาด
หรืออย่าดันทุรังถือหุ้นไว้ ถ้าพบว่าปัจจัยพื้นฐานมันเปลี่ยนไปแล้ว หรือพบว่าที่ผ่านมานั้น ตัวเองวิเคราะห์ผิดไป
กรณีนี้ต่อให้ขาดทุนไปแล้วก็ต้องขายหุ้นนั้นทิ้งแบบไม่เกี่ยงราคา อย่าหลอกตัวเองว่ามันอาจจะกลับมาใหม่ เพราะนั่นเป็นหนทางแห่งดอยอันหนาวเหน็บ
คำว่า ตกรถ หรือ ขายหมู นี่มันเป็นกับดักที่จะทำให้เราผิดวินัยในการเป็นนักลงทุน VI ได้ง่ายมาก
การกลัวตกรถ มันจะทำให้เราซื้อ แม้จะไม่ควรซื้อ (คือ ยังวิเคราะห์ไม่ละเอียดดี หรือ ซื้อในราคาแพงกว่ามูลค่าที่ประเมินได้)
การกลัวขายหมู มันจะทำให้เราไม่ขาย ในเวลาที่ควรจะขาย (เพราะคิดว่ามันจะไปต่อ แล้วอยู่ๆก็แปลงร่างเป็นนักดูกราฟ เสียการเสียงานอีก)
....
จบละครับ สำหรับบทนี้ :)
ขออภัยด้วยที่ดอง blog ไปซะนาน เผอิญมีเรื่องยุ่งๆเข้ามาในชีวิต
นี่เลยต้องศึกษาพวกเทคนิคด้าน time management แล้วฝึกใช้ไปด้วย รู้สึกว่าชีวิตมีอะไรต้องทำเยอะเกิน ทำไม่ค่อยจะทันเหมือนกัน
ตอนนั้นผมกำลัง สับสน ตามประสาเม่าฝึกหัด ที่รู้สึกว่าวิธีการลงทุนที่ใช้อยู่มันค่อนข้างเป็นผลเสียกับการทำงานประจำมาก คือเรากระสับกระส่ายจะดูราคาหุ้นตลอดเวลา สมาธิกับงานก็เลยไม่ดี งานออกมาแย่ เลยต้องลองตั้งคำถามและทบทวนตัวเองว่า เรากำลังเดินถูกทางอยู่รึเปล่า
ตอนนั้นวิธีการที่ผมใช้อยู่ เป็นการใช้เรื่องกราฟเทคนิคและการเก็งกำไรต่างๆ จึงเริ่มสงสัยและคลางแคลงใจ ว่ามันน่าจะไม่เหมาะกับมนุษย์เงินเดือนอย่างเราซะแล้ว ถ้ามันกระทบการทำงานแบบนั้น
คนเล่นสายเทคนิคฯ ก็อาจแย้งว่าถ้าทำเป็นจริงๆมันใช้เวลาแป้บเดียวไม่กระทบงาน
แต่เอาเป็นว่าผมพยายามแล้ว แล้วรู้สึกว่ามันไม่สามารถไปถึงจุดที่ว่านั้นได้ เหตุผลก็คือ มันเต็มไปด้วยความ ไม่แน่นอน หากกราฟเปลี่ยน
เราต้องตอบสนองได้ทันควัน ไม่งั้นเราก็เสียหาย
ซึ่งนั่นเลยทำให้เราพยายามจะแว้บไปดูกราฟบ่อยๆ และดูแต่ละครั้งก็ต้องคิดว่าจะเอาไงกันแน่
เพราะหลายๆครั้งและส่วนใหญ่ กราฟมันก็ไม่ได้ชัดขนาดจะฟันธงได้ว่า นี่จะขึ้นแน่
หรือนี่จะลงแน่ๆ (ซึ่งตอนนี้ผมรู้ล่ะว่าทำไม แต่เก็บไว้เล่าตอนอื่น) แถมเรายังมีความลังเลจากข้อมูลอื่นที่ได้ยินมาจาก
ข่าว มาร์ บทวิเคราะห์ ฯลฯ
ยิ่งทำให้ตัดสินใจแต่ละครั้งนั้นเป็นการคิดที่นานและปวดหัวมาก ผมยิ่งเป็นคนนิสัยคิดเยอะคิดซับซ้อนอยู่แล้วด้วยเลยไปกันใหญ่
ตอนนั้นได้ยินว่ามันมีวิธีการลงทุนอีกแนวทางนึงเรียกว่า
VI ซึ่งไม่ต้องมาดูกราฟและปวดหัวแบบนี้
แต่ต้องไปใช้เวลามากกับการดูพื้นฐานกิจการต่างๆแทน จึงคิดว่าลองศึกษาดู
เผื่อจะทำให้ชีวิตเราดีขึ้น ไม่ปวดหัวทุกวันอย่างที่เป็นอยู่
ผมจึงลอง search ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับเรื่องนี้ สิ่งที่เจอ นั้นมีทั้งแบบที่พอเข้าใจได้ง่ายๆอย่างเรื่องการดู P/E, P/BV หรือการหาเอาจากชีวิตประจำวันว่าอะไรที่คนนิยมซื้อนิยมใช้กัน
และยังมีเรื่องที่ชวนปวดหัวอย่างวิธีที่เรียกว่า Discount Cash Flow อีก (ซึ่ง ณ เวลานั้นผมคิดว่ามันยุ่งยากไปเลยไม่ใส่ใจมันเลย)
พอผมได้ลองใช้วิธี VI อย่างง่ายๆพวกการดูค่า P/E และ P/BV มาตรวจสอบหุ้นในพอร์ตตัวเอง ก็เจอกับอะไรที่น่าตกใจคือ หุ้นเกือบทุกตัว ทำไม P/E หรือ P/BV มันสูงกว่าที่บทความ VI เขาว่ากันไปเกือบหมด
หุ้นที่ถือช่วงนั้น ซึ่งแรกๆก็ซื้อตามมาร์แหละครับ พวก HMPRO, BCH, NUSA, MBK, AYUD ฯลฯ (มั่วไปหลายอยู่) มีตัวเดียวที่พอ OK คือ MBK ที่ตอนนั้น P/BV ยังต่ำมากคืออยู่แถวๆ 1 เอง
ซึ่งพอเห็นอย่างนั้นเลยต้องปรับอะไรหลายอย่าง (แต่บางตัวถือติดพอร์ตไว้เพราะเชื่อในเรื่อง story ของอนาคตที่ดี ตามที่มาร์บอก... เผอิญตอนนั้นยังเป็นเด็กติดมาร์อยู่)
ผมลองหาซื้อหุ้นเองตามหลัก VI เท่าที่รู้อยู่ตอนนั้น (ซึ่งมองย้อนกลับไปนี่รู้สึกว่ารู้น้อยมาก โชคดีตลาดกระทิงไม่งั้นคงเจ็บตัวแน่) ไปเจอ INTUCH ซึ่งรู้สึกว่าพื้นฐานตัวเลขอะไรๆมันดูดีมาก เลยโทรไปถามมาร์ว่าตัวนี้ดีรึเปล่า ซึ่งก็ OK แม้โดยส่วนตัวรู้สึกว่ามันยังแอบแพงไปหน่อย คือเราคาดหวังว่าราคาน่าซื้อน่าจะ 63 บาท แต่ราคาตอนนั้นมันไป 75 อะไรแล้ว แต่ด้วยความอ่อนประสบการณ์ตอนนั้นคือรู้สึกว่า ต้องหาซื้ออะไรซักอย่างติดมือให้ได้ ไม่อยากปล่อยเงินไว้เฉยๆ
(ผมว่ามือใหม่ทุกคนน่าจะเคยเจออารมณ์แบบนี้น่ะ คือทนอยู่เฉยๆไม่ได้ทั้งที่ควรอยู่เฉยๆ :P) ก็เลยซื้อไปเพราะมันดูดีสุด ณ เวลานั้น ผมย้ำอีกทีว่านี่คืออดีตผ่านไปนานหลายปีแล้ว อย่าลอกไปทำตามน่ะครับ เพราะตอนนั้นความรู้ผมยังถือว่าอ่อนด้อยมากอยู่ นอกจากนั้นก็มีหุ้นที่เข้าข่าย P/E , P/BV ต่ำหลายตัวที่ลองซื้อช่วงนั้น แต่ก็มักถือไม่นานเพราะศรัทธาในวิธีนี้อาจจะยังไม่ดีด้วยมั้ง พอเราไม่มั่นใจ หรือราคามันลงนิดๆหน่อยติดตัวแดง ก็ใจฝ่อไม่กล้าถือต่อล่ะ
ซึ่งจากการพยายามเปลี่ยนแปลงครั้งนั้น ทำให้รู้สึกชีวิตเริ่มจะมีความปกติสุขกลับมาบ้าง แต่ว่า ก็ยังไม่ดีพออยู่ดี คือก็ยังติดนิสัยดูกราฟ และเวลาราคาหุ้นลงมาต่ำกว่า avg. cost ของหุ้นเราจนติดตัวแดงๆ ก็จะเป็นทุกข์เป็นร้อนว่าจะทำไงกับมันดี จะซื้อถัวดีมั้ย และถ้ามันลงต่อล่ะจะทำยังไง ฯลฯ สรุปสุขภาพจิตดีขึ้นนิดนึงครับ แต่เรารู้สึกว่าน่าจะดีได้มากกว่านี้ ทำให้เราเบาใจได้มากกว่านี้ โดยเฉพาะตอนกลางปี 2013 นั้น เกิดปรากฏการณ์ที่ตลาดอยู่ๆก็เหมือนจะเกิดการปรับฐานแรงครั้งนึง คือจากที่เคยบูมสุดขีดต่อกันมาหลายปี อยู่ๆก็ร่วงมาค่อนข้างเยอะมาก คนเล่นหุ้นก็อกสั่นขวัญเสียกันใหญ่ เรียกว่าเป็นครั้งแรกที่ผมเห็นสิ่งที่เรียกว่า panic sale เลยก็ว่าได้
จากนั้นเผอิญผมไปเจอหนังสือเล่มนึง
ยืนรออ่านในร้านหนังสือระหว่างรอเพื่อน เป็นหนังสือปกดำชื่อ “รู้ก่อนเล่นหุ้น VI” ซึ่งหลังจากอ่านแล้วทำให้เกิดอาการ ตาสว่าง บางประการขึ้นมา ทำให้รู้ว่าก่อนนั้นถึงจะใช้ P/E , P/BV หาหุ้น
แต่มันยังไม่อาจเรียกว่าเป็น VI ได้เลย เพราะ mindset หรือ ทัศนคติ ของเรายังไม่ได้แบบ VI และผลหลังจากได้เรียนรู้จากการปรับ ทัศนคติ ตามหนังสือเล่มนี้
ทำให้ชีวิตเรากลับมาเป็นปกติสุขขึ้นอีกครั้งอย่างแท้จริง ผมเลิกแว้บมาดูกราฟบ่อยๆ เลิกพะว้าพะวงแม้เวลาตลาดลงแล้วหุ้นเราติดตัวแดงคาพอร์ต และเริ่มเห็นภาพชัดขึ้นว่า VI จริงๆเขามองเหตุการณ์ตรงหน้าอย่างไร ซึ่งพอเรามองได้อย่างที่เขามอง เรื่องการตัดสินใจว่าจะทำอย่างไรในแต่ละเหตุการณ์มันจะง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก
เกริ่นมาซะยาว มาสรุปกันดีกว่าว่า ทัศนคติ แบบ VI ที่ผมได้มาจากหนังสือนั้น มีอะไรบ้าง เฉพาะอันเด่นๆ
หลายๆอันอาจจะคุ้นกันอยู่แล้วเพราะมักจะมาจาก quote ของนักลงทุน VI ชื่อดังต่างๆ นั่นเอง
1. ทัศนคติที่ถูกต้อง สำคัญกว่าเทคนิคที่ถูกต้อง - ข้อนี้นั้น ค่อนข้างจะเป็นปรัชญาซักหน่อย และ ใช้ได้กับทุกๆเรื่องในชีวิตการเรียนรู้ การพัฒนาตัวเอง, เพราะทัศนคตินั้น มักจะเป็นต้นกำเนิดของ ความรู้สึก ความคิด และการกระทำต่างๆในชีวิตประจำวัน (ซึ่งเกี่ยวข้องกับความเจริญก้าวหน้าของชีวิตเราแน่ๆ) ทั้งที่เราอาจจะรู้ตัว หรือไม่รู้ตัว ดังนั้นเรียกว่า ถ้าปลูกฝังทัศนคติที่ดีให้กับตัวเองแล้ว ก็เป็นการวางรากฐานที่แข็งแรงของการพัฒนาตัวเอง และเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง
2. มูลค่า (value) กับ ราคา (price) ไม่ใช่สิ่งเดียวกัน
ข้อนี้เป็นข้อที่ประทับใจผมมากที่สุด
คือ VI จริงๆนั้นมองว่า value คือสิ่งที่เราจะได้รับจากของที่ซื้อ และ price คือสิ่งที่เราต้องจ่าย มันเป็นคนละเรื่องกัน แม้ว่าเรามักจะพูดถึงมันด้วยหน่วยวัดเดียวกันคือ บาท (หรือสกุลเงินตราอื่นๆ)
ตัวอย่างเช่น
สมมุติมีเค้กชิ้นนึง ราคาขายปกติคือ 30 บาท, สมมุติว่าวันนึงร้านนี้จัดโปรโมชั่นพิเศษ ซื้อ 1 ชิ้น
แถมอีก 1 ชิ้น, คำถามคือ คนซื้อเค้กวันแรกที่ชิ้นละ 30 บาท กับคนที่ซื้อวันที่ร้านนี้จัดโปรโมชั่น ซื้อ 1 แถม 1 คุณคิดว่าใครซื้อได้คุ้มค่ามากกว่ากัน ?
คำถามนี้โดย common sense ตอบกันง่ายๆคือ ก็ต้องคนที่ซื้อตอนโปรโมชั่นสิ เพราะว่าจ่ายเท่ากัน แต่ได้เค้กแบบเดียวกัน กลับมามากกว่าตั้งเท่าตัว
ซึ่งก็ถูกต้องครับ โดยสามารถอธิบายได้อีกแบบคือ
คนแรก price ที่จ่ายคือ 30, value ที่ได้รับก็ 30 (ราคาปกติ)
คนที่สอง price ที่จ่ายคือ 30, แต่ value ที่ได้รับคือ 60!!
(ผมจะแทน value ด้วยจำนวนเงินเพื่อให้เข้าใจง่ายเฉยๆน่ะ แต่ในชีวิตจริงๆ มีหลายอย่างที่ value ที่ได้กลับมา ไม่ใช่เงิน หรืออาจถึงกับตีค่าเป็นเงินไม่ได้, อย่าลืมหลักสำคัญว่า value คือสิ่งที่เราได้รับ ซึ่งแต่ละคนแม้ว่าจะได้รับสิ่งเดียวกันมา มันก็อาจจะมี value สำหรับแต่ละคนที่ ไม่เท่ากัน ก็ได้)
หุ้นก็เช่นเดียวกัน หุ้นแต่ละตัวนั้นมี value อย่างนึง และ price ที่ตลาดตั้งให้มันก็เป็นอีกอย่างนึง
แม้จะมีความเกี่ยวโยงกันบ้าง แต่มันไม่ใช่สิ่งเดียวกัน หน้าที่ของ VI ก็คือ ต้องพยายามเข้าซื้อหุ้น ณ เวลาที่ price ที่ตลาดให้ อยู่ต่ำกว่า value ของหุ้นตัวนั้นๆ การซื้อนั้นจึงจะ คุ้มค่า, และเผอิญกว่าสิ่งที่เราคาดหวังจะได้จากหุ้นก็มักจะเป็นตัวเงินอยู่แล้ว (ไม่ว่าจะเป็น ส่วนต่างของราคา หรือ ปันผล) ดังนั้นจึงเข้าใจง่ายกว่าตัวอย่างข้างต้นที่เป็นการซื้อสิ่งของต่างๆในชีวิตประจำวันซะอีก
และด้วยทัศนคติข้อนี้ จะทำให้เราเข้าใจว่า ราคาหุ้น ที่ตลาดให้รายวันนั้น ไม่ใช่สิ่งที่ต้องไปนั่งสนใจมันมากนัก, เราแค่ดูว่าวันนี้ ราคามันต่ำกว่า มูลค่าที่เหมาะสม ของหุ้นรึยัง ถ้าใช่ก็ซื้อ ถ้าไม่ใช่ก็รอไปวันอื่น, ส่วน มูลค่า หรือ value ของหุ้นแต่ละตัวนั้น ก็ไม่ใช่สิ่งที่เปลี่ยนแปลงแบบรายวัน การรับรู้ข้อมูลที่เกี่ยวกับ มูลค่า ของหุ้นนั้น ปกติเกิดขึ้นอย่างเร็วก็เป็นรายไตรมาส อย่างช้าก็รายปี (ผมไม่พูดถึงเรื่อง insider เพราะไม่ใช่เรื่องที่คนปกติทำได้) มันไม่มีเหตุผลเลยที่เราจะต้องมาเดือดร้อนกับความผันผวนของราคาที่ตลาดให้กับหุ้นของเราในระยะสั้นๆรายวัน หรือรายสัปดาห์
3. เงินจะมีค่าก็ต่อเมื่อมันใช้ซื้อสิ่งที่เราต้องการได้
มูลค่าของเงินนั้น ไม่ใช่จำนวนว่ามันมีเท่าไหร่ แต่อยู่ที่ว่า มันใช้แลกเปลี่ยนเป็นสิ่งที่เราต้องการได้มากแค่ไหน ข้อนี้อาจจะใช้ขยายความข้อก่อนนี้ วัตถุประสงค์คือ อย่าสับสนเรื่องตัวเลขที่เป็นตัวเงิน กับ คุณค่า หรือ มูลค่า ของสิ่งที่เราจะได้รับ เพราะจริงๆนั้น มูลค่าของเงิน มันก็อ้างอิงขึ้นอยู่กับสิ่งเปรียบเทียบอื่นๆอีกทีเสมอ มันไม่ได้คงที่ ไม่ใช่มาตรวัดแบบมาตรฐาน อย่างเช่นหน่วยเมตร (วัดระยะทาง) หรือหน่วยกรัม (วัดน้ำหนัก) อะไรแบบนั้น
นอกจากนั้น ข้อนี้ยังเตือนใจว่า อย่าให้เงินมาเป็นสิ่งสำคัญเหนือทุกสิ่งในชีวิตของเรา ดูให้ดีๆว่าอะไรกันแน่ที่สำคัญ เงินเป็นเพียงเครื่องมือ อย่าถึงกับเอาความสุขทุกด้านในชีวิตทั้งหมดไปแลกกับมัน ใช้ชีวิตพอดีๆ เพราะชีวิตมีหลายด้านที่ต้องดูแลครับ
4. อย่าซื้อ ในสิ่งที่เราไม่เข้าใจมูลค่าของมัน
การที่เราจะเป็น VI ได้เนี่ย เวลาจะซื้ออะไรซักอย่าง ต้องตั้งคำถามเสมอว่า "มูลค่าที่เหมาะสมของมัน เทียบได้กับราคากี่บาท"
VI ที่ดีต้องซื้อ ของคุณภาพดี ในราคาเหมาะสม หรือ ของดีราคาถูกได้เลยก็ยิ่งดี
เรื่องหุ้นก็เช่นกัน ก่อนซื้อหุ้นแต่ละตัว และ ก่อนที่เราจะมองราคามันบนกระดานด้วย เราต้อง "ประเมินมูลค่า" ของมันออกมาได้ว่า ธุรกิจของหุ้นตัวนี้ เราเห็นว่ามันมีมูลค่าเทียบได้เป็นหุ้นล่ะกี่บาท
ทักษะนี้เป็นทักษะที่สำคัญที่สุดอย่างนึงของเป็น VI
ถ้าใครยังจิ้มซื้อหุ้นไปเลย โดยยังไม่ทันได้ประเมินมูลค่าหุ้นนั้นออกมาจากปัจจัยพื้นฐานต่างๆก่อน นั่นไม่ใช่วิถี VI แน่นอน
5. ในระยะสั้น ตลาดหุ้นเป็นตัวกำหนดราคาหุ้น แต่ในระยะยาว ตลาดหุ้นเป็นตัวสะท้อนมูลค่าของหุ้น
จริงๆข้อนี้นั้น มาจาก quote ของ เบนจามิน เกรแฮม ที่ว่า "ตลาดหุ้นในระยะสั้นเป็นเสมือนเครื่องลงคะแนน แต่ในระยะยาวเป็นเสมือนเครื่องชั่ง"
ซึ่ง ปีเตอร์ ลินซ์ ก็ได้พูดเรื่องนี้ไว้เช่นกัน แต่ด้วยสำนวนที่ต่างออกไปคือ "ในระยะยาวนั้น กราฟราคาหุ้น จะวิ่งไปตามกราฟของผลกำไรเสมอ" (ปีเตอร์ ลินซ์ มองว่า มูลค่าหลักของหุ้น มาจากความสามารถในการทำกำไรของธุรกิจ)
ข้อนี้โดยสรุปคือ ราคาหุ้นระยะสั้นๆนั้น จะวิ่งไปตามการให้ราคาของ Mr.Market ซึ่งก็เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย บางทีให้ราคาถูกๆ แต่แค่ข้ามวันก็ให้ราคาแพงกับหุ้นตัวนั้นซะเฉยๆ เอาแน่เอานอนไม่ได้ แต่ในระยะยาวๆแล้วนั้น ยังไงราคาหุ้นก็จะวิ่งล้อไปในทิศทางเดียวกันกับมูลค่าของหุ้นนั้น เสมอ
ดังนั้น อย่าไปบ้าจี้ตาม Mr.Market กระวนกระวายกับราคาผันผวนรายวัน เพราะพื้นฐานของธุรกิจมันไม่ได้เปลี่ยนกันง่ายๆทุกวันหรือทุกสัปดาห์
VI นั้นต้องรู้จักใช้ประโยชน์จากอารมณ์แปรปรวนของ Mr.Market ให้เป็น คือวันไหนเขาอารมณ์ไม่ดีให้ราคาหุ้นถูกๆ เราก็ซื้อหุ้นจากเขา วันไหนเขาอารมณ์ดีมากให้ราคาหุ้นสูงๆ เราก็ขายหุ้นให้เขาได้ (หรือบางกรณีอาจจะไม่ขาย อันนี้รายละเอียดไว้ว่ากันทีหลังบทอื่น)
6. หุ้นคือการเป็นส่วนหนึ่ง ของการเป็นเจ้าของธุรกิจ
ซื้อหุ้นให้เหมือนกับเรากำลังจะซื้อธุรกิจ
ถ้าเราทำธุรกิจซักอย่าง เราอยากทำธุรกิจแบบไหน
อาการของธุรกิจแบบไหนที่ถือว่าเป็นธุรกิจดี กำลังรุ่ง, หรืออาการแบบไหนคือธุรกิจกำลังแย่
การมองหุ้นในลักษณะแบบนี้ จะช่วยให้เราเป็นนักลงทุนจริงๆ และไม่ตกไปอยู่ในฐานะนักเก็งกำไร
อีกทั้งการประเมินมูลค่าหุ้นตามหลัก VI ก็เป็นหลักเดียวกันกับการวิเคราะห์ธุรกิจแหละครับ
วางมุมมองกับหุ้นให้ถูก แล้วเราจะรู้เองว่าควรปฏิบัติกับหุ้นนั้นยังไง จึงจะสมเหตุสมผล
7. อย่าให้ความโลภ (หรือความกลัว) อยู่เหนือเหตุผล
การตัดสินใจใดๆ ควรอยู่บน "ข้อเท็จจริง" จากปัจจัยพื้นฐานของหุ้นตัวนั้นๆ
หลายครั้งที่เรามักตัดสินใจผิด เมื่อเราโลภ หรือเรากลัว ตามที่สภาพแวดล้อมของตลาดบงการให้เราเป็น โดยลืมดู "ข้อเท็จจริง" ของปัจจัยพื้นฐาน ของหุ้น ว่ามันเปลี่ยนไปหรือไม่ เป็นไปอย่างที่ตลาดโลภหรือกลัว จริงๆรึเปล่า
8. หมั่นพัฒนาตนเอง และขยันฝึกฝนอยู่เสมอ
ข้อนี้ผมรวบๆ หลายข้อในหนังสือเล่มนั้น ยุบมาเป็นอันเดียวเพราะมันคล้ายๆกัน
มันเป็นหลักการของ ความสำเร็จ ในเกือบทุกๆเรื่อง
คือเราต้องขยันศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาตัวเองอยู่เสมอ ด้านไหนเรายังไม่เก่ง ก็ทำให้มันเก่งขึ้นได้
นอกจากศึกษาทฤษฎีแล้ว ต้องเอาไปใช้ภาคปฏิบัติบ่อยๆ จนมันซึมเข้าจิตใต้สำนึก
ให้เหมือนปั่นจักรยาน ที่ถ้าฝึกปั่นเป็นแล้ว ก็จะไม่ลืมวิธีปั่นจักรยานอีก
9. อย่ายอมขาดทุน, ไม่รวยดีกว่าจน
คำว่าอย่ายอมขาดทุน อาจจะไม่ได้หมายถึงการ cut loss ตามวิธีที่นักเทคนิค ใช้กัน
แต่หมายถึง อย่าซื้อหุ้น ถ้าไม่มั่นใจในผลการวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของหุ้นจริงๆ (อาจจะเพราะมีตัวแปรที่คาดเดาไม่ได้เยอะไป คือความเสี่ยงเยอะไป)
ถ้าเราซื้อหุ้นแล้วระหว่างที่ถือไว้ รู้สึกว่าใจไม่สงบและกังวลเกี่ยวกับหุ้นตัวนั้นอยู่ แปลว่าเรา "ไม่มั่นใจ" อยู่น่ะครับ สังเกตใจตัวเองด้วย
ถ้าไม่มั่นใจก็ขายออกไปก่อนดีกว่าครับ พลาดตกรถ(ไม่รวย) ก็ดีกว่าขาดทุนเพราะเราวิเคราะห์พลาด
หรืออย่าดันทุรังถือหุ้นไว้ ถ้าพบว่าปัจจัยพื้นฐานมันเปลี่ยนไปแล้ว หรือพบว่าที่ผ่านมานั้น ตัวเองวิเคราะห์ผิดไป
กรณีนี้ต่อให้ขาดทุนไปแล้วก็ต้องขายหุ้นนั้นทิ้งแบบไม่เกี่ยงราคา อย่าหลอกตัวเองว่ามันอาจจะกลับมาใหม่ เพราะนั่นเป็นหนทางแห่งดอยอันหนาวเหน็บ
คำว่า ตกรถ หรือ ขายหมู นี่มันเป็นกับดักที่จะทำให้เราผิดวินัยในการเป็นนักลงทุน VI ได้ง่ายมาก
การกลัวตกรถ มันจะทำให้เราซื้อ แม้จะไม่ควรซื้อ (คือ ยังวิเคราะห์ไม่ละเอียดดี หรือ ซื้อในราคาแพงกว่ามูลค่าที่ประเมินได้)
การกลัวขายหมู มันจะทำให้เราไม่ขาย ในเวลาที่ควรจะขาย (เพราะคิดว่ามันจะไปต่อ แล้วอยู่ๆก็แปลงร่างเป็นนักดูกราฟ เสียการเสียงานอีก)
....
จบละครับ สำหรับบทนี้ :)
ขออภัยด้วยที่ดอง blog ไปซะนาน เผอิญมีเรื่องยุ่งๆเข้ามาในชีวิต
นี่เลยต้องศึกษาพวกเทคนิคด้าน time management แล้วฝึกใช้ไปด้วย รู้สึกว่าชีวิตมีอะไรต้องทำเยอะเกิน ทำไม่ค่อยจะทันเหมือนกัน
วันเสาร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2558
แค่เปลี่ยน mindset ชีวิตก็เปลี่ยนได้ทั้งชีวิต
บทความดีๆครับ ปรับ mindset เพื่อพัฒนาตัวเอง
http://www.a-academy.net/blog/growth-vs-fixed-mindset/
การลงทุนไม่มีทางจะประสบความสำเร็จได้ ในคนที่
- ไม่ลงทุนในความรู้ของตัวเอง
- มองเหตุการณ์ไม่ออก วิเคราะห์เหตุการณ์เองไม่ได้
- ตัดสินใจอย่างเหมาะสม ด้วยตัวเองไม่เป็น
- ไม่ลงมือทำอย่างสม่ำเสมอ
ดังนั้น การลงทุนในตัวเอง ให้มีความรู้ความสามารถเพียงพอ จึงสำคัญที่สุด
และต้องมีการศึกษายิบย่อย เพิ่มเติมเรื่อยๆ อีกตลอดชีวิต
คนทีี่ด่วนตัดสินว่า ฉันทำนั่นไม่ได้ ฉันทำนี่ไม่ได้ ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่ mindset
- หลายคน ยังไม่ได้แม้แต่ลองทำ
- คนที่ลองทำ ก็ยังไม่ได้ลองพยายามให้มากพอ
- หรือ พอมองเห็นว่าต้องพัฒนาอะไรอีกเยอะมาก ก็เกิดอาการ "ขี้เกียจ" จึงเข้าโหมดปิดกั้นการเรียนรู้เอาดื้อๆ แล้วหวังว่าจะมีใครซักคนที่มาช่วยทำสิ่งเหล่านั้นแทน และนำมาป้อนให้ถึงปากแบบฟรีๆ
ลองมองอีกมุมนึง
ถ้าเป็นเรา แล้วไปเจอคนที่มีอาการแบบนั้น โดยเฉพาะข้อสุดท้าย เราจะอยากเข้าไปช่วยเขารึเปล่า ? (ชัวร์ว่าไม่แน่ๆ และผมเกลียดคนแบบนั้นมากด้วย)
ทุกๆคน ต่างก็มีเป้าหมาย มีหน้าที่ ของตัวเอง ในการทำมาหาเลี้ยงชีวิต
เวลาในชีวิตที่เหลืออยู่และผ่านไปทุกวินาที ของทุกคน ล้วนเป็น ต้นทุน แบบนึง และทุกๆคนต่างก็รักและหวงแหนสิ่งนี้
ดังนั้น แม้แต่การจะขอเวลาของคนอื่นแม้เพียงนาที เพื่อให้เขามาทำอะไรซักอย่างให้เรา โดยที่เขาไม่ได้อะไรตอบแทน จึงเป็นสิ่งที่ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วย ว่าเขาสะดวกหรือไม่แค่ไหน
การช่วยเหลือเผื่อแผ่ เป็นเรื่องดีครับ แต่เฉพาะเมื่อมันเป็นไปด้วยความสมัครใจ และไม่กระทบกับเป้าหมายชีวิตของตัวผู้ให้เอง
ดังนั้น ถ้าเอาใจเขามาใส่ใจเรา ก็จะทำให้เราเห็นใจ เข้าใจ และพยายามด้วยตัวเองได้มากขึ้น
และไม่คาดหวังจะเอาอะไรๆ จากคนอื่น มากเกินไป
ในขณะเดียวกัน เมื่อเรามีอะไรพอจะช่วยคนอื่นได้ ในระดับที่ไม่ทำให้เราเดือดร้อน หรือกระทบเป้าหมายชีวิตของตัวเอง เราก็จะช่วยคนอื่นได้บ้างด้วย แทนที่จะเป็นผู้รับเพียงอย่างเดียว
การเป็นผู้ให้บ้าง เราก็จะเกิดความภาคภูมิใจในตัวเองอีกด้วย
(เพราะเป็นการตอบสนอง need ด้านบนสุดของมนุษย์ : ผมแนะนำให้ศึกษาเรื่อง hierarchy of needs pyramid ของ มาสโลว์ ดูครับ มันเป็นกฏธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน)
และจิตของการเป็นผู้ให้บ้าง เป็นสิ่งที่ควรเลี้ยงดูมันให้คงมีอยู่ในใจ ของคนที่ต้องการจะเป็นคนมั่งมี และประสบความสำเร็จทุกคน
เหตุผลก็คือ
คนที่ไม่มีจิตของผู้ให้เลย แม้แต่เรื่องเล็กน้อย นั้นไม่มีทางสำเร็จ หรือรวยได้
ศาสดาสำคัญๆของโลก ต่างยืนยันในเรื่องนี้
และแม้แต่ กูรูการเงินของโลกหลายคน ก็พูดถึงเรื่องนี้ เช่น ลี-กา-ชิง, โรเบิร์ต คิโยซากิ, และหนังสือ how to การสร้างเนื้อสร้างตัวหลายเล่ม ต่างพูดถึงเรื่องนี้
ชีวิตที่เป็นได้ทั้ง ผู้ให้ และ ผู้รับ
นั่นน่าจะเป็นชีวิตแบบที่หลายคนฝันถึงมากกว่า จริงมั้ยครับ :)
ดังนั้น เริ่มเปลี่ยนและปลูกฝัง mindset ดีๆให้ตัวเองกันตั้งแต่วันนี้เลยครับ อย่ารอช้า, อนาคตดีๆรอคุณอยู่
http://www.a-academy.net/blog/growth-vs-fixed-mindset/
การลงทุนไม่มีทางจะประสบความสำเร็จได้ ในคนที่
- ไม่ลงทุนในความรู้ของตัวเอง
- มองเหตุการณ์ไม่ออก วิเคราะห์เหตุการณ์เองไม่ได้
- ตัดสินใจอย่างเหมาะสม ด้วยตัวเองไม่เป็น
- ไม่ลงมือทำอย่างสม่ำเสมอ
ดังนั้น การลงทุนในตัวเอง ให้มีความรู้ความสามารถเพียงพอ จึงสำคัญที่สุด
และต้องมีการศึกษายิบย่อย เพิ่มเติมเรื่อยๆ อีกตลอดชีวิต
คนทีี่ด่วนตัดสินว่า ฉันทำนั่นไม่ได้ ฉันทำนี่ไม่ได้ ส่วนใหญ่เป็นปัญหาที่ mindset
- หลายคน ยังไม่ได้แม้แต่ลองทำ
- คนที่ลองทำ ก็ยังไม่ได้ลองพยายามให้มากพอ
- หรือ พอมองเห็นว่าต้องพัฒนาอะไรอีกเยอะมาก ก็เกิดอาการ "ขี้เกียจ" จึงเข้าโหมดปิดกั้นการเรียนรู้เอาดื้อๆ แล้วหวังว่าจะมีใครซักคนที่มาช่วยทำสิ่งเหล่านั้นแทน และนำมาป้อนให้ถึงปากแบบฟรีๆ
ลองมองอีกมุมนึง
ถ้าเป็นเรา แล้วไปเจอคนที่มีอาการแบบนั้น โดยเฉพาะข้อสุดท้าย เราจะอยากเข้าไปช่วยเขารึเปล่า ? (ชัวร์ว่าไม่แน่ๆ และผมเกลียดคนแบบนั้นมากด้วย)
ทุกๆคน ต่างก็มีเป้าหมาย มีหน้าที่ ของตัวเอง ในการทำมาหาเลี้ยงชีวิต
เวลาในชีวิตที่เหลืออยู่และผ่านไปทุกวินาที ของทุกคน ล้วนเป็น ต้นทุน แบบนึง และทุกๆคนต่างก็รักและหวงแหนสิ่งนี้
ดังนั้น แม้แต่การจะขอเวลาของคนอื่นแม้เพียงนาที เพื่อให้เขามาทำอะไรซักอย่างให้เรา โดยที่เขาไม่ได้อะไรตอบแทน จึงเป็นสิ่งที่ต้องเอาใจเขามาใส่ใจเราด้วย ว่าเขาสะดวกหรือไม่แค่ไหน
การช่วยเหลือเผื่อแผ่ เป็นเรื่องดีครับ แต่เฉพาะเมื่อมันเป็นไปด้วยความสมัครใจ และไม่กระทบกับเป้าหมายชีวิตของตัวผู้ให้เอง
ดังนั้น ถ้าเอาใจเขามาใส่ใจเรา ก็จะทำให้เราเห็นใจ เข้าใจ และพยายามด้วยตัวเองได้มากขึ้น
และไม่คาดหวังจะเอาอะไรๆ จากคนอื่น มากเกินไป
ในขณะเดียวกัน เมื่อเรามีอะไรพอจะช่วยคนอื่นได้ ในระดับที่ไม่ทำให้เราเดือดร้อน หรือกระทบเป้าหมายชีวิตของตัวเอง เราก็จะช่วยคนอื่นได้บ้างด้วย แทนที่จะเป็นผู้รับเพียงอย่างเดียว
การเป็นผู้ให้บ้าง เราก็จะเกิดความภาคภูมิใจในตัวเองอีกด้วย
(เพราะเป็นการตอบสนอง need ด้านบนสุดของมนุษย์ : ผมแนะนำให้ศึกษาเรื่อง hierarchy of needs pyramid ของ มาสโลว์ ดูครับ มันเป็นกฏธรรมชาติของมนุษย์ทุกคน)
และจิตของการเป็นผู้ให้บ้าง เป็นสิ่งที่ควรเลี้ยงดูมันให้คงมีอยู่ในใจ ของคนที่ต้องการจะเป็นคนมั่งมี และประสบความสำเร็จทุกคน
เหตุผลก็คือ
คนที่ไม่มีจิตของผู้ให้เลย แม้แต่เรื่องเล็กน้อย นั้นไม่มีทางสำเร็จ หรือรวยได้
ศาสดาสำคัญๆของโลก ต่างยืนยันในเรื่องนี้
และแม้แต่ กูรูการเงินของโลกหลายคน ก็พูดถึงเรื่องนี้ เช่น ลี-กา-ชิง, โรเบิร์ต คิโยซากิ, และหนังสือ how to การสร้างเนื้อสร้างตัวหลายเล่ม ต่างพูดถึงเรื่องนี้
ชีวิตที่เป็นได้ทั้ง ผู้ให้ และ ผู้รับ
นั่นน่าจะเป็นชีวิตแบบที่หลายคนฝันถึงมากกว่า จริงมั้ยครับ :)
ดังนั้น เริ่มเปลี่ยนและปลูกฝัง mindset ดีๆให้ตัวเองกันตั้งแต่วันนี้เลยครับ อย่ารอช้า, อนาคตดีๆรอคุณอยู่
วันอาทิตย์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2558
ศุกร์ทมิฬที่ผ่านมา กับวันจันทร์ที่กำลังจะมาถึง
ตลอดสัปดาห์ทีี่ผ่านมา โดยเฉพาะ วันศุกร์ 21 ส.ค. 2015 ที่ผ่านมานั้น เกิดเหตุการณ์ที่ชวนขนลุกสำหรับนักลงทุน และโดยเฉพาะนักเก็งกำไรหลายคน เพราะมีเหตุการณ์ร้ายและข่าวร้ายหลายอย่างโผล่มาพร้อมกันคือ
- กรีซ นายกลาออก (เหมือนจะโดนคนในพรรคไล่)
- เกาหลี เหนือ - ใต้ ยิงถล่มกันตรงแนวชายแดน ด้วยปืนใหญ่
- ดาวน์โจนส์ ดิ่งเหว (หลังตลาดไทยปิดไปแล้ว ^^! )
- น้ำมัน ก็ดิ่ง (จะทะลุแนว 40$ ) ล่ะ
ผมเอง ปกติตัดรอบบัญชีเพื่อวัดผลและตรวจสุขภาพทางการเงิน ทุกๆวันที่ 19 ของเดือน เลยได้เห็นว่า NAV ของกองทุนหุ้นนี่มันดิ่งเหวอย่างโหดจริงๆ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา นี่ขนาดยังไม่เจอข่าวร้ายของวันศุกร์ เลยน่ะ
ผมว่าเวลาแบบนี้ เป็นบททดสอบความแข็งแกร่ง และกึ๋นความเป็นนักลงทุนแบบ VI ได้ดี ว่าเราจะทนได้นานแค่ไหน เมื่อเห็นมูลค่าพอร์ตหดตัวลงเรื่อยๆ และค่อนข้างมาก
ถ้าใจยังไม่แกร่งพอ อาจจะทนไม่ได้จนขายตัดขาดทุนออกมา ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่นักเก็งกำไรจะทำกัน
บัฟเฟต เคยกล่าวไว้ทำนองว่า "หากทนไม่ได้ที่เห็นหุ้นที่ถืออยู่ ราคาตกลงไปกว่า 50% ก็ไม่ควรเข้ามาอยู่ในตลาดหุ้นแต่แรก"
คุณ โจ ลูกอีสาน ก็เคยว่าไว้ว่า "การขายหุ้นตอนที่ตลาดหุ้นตกลงมาอย่างหนัก ถือเป็นการละเมิดศีลที่สำคัญที่สุดของการเป็น VI"
ความหมายคือ VI จะต้องคิดตั้งแต่ตอนซื้อ และกำไรตั้งแต่ตอนซื้อ เพราะเงื่อนไขการซื้อมีเพียงว่า จะซื้อก็ต่อเมื่อ ราคาลงมาต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานที่เหมาะสมของกิจการนั้นๆ เท่านั้น และกิจการต้องถูกวิเคราะห์มาอย่างดี ว่าสามารถทนต่อสภาพเศรษฐกิจแย่ๆในหลายรูปแบบได้ มีผลประกอบการที่สม่ำเสมอในระยะยาวๆ (7 ปีขึ้นไป ตามวิธีของเกรเฮม) มีปันผลที่ดี ผู้บริหารเป็นคนดีและคนเก่ง
และเมื่อซื้อหุ้นด้วยเงื่อนไขนี้ การตกลงของราคาตลาด ทั้งๆที่พื้นฐานกิจการนั้นเอง ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไป จึงไม่ได้เป็นเหตุผลที่ควรจะต้องขายแม้แต่น้อย ในทางกลับกัน มันคือโอกาสของการซื้อเพิ่ม (แต่จะรอลงสุดก่อนก็ได้น่ะ ผมคิดว่าน่าจะยังไม่สุด หรือใช้วิธีทยอยหลายๆไม้ ยาวซัก 1 ปีเพื่อลดความเสี่ยงก็เป็นกลยุทธ์ที่ดีครับ)
และนี่ก็เป็นการวัดความเข้าใจและพลังใจที่ดี ว่าเราเองนั้นเป็น VI ได้มากน้อยแค่ไหนแล้ว
;
สำหรับกองทุนรวมหุ้นต่างๆ นั้น ผมคิดว่า เหมาะกับกลยุทธ์การลงทุนแบบ passive (คือทำ Dollar Cost Average) มากกว่าจะไปเล่นแบบอื่น เพราะจะไปประเมินมูลค่าแบบที่ทำกับหุ้นจริงๆก็ไม่ได้หรือค่อนข้างยาก หรือจะเล่นเทคนิคก็ไม่ได้เพราะการตอบสนองต่อคำสั่งซื้อขายของเรานั้น ช้าเกินกว่าจะทำจังหวะได้ทันการตามระบบที่วางไว้
แต่การลงทุนแบบนี้มีข้อดีคือ ค่อนข้างมีความเสี่ยงต่ำ โดยเฉพาะ ถ้ากองทุนหุ้นเป็นกองดัชนีตัวใหญ่อันดับต้นๆของตลาด มันค่อนข้างมั่นใจได้ว่ากองทุนล้มยากและโอกาสมูลค่าเหลือ 0 นั้นแทบเป็นไปไม่ได้ ผมนึกไม่ออกเลยว่า SET50 หรือ SET100 นั้น บริษัททั้งหมดในนั้นจะเจ๊งพร้อมกันได้ยังไง
และวิธีนี้ยังเป็นวิธีที่ บัฟเฟตฯ แนะนำ สำหรับคนที่อยากลงทุนหุ้นแต่ไม่มีความรู้ใดๆเลย การทำ DCA ในกองทุนหุ้นดัชนี ก็เป็นทางเลือกทีี่ดี มีข้อแม้นิดหน่อยว่าตอนออกตัวเริ่มแรก ไม่ควรออกตัวทำ DCA ตอนที่ตลาดทั้งตลาดแพงมากๆ (ลองดู P/E เฉลี่ยย้อนหลังของตลาดซัก 10 ปี ก็เป็นเกณอ้างอิงที่ดี) แม้ว่าการเริ่มตอนตลาดแพงมันจะทำได้ แต่มันจะเหนื่อยกว่าและอาจต้องทนเห็นพอร์ตขาดทุนระยะยาวนาน (อาจหลายปี) กว่ามาก
และเช่นเดียวกัน หากตัดสินใจใช้วิธีนี้แล้ว คุณต้องรักษาวินัยในการทำ DCA อย่างเคร่งครัดต่อให้ตลาดตกลงมาต่ำมากๆ ก็ยังคงแข็งใจถัว DCA ต่อไป
สำหรับวันจันทร์ที่จะมาถึงนี้ ผมก็คิดว่า
คงต้องพยายาม วางใจ วางทัศนคติให้ถูกต้อง และนึกถึงหลักการให้ดีๆแม่นๆ อย่าไขว้เขว
แล้วระยะยาว น่าจะดีเอง
ขอให้โชคดี รักษาสุขภาพกายสุขภาพใจให้แข็งแรงทุกคนนะครับ
- กรีซ นายกลาออก (เหมือนจะโดนคนในพรรคไล่)
- เกาหลี เหนือ - ใต้ ยิงถล่มกันตรงแนวชายแดน ด้วยปืนใหญ่
- ดาวน์โจนส์ ดิ่งเหว (หลังตลาดไทยปิดไปแล้ว ^^! )
- น้ำมัน ก็ดิ่ง (จะทะลุแนว 40$ ) ล่ะ
ผมเอง ปกติตัดรอบบัญชีเพื่อวัดผลและตรวจสุขภาพทางการเงิน ทุกๆวันที่ 19 ของเดือน เลยได้เห็นว่า NAV ของกองทุนหุ้นนี่มันดิ่งเหวอย่างโหดจริงๆ ในสัปดาห์ที่ผ่านมา นี่ขนาดยังไม่เจอข่าวร้ายของวันศุกร์ เลยน่ะ
ผมว่าเวลาแบบนี้ เป็นบททดสอบความแข็งแกร่ง และกึ๋นความเป็นนักลงทุนแบบ VI ได้ดี ว่าเราจะทนได้นานแค่ไหน เมื่อเห็นมูลค่าพอร์ตหดตัวลงเรื่อยๆ และค่อนข้างมาก
ถ้าใจยังไม่แกร่งพอ อาจจะทนไม่ได้จนขายตัดขาดทุนออกมา ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่นักเก็งกำไรจะทำกัน
บัฟเฟต เคยกล่าวไว้ทำนองว่า "หากทนไม่ได้ที่เห็นหุ้นที่ถืออยู่ ราคาตกลงไปกว่า 50% ก็ไม่ควรเข้ามาอยู่ในตลาดหุ้นแต่แรก"
คุณ โจ ลูกอีสาน ก็เคยว่าไว้ว่า "การขายหุ้นตอนที่ตลาดหุ้นตกลงมาอย่างหนัก ถือเป็นการละเมิดศีลที่สำคัญที่สุดของการเป็น VI"
ความหมายคือ VI จะต้องคิดตั้งแต่ตอนซื้อ และกำไรตั้งแต่ตอนซื้อ เพราะเงื่อนไขการซื้อมีเพียงว่า จะซื้อก็ต่อเมื่อ ราคาลงมาต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐานที่เหมาะสมของกิจการนั้นๆ เท่านั้น และกิจการต้องถูกวิเคราะห์มาอย่างดี ว่าสามารถทนต่อสภาพเศรษฐกิจแย่ๆในหลายรูปแบบได้ มีผลประกอบการที่สม่ำเสมอในระยะยาวๆ (7 ปีขึ้นไป ตามวิธีของเกรเฮม) มีปันผลที่ดี ผู้บริหารเป็นคนดีและคนเก่ง
และเมื่อซื้อหุ้นด้วยเงื่อนไขนี้ การตกลงของราคาตลาด ทั้งๆที่พื้นฐานกิจการนั้นเอง ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไป จึงไม่ได้เป็นเหตุผลที่ควรจะต้องขายแม้แต่น้อย ในทางกลับกัน มันคือโอกาสของการซื้อเพิ่ม (แต่จะรอลงสุดก่อนก็ได้น่ะ ผมคิดว่าน่าจะยังไม่สุด หรือใช้วิธีทยอยหลายๆไม้ ยาวซัก 1 ปีเพื่อลดความเสี่ยงก็เป็นกลยุทธ์ที่ดีครับ)
และนี่ก็เป็นการวัดความเข้าใจและพลังใจที่ดี ว่าเราเองนั้นเป็น VI ได้มากน้อยแค่ไหนแล้ว
;
สำหรับกองทุนรวมหุ้นต่างๆ นั้น ผมคิดว่า เหมาะกับกลยุทธ์การลงทุนแบบ passive (คือทำ Dollar Cost Average) มากกว่าจะไปเล่นแบบอื่น เพราะจะไปประเมินมูลค่าแบบที่ทำกับหุ้นจริงๆก็ไม่ได้หรือค่อนข้างยาก หรือจะเล่นเทคนิคก็ไม่ได้เพราะการตอบสนองต่อคำสั่งซื้อขายของเรานั้น ช้าเกินกว่าจะทำจังหวะได้ทันการตามระบบที่วางไว้
แต่การลงทุนแบบนี้มีข้อดีคือ ค่อนข้างมีความเสี่ยงต่ำ โดยเฉพาะ ถ้ากองทุนหุ้นเป็นกองดัชนีตัวใหญ่อันดับต้นๆของตลาด มันค่อนข้างมั่นใจได้ว่ากองทุนล้มยากและโอกาสมูลค่าเหลือ 0 นั้นแทบเป็นไปไม่ได้ ผมนึกไม่ออกเลยว่า SET50 หรือ SET100 นั้น บริษัททั้งหมดในนั้นจะเจ๊งพร้อมกันได้ยังไง
และวิธีนี้ยังเป็นวิธีที่ บัฟเฟตฯ แนะนำ สำหรับคนที่อยากลงทุนหุ้นแต่ไม่มีความรู้ใดๆเลย การทำ DCA ในกองทุนหุ้นดัชนี ก็เป็นทางเลือกทีี่ดี มีข้อแม้นิดหน่อยว่าตอนออกตัวเริ่มแรก ไม่ควรออกตัวทำ DCA ตอนที่ตลาดทั้งตลาดแพงมากๆ (ลองดู P/E เฉลี่ยย้อนหลังของตลาดซัก 10 ปี ก็เป็นเกณอ้างอิงที่ดี) แม้ว่าการเริ่มตอนตลาดแพงมันจะทำได้ แต่มันจะเหนื่อยกว่าและอาจต้องทนเห็นพอร์ตขาดทุนระยะยาวนาน (อาจหลายปี) กว่ามาก
และเช่นเดียวกัน หากตัดสินใจใช้วิธีนี้แล้ว คุณต้องรักษาวินัยในการทำ DCA อย่างเคร่งครัดต่อให้ตลาดตกลงมาต่ำมากๆ ก็ยังคงแข็งใจถัว DCA ต่อไป
สำหรับวันจันทร์ที่จะมาถึงนี้ ผมก็คิดว่า
คงต้องพยายาม วางใจ วางทัศนคติให้ถูกต้อง และนึกถึงหลักการให้ดีๆแม่นๆ อย่าไขว้เขว
แล้วระยะยาว น่าจะดีเอง
ขอให้โชคดี รักษาสุขภาพกายสุขภาพใจให้แข็งแรงทุกคนนะครับ
ป้ายกำกับ:
กลยุทธ์,
ข่าว,
วิธีการ,
วิธีรับมือ,
สัพเพเหระรอบตัว,
หลักการ,
หลักการ vi,
หุ้นตก
วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2558
การทำบัญชีส่วนบุคคล จุดเริ่มต้นของทุกความมั่งคั่ง
หัวข้อเรื่องนี้มันเกร่อมาก กลัวว่าเล่าไปก็เหมือนเอามะพร้าวห้าวไปขายสวน แต่จะละเลยก็ไม่ได้ เพราะมันสำคัญจริงๆ
เราทุกคนแน่นอนว่าต้องเคยเรียนวิธีทำบัญชีรายรับรายจ่ายกันมาแล้ว จากวิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียน เป็นการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งนั่นถือเป็นข่าวดีอย่างนึง
แต่ข่าวร้ายคือ น้อยคนที่เอาไปใช้ในชีวิตจริงของตัวเอง
และถ้าตั้งเป้าจะเป็นคนรวยให้ได้แล้ว คุณจะพบอีกด้วยว่า ลำพังบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างเดียวนั้น ยังไม่เพียงพอจะเอาไปใช้กับ เทคนิคการบริหารเงินเพื่อความมั่งคั่งต่างๆ ได้มากนัก คุณจำเป็นต้อง พัฒนาต่อยอดระบบบัญชีของคุณ ไปสู่ระดับสูงยิ่งกว่านั้น
ตัวอย่างเช่น
ถ้าเราตั้งเป้าออมเงินไปลงทุนให้ได้เดือนล่ะ 20% ของรายรับ โดยต้องหักไปออมทันที เหลือเท่าไหร่จึงเอาไปใช้จ่าย ตามสูตรที่หลายแห่งสอนกัน แต่ทันทีที่คิดจะทำ ความ "กังวล" ก็จะผุดขึ้นมาต่างๆ เช่น
- ออมขนาดนั้น แล้วจะเหลือพอใช้เหรอ ปกติก่อนเงินเดือนออกทีไรก็แกลบตลอด
- ถ้า 20% ไม่เหมาะกับเรา (อาจจะมากไป หรือ น้อยไป) แล้วเท่าไหร่ถึงจะเหมาะ
เพื่อจะข้ามปัญหานี้ไปได้และประยุกต์หลักการบริหารเงินข้างต้นได้สำเร็จ สิ่งที่เราต้องรู้ก่อนคือ 1). รายจ่ายประจำที่ จำเป็นจริงๆของเรา มีอะไรบ้าง 2). รายจ่ายประจำเหล่านั้น หักลบกับรายได้แล้ว เหลืออยู่กี่บาท โดยเฉลี่ย ( แนะนำว่าควรดูย้อนหลังซัก 6 เดือน จะได้ตัวเลขที่เหมาะกับความเป็นจริงของตัวเรา)
จะเห็นได้ว่า เป็นไปไม่ได้เลย ที่จะตอบคำถามพวกนี้ ถ้าเราไม่ทำบัญชีส่วนบุคคลของเราอย่างถูกต้อง และย้อนหลังเป็นเวลานานเพียงพอ
อีกตัวอย่างนึง
เราได้ยินหลักการบริหารทรัพย์สิน ที่เรียกว่า asset allocation มา คือ การจัดแจงประเภทของทรัพย์สินประเภทต่างๆ ให้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมอยู่เสมอตามแผนที่วางไว้ จะสามารถนำความั่งคั่งมาให้เราได้ (เช่น เงินสด 10%, ฝากประจำ 20%, หุ้น 50%, กองทุนตราสารหนี้ 20% .. เลขพวกนี้ผมสมมุติขึ้นมา แต่ละคนอาจวางแผนไม่เหมือนกันก็ได้)
คำถามที่จะเกิดขึ้นมาทันทีเลยคือ 1). ตอนนี้พอร์ตของเรา มีความมั่งคั่งอยู่เท่าไหร่ 2). สัดส่วนเป็นแบบไหน เหมือนหรือต่างจากแผนไปแค่ไหน
หากเราไม่ได้ทำบัญชีส่วนบุคคลมาก่อน ซึ่งในตัวอย่างนี้เป็นส่วนของ งบดุล (เริ่มเป็นอะไรที่ล้ำไปกว่าบัญชีรายรับรายจ่ายแล้วน่ะครับ) เราจะตอบคำถามเหล่านั้นไม่ได้ และเมื่อเป็นเช่นนั้น การนำเทคนิคข้างต้นไปประยุกต์ใช้จริง ก็เกิดขึ้นไม่ได้ด้วย
;
;
;
สรุปอย่างสั้นที่สุดของบทนี้คือ
เราจะบริหารการเงินของตัวเองได้ยังไง ถ้าไม่รู้เรื่องการเงินของตัวเองเลย?
การทำบัญชีเท่านั้น ที่ทำให้รู้ว่าการเงินของตัวเองเป็นยังไง แล้วนั่นจะทำให้เราสามารถบริหารเงิน และความมั่งคั่งของเราได้
สิ่งนี้เป็น must คือ "ต้องทำ" เพราะมันเป็นรากฐาน เป็น platform ของทุกๆสิ่งที่จะนำไปสู่ความมั่งคั่งของเรา
ดังนั้น หากใครยังไม่ทำ ผมแนะนำว่าควรเริ่มทำตั้งแต่วันนี้ เอาแค่แบบบัญชีรายรับจ่ายแบบเบสิก ที่เคยเรียนมากันก่อนก็ได้
แล้วลองศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บที่สอนเรื่องนี้ เช่น http://www.a-academy.net/s02-personal-fin-statement/
(แต่บัญชีผมเองก็ไม่ทำเยอะถึงกับเป็นงบการเงินน่ะ เพราะรู้สึกเยอะไป :P เอาแค่เฉพาะที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ เช่น รายรับรายจ่าย, งบดุล, และกองงบประมาณด้านต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนั้นจะมีการตัดรอบบัญชีอยู่ 2 แบบคือ รายเดือน กับ รายปี และทุกการตัดรอบบัญชี จะมีการประเมินผลตัวผมเองว่า ความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นลดลงอย่างไร เราบริหารดีแค่ไหน รายจ่ายแต่ละประเภทเป็นยังไง ราวๆนี้)
และเมื่อคุณได้ลองทำๆบัญชีไปซักระยะ คุณจะอยากเติมนู่นเติมนี่ พัฒนามันขึ้นไปเรื่อยๆ ตามโจทย์ทางการเงินใหม่ๆที่มันเข้ามาในชีวิตคุณเอง
ซึ่งเครื่องมือที่ช่วยในการทำบัญชีนั้น ผมแนะนำพวก Microsoft Excel สำหรับงานนี้
หรือโปรแกรม spreadsheet อื่นๆ ที่คล้ายกัน อย่างพวก Open office calc ก็ได้
คุณจำเป็น ที่จะต้องมีทักษะการใช้โปรแกรม spreadsheet ในการช่วยทำบัญชีเหล่านี้ มันเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าแน่นอน พวกนักลงทุนต้นแบบที่เราเห็นๆกันตามทีวี ผมไม่เชื่อว่าจะมีคนไหนที่ยังทำบัญชีด้วยกระดาษอยู่ มันยุ่งยากมากและไม่ทันกินเอาซะเลย
สำหรับทักษะการใช้โปรแกรมพวกนี้ เราสามารถหาศึกษาได้จาก google หรือใน youtube ถ้าลองหาด้วยคำว่า "excel tutorial" ก็มีหลายคลิปที่สามารถศึกษาได้ทันที
โปรแกรม spreadsheet อื่นๆที่มีในตลาดตอนนี้ ส่วนใหญ่ วิธีใช้งานก็ถอดแบบมาจาก excel กันทั้งนั้น คุณสามารถศึกษา excel แต่ไปใช้โปรแกรมตัวอื่นก็ได้เช่นกันครับ
=============
พูดคุยกันท้ายตอน
ทีแรกผมคิดว่า จะไล่เรียงเนื้อหาในการอัพ blog ไปเรื่อยๆ แบบเรื่องต่อเรื่องต่อยอดไปตามลำดับ
แต่ดูท่าทางแล้ว กว่าจะไปถึงส่วนที่คนอยากจะอ่านจริงๆ พวกการลงทุนหุ้นต่างๆ ท่าทางจะนาน ก็ไม่รู้ว่าจะอัพแบบกระโดดไปมา ไม่เรียงลำดับ จะงงรึเปล่าน่ะ
บางครั้งก็อาจจะเห็นผมอัพอะไรที่มันเป็นไอเดียที่ผุดขึ้นมากับเหตุการณ์ช่วงนั้นๆแทน เป็นการเบรกออกจากโหมดวิชาการบ้าง หรือถ้าอยากรู้เรื่องไหนเป็นพิเศษก็ถามกันเข้ามาได้ครับ
เราทุกคนแน่นอนว่าต้องเคยเรียนวิธีทำบัญชีรายรับรายจ่ายกันมาแล้ว จากวิชาคณิตศาสตร์ในโรงเรียน เป็นการศึกษาภาคบังคับ ซึ่งนั่นถือเป็นข่าวดีอย่างนึง
แต่ข่าวร้ายคือ น้อยคนที่เอาไปใช้ในชีวิตจริงของตัวเอง
และถ้าตั้งเป้าจะเป็นคนรวยให้ได้แล้ว คุณจะพบอีกด้วยว่า ลำพังบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างเดียวนั้น ยังไม่เพียงพอจะเอาไปใช้กับ เทคนิคการบริหารเงินเพื่อความมั่งคั่งต่างๆ ได้มากนัก คุณจำเป็นต้อง พัฒนาต่อยอดระบบบัญชีของคุณ ไปสู่ระดับสูงยิ่งกว่านั้น
ตัวอย่างเช่น
ถ้าเราตั้งเป้าออมเงินไปลงทุนให้ได้เดือนล่ะ 20% ของรายรับ โดยต้องหักไปออมทันที เหลือเท่าไหร่จึงเอาไปใช้จ่าย ตามสูตรที่หลายแห่งสอนกัน แต่ทันทีที่คิดจะทำ ความ "กังวล" ก็จะผุดขึ้นมาต่างๆ เช่น
- ออมขนาดนั้น แล้วจะเหลือพอใช้เหรอ ปกติก่อนเงินเดือนออกทีไรก็แกลบตลอด
- ถ้า 20% ไม่เหมาะกับเรา (อาจจะมากไป หรือ น้อยไป) แล้วเท่าไหร่ถึงจะเหมาะ
เพื่อจะข้ามปัญหานี้ไปได้และประยุกต์หลักการบริหารเงินข้างต้นได้สำเร็จ สิ่งที่เราต้องรู้ก่อนคือ 1). รายจ่ายประจำที่ จำเป็นจริงๆของเรา มีอะไรบ้าง 2). รายจ่ายประจำเหล่านั้น หักลบกับรายได้แล้ว เหลืออยู่กี่บาท โดยเฉลี่ย ( แนะนำว่าควรดูย้อนหลังซัก 6 เดือน จะได้ตัวเลขที่เหมาะกับความเป็นจริงของตัวเรา)
จะเห็นได้ว่า เป็นไปไม่ได้เลย ที่จะตอบคำถามพวกนี้ ถ้าเราไม่ทำบัญชีส่วนบุคคลของเราอย่างถูกต้อง และย้อนหลังเป็นเวลานานเพียงพอ
อีกตัวอย่างนึง
เราได้ยินหลักการบริหารทรัพย์สิน ที่เรียกว่า asset allocation มา คือ การจัดแจงประเภทของทรัพย์สินประเภทต่างๆ ให้อยู่ในสัดส่วนที่เหมาะสมอยู่เสมอตามแผนที่วางไว้ จะสามารถนำความั่งคั่งมาให้เราได้ (เช่น เงินสด 10%, ฝากประจำ 20%, หุ้น 50%, กองทุนตราสารหนี้ 20% .. เลขพวกนี้ผมสมมุติขึ้นมา แต่ละคนอาจวางแผนไม่เหมือนกันก็ได้)
คำถามที่จะเกิดขึ้นมาทันทีเลยคือ 1). ตอนนี้พอร์ตของเรา มีความมั่งคั่งอยู่เท่าไหร่ 2). สัดส่วนเป็นแบบไหน เหมือนหรือต่างจากแผนไปแค่ไหน
หากเราไม่ได้ทำบัญชีส่วนบุคคลมาก่อน ซึ่งในตัวอย่างนี้เป็นส่วนของ งบดุล (เริ่มเป็นอะไรที่ล้ำไปกว่าบัญชีรายรับรายจ่ายแล้วน่ะครับ) เราจะตอบคำถามเหล่านั้นไม่ได้ และเมื่อเป็นเช่นนั้น การนำเทคนิคข้างต้นไปประยุกต์ใช้จริง ก็เกิดขึ้นไม่ได้ด้วย
;
;
;
สรุปอย่างสั้นที่สุดของบทนี้คือ
เราจะบริหารการเงินของตัวเองได้ยังไง ถ้าไม่รู้เรื่องการเงินของตัวเองเลย?
การทำบัญชีเท่านั้น ที่ทำให้รู้ว่าการเงินของตัวเองเป็นยังไง แล้วนั่นจะทำให้เราสามารถบริหารเงิน และความมั่งคั่งของเราได้
สิ่งนี้เป็น must คือ "ต้องทำ" เพราะมันเป็นรากฐาน เป็น platform ของทุกๆสิ่งที่จะนำไปสู่ความมั่งคั่งของเรา
ดังนั้น หากใครยังไม่ทำ ผมแนะนำว่าควรเริ่มทำตั้งแต่วันนี้ เอาแค่แบบบัญชีรายรับจ่ายแบบเบสิก ที่เคยเรียนมากันก่อนก็ได้
แล้วลองศึกษาเพิ่มเติมจากเว็บที่สอนเรื่องนี้ เช่น http://www.a-academy.net/s02-personal-fin-statement/
(แต่บัญชีผมเองก็ไม่ทำเยอะถึงกับเป็นงบการเงินน่ะ เพราะรู้สึกเยอะไป :P เอาแค่เฉพาะที่จำเป็นต้องใช้จริงๆ เช่น รายรับรายจ่าย, งบดุล, และกองงบประมาณด้านต่างๆ ซึ่งทั้งหมดนั้นจะมีการตัดรอบบัญชีอยู่ 2 แบบคือ รายเดือน กับ รายปี และทุกการตัดรอบบัญชี จะมีการประเมินผลตัวผมเองว่า ความมั่งคั่งเพิ่มขึ้นลดลงอย่างไร เราบริหารดีแค่ไหน รายจ่ายแต่ละประเภทเป็นยังไง ราวๆนี้)
และเมื่อคุณได้ลองทำๆบัญชีไปซักระยะ คุณจะอยากเติมนู่นเติมนี่ พัฒนามันขึ้นไปเรื่อยๆ ตามโจทย์ทางการเงินใหม่ๆที่มันเข้ามาในชีวิตคุณเอง
ซึ่งเครื่องมือที่ช่วยในการทำบัญชีนั้น ผมแนะนำพวก Microsoft Excel สำหรับงานนี้
หรือโปรแกรม spreadsheet อื่นๆ ที่คล้ายกัน อย่างพวก Open office calc ก็ได้
คุณจำเป็น ที่จะต้องมีทักษะการใช้โปรแกรม spreadsheet ในการช่วยทำบัญชีเหล่านี้ มันเป็นการลงทุนที่คุ้มค่าแน่นอน พวกนักลงทุนต้นแบบที่เราเห็นๆกันตามทีวี ผมไม่เชื่อว่าจะมีคนไหนที่ยังทำบัญชีด้วยกระดาษอยู่ มันยุ่งยากมากและไม่ทันกินเอาซะเลย
สำหรับทักษะการใช้โปรแกรมพวกนี้ เราสามารถหาศึกษาได้จาก google หรือใน youtube ถ้าลองหาด้วยคำว่า "excel tutorial" ก็มีหลายคลิปที่สามารถศึกษาได้ทันที
โปรแกรม spreadsheet อื่นๆที่มีในตลาดตอนนี้ ส่วนใหญ่ วิธีใช้งานก็ถอดแบบมาจาก excel กันทั้งนั้น คุณสามารถศึกษา excel แต่ไปใช้โปรแกรมตัวอื่นก็ได้เช่นกันครับ
=============
พูดคุยกันท้ายตอน
ทีแรกผมคิดว่า จะไล่เรียงเนื้อหาในการอัพ blog ไปเรื่อยๆ แบบเรื่องต่อเรื่องต่อยอดไปตามลำดับ
แต่ดูท่าทางแล้ว กว่าจะไปถึงส่วนที่คนอยากจะอ่านจริงๆ พวกการลงทุนหุ้นต่างๆ ท่าทางจะนาน ก็ไม่รู้ว่าจะอัพแบบกระโดดไปมา ไม่เรียงลำดับ จะงงรึเปล่าน่ะ
บางครั้งก็อาจจะเห็นผมอัพอะไรที่มันเป็นไอเดียที่ผุดขึ้นมากับเหตุการณ์ช่วงนั้นๆแทน เป็นการเบรกออกจากโหมดวิชาการบ้าง หรือถ้าอยากรู้เรื่องไหนเป็นพิเศษก็ถามกันเข้ามาได้ครับ
ป้ายกำกับ:
การลงทุน,
งบการเงิน,
บัญชี,
วิธีการ,
หลักการ,
excel,
how to,
investment,
spreadsheet
วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2558
การลงทุน คืออะไร ทำไมต้องลงทุน
หลายครั้ง เรามีบางสิ่งที่อยากจะทำ หรือมีความจำเป็นต้องไปทำ แต่พอคิดจะไปทำมันทีไร ก็พบว่า มันต้องไปทำ ณ เวลาทำงาน working hour ของเราเท่านั้น หรือไม่ก็ต้องล้มเลิกมันไปด้วยเหตุผลว่า ไม่มีเงิน และไม่มีเวลา
มันเป็นอะไรที่น่าหงุดหงิดมากๆ
"ถ้าเรารวย และมีเวลาว่างมากๆ ก็คงดี" ผมคิดอย่างงั้น (และหลายๆคนก็คงคิดเหมือนกัน)
ผมพยายามหาทางว่า ทำยังไงจะรวยและมีเวลาว่างเยอะๆ ได้ จนไปได้แนวคิดสำคัญที่เป็นตัวจุดประกาย จากหนังสือตระกูล พ่อรวยสอนลูก (เขียนโดย โรเบิร์ต คิโยซากิ) ซึ่งเป็นเหมือนจุดเริ่มต้น ให้ผมได้เริ่มพยายามหาความรู้เรื่อง การเงิน และ การลงทุน
ซึ่งพอมองออกไปดูว่า คนรวยๆระดับประเทศหรือระดับโลก เขาทำอะไรกันถึงได้รวย มันก็สอดคล้องไปในทางเดียวกันคือ ถ้าไม่ใช่ด้วยการสร้างธุรกิจ ก็ต้องด้วยโลกแห่งการลงทุน
พอผมมองสำรวจตัวเองแล้ว ก็คิดว่าไปทางการลงทุนน่าจะดีกว่า
แล้วผมก็ได้เข้าสู่โลกของการลงทุน นับแต่นั้น
การลงทุนคืออะไร ?
ตามความเข้าใจผมเองนั้น การลงทุน คือ การจ่าย/ให้ บางอย่างออกไป โดยคาดหวังประโยชน์ในอนาคตที่จะได้รับกลับมา ทั้งทางตรง และทางอ้อม, โดยสิ่งที่(อาจ)จะได้กลับมานั้นก็เป็น "ทุน" (ซึ่งควรมากกว่าทุนตั้งต้น) ที่สามารถนำไปใช้สอย หรือต่อยอดไปได้อีก
บางคนอาจสงสัยว่า มันคือการแลกเปลี่ยนอะไรซักอย่างกลับมา เหมือนการซื้อขายทั่วๆไปงั้นรึเปล่า?
ตอบว่า มันมีทั้งส่วนที่เหมือนและไม่เหมือน เพราะบางครั้งการลงทุนสิ่งที่ได้กลับมาเป็นนามธรรม แต่เอาไปใช้ประโยชน์ต่อได้ก็มีเหมือนกัน และโดยปกติแล้วการลงทุนนั้น สิ่งที่ได้กลับมาต้องไม่ใช่สิ่งที่ใช้แล้วหมดไป ซึ่งถ้าไปแลกอะไรซักอย่างกลับมาแล้วเป็นสิ่งที่เราเอามาใช้แล้วมันก็จะหมดไปนั้น มันจะเป็นการ บริโภค ไม่ใช่การลงทุน
และการลงทุนนั้น มักจะมี “ความเสี่ยง” แถมมาให้ด้วยเสมอ อย่างที่เห็นในคำนิยามข้างต้น ความเสี่ยงมันซ่อนอยู่ในวงเล็บที่แทรกอยู่นั่นแหละครับ
ความเสี่ยงนั้นคือ เราลงทุนไปนั้น ท้ายที่สุดอาจจะได้คืนมา มากกว่าเดิม, เท่าๆเดิม, น้อยกว่าเดิม หรือแม้แต่มันหายไปซะดื้อๆก็เป็นไปได้กับการลงทุนบางอย่าง ... แน่นอนว่าเราควรจะมุ่งหวังให้มันมากกว่าเดิมดีกว่าน่ะ ซึ่งเดี๋ยวจะศึกษากันในบทต่อๆไปว่าแล้วทำไงจะทำให้เรามีโอกาสได้ มากกว่าเสีย
แล้วถ้าไม่มีเงิน จะลงทุนได้รึเปล่า?
คำตอบคือ ได้ครับ
เพราะนิยามของคำว่า “ทุน” นั้น ไม่ใช่แค่ตัวเงินหรือทรัพย์สินมีค่าเท่านั้น ความหมายมันกว้างกว่านั้นมาก คือ
ทุน - หมายถึง สิ่งใดๆที่เรามีอยู่ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งเราสามารถใช้(หรือจ่าย) มันเพื่อบรรลุเป้าหมายบางอย่างได้
ตัวอย่างของ ทุน คือ เงิน, แรงงาน, ความรู้, ทักษะ, เวลาว่าง(ที่ยังไม่ได้จัดสรรงานอะไรลงไป), สุขภาพ, สิ่งของ, เครื่องมือ, สิทธิ์, ฯลฯ
มีเพจของคุณ Tactschool ได้ทำการ์ตูนอธิบายเรื่อง ทุน นี้ไว้ให้เข้าใจง่ายๆและครบถ้วนอยู่ ผมแนะนำให้ลองอ่านดู จะช่วยเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆได้มากครับ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.742152012547166.1073741860.341438109285227&type=3
แต่ผมก็ยอมรับว่า ถ้าเราพัฒนาตัวเองขึ้นเรื่อยๆถึงจุดนึง จุดที่จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ มันคือจุดที่เรามีเงินเหลือเก็บมากพอ พอที่จะเริ่มต้นลงทุนด้วยเงินได้ จุดนี้แหละเป็นระดับ เกือบ ท้ายสุดของการลงทุนล่ะ แล้วผมจะโฟกัสเนื้อหาตรงนี้เป็นหลัก เพราะส่วนใหญ่จะข้าม level นี้กันได้ยาก เพราะมีเรื่องต้องศึกษาทฤษฎี ฝึกปรือภาคปฏิบัติ กันค่อนข้างเยอะและใช้เวลานาน ซึ่งถ้าไม่มีคู่มือหรือคนแนะนำดีๆ มันจะยิ่งเสียเวลานานขึ้นไปอีก
ถึงคำถามสำคัญคือ แล้วทำไมต้องลงทุนด้วยล่ะ?
เหตุผลอาจจะสรุปได้ดังนี้
1. เพื่อรักษาหรือเพิ่มพูนสิ่งที่อุตส่าห์เก็บหอมรอมริบมา
สิ่งที่เรียกว่าทุน หากเก็บไว้เฉยๆ มักจะเสื่อมค่าลงไป - เช่น เงินสดก็มีมูลค่าลดลงเรื่อยจากเงินเฟ้อ, ทรัพย์สินก็เก่าและชำรุดพังไป, ร่างกายก็เสื่อมลงไปเรื่อย, ความรู้ก็หลงลืมไปได้ เป็นต้น
โดยเฉพาะผลจาก "เงินเฟ้อ" นี่ค่อนข้างร้ายกาจ แม้คุณจะเห็นตัวเลขเงินเฟ้อโดยปกติเฉลี่ยแถวๆ 3-4% (ไม่นับช่วงวิกฤติเงินฝืดน่ะ เช่นปัจจุบันนี้) แต่สิ่งที่หลายคนลืมนึกถึงคือ เงินเฟ้อเอง ก็จัดเป็น ดอกเบี้ยทบต้น ประเภทนึงน่ะ แต่เป็นทางด้านตรงข้ามกับการลงทุน และอะไรก็ตามที่เป็นลักษณะดอกเบี้ยทบต้น เมื่อคูณเวลาที่ผ่านไปเรื่อยซักระยะนึง ผลลัพธ์มันน่ากลัวเสมอ เราจึงต้องหาทางสร้าง ดอกเบี้ยทบต้น ในทางบวก เอาไปสู้กับมัน
2. เพื่อความมั่นคง และอิสระ ในชีวิต
โดยการได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน (financial freedom) นั่นเอง ซึ่งจะมีประโยชน์มากมาย ตัวอย่างเช่น
- ได้เวลากลับคืนมาวันล่ะ 8 ชม. และ ไม่ต้องพะวงคิดเรื่องการหาเงิน แต่เอาเวลาไปคิดทำอะไรสร้างสรรค์ให้ชีวิตดีกว่า (ความฝันอะไรที่เคยปล่อยให้มันหลุดมือไปจากการเป็นผู้ใหญ่วัยทำงาน จะได้กู้กลับมาก็คราวนี้แหละครับ)
- สำหรับคนวัยเกษียณแล้ว ก็จะไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายว่าจะเอาอะไรกินอยู่ดี ตลอดชีวิตที่เหลืออยู่ แถมต้องมีค่ารักษาพยาบาลตามมาอีกมาก ณ วัยนั้น
บางคนอาจคิดว่า ก็ให้ลูกหลานเลี้ยงก็ได้ คืออย่าคิดงั้นครับ เชยมาก และเมื่อถึงเวลานั้น เขาจะรู้สึกแย่กับตัวเองด้วยที่ตัวเองเป็นภาระมากกว่าจะช่วยอะไรลูกหลานได้ (เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่อยากจะได้รับการยอมรับนับถือ ทั้งจากคนอื่น และนับถือตัวเองด้วย) และโลกยุคอนาคตยิ่งไกลออกไป ผมเห็นว่าสภาพเศรษฐกิจโลกทั้งหมด จะมีความเข้มงวดและตึงมือมากขึ้นสำหรับทุกคน ตามจำนวนประชากรโลกที่มากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นลูกหลานท่านแค่เอาตัวให้รอดได้ก็คงหืดขึ้นคอ เราควรเตรียมพร้อมสำหรับตัวเองดีกว่า คือเราควรมี "แผนสำรอง" สำหรับชีวิตอยู่เสมอครับ แล้วชีวิตที่เหลืออยู่จะได้มีความสงบสุขในชีวิต เอาเวลาไปทำอะไรที่อยากทำ ดีกว่าครับ
ถึงตรงนี้ เราก็รู้แล้วว่า การลงทุนคืออะไร และเหตุผลว่าทำไมต้องลงทุน
บทถัดไปน่าจะได้เริ่มลงเนื้อหาจริงๆกันซักทีครับ :)
มันเป็นอะไรที่น่าหงุดหงิดมากๆ
"ถ้าเรารวย และมีเวลาว่างมากๆ ก็คงดี" ผมคิดอย่างงั้น (และหลายๆคนก็คงคิดเหมือนกัน)
ผมพยายามหาทางว่า ทำยังไงจะรวยและมีเวลาว่างเยอะๆ ได้ จนไปได้แนวคิดสำคัญที่เป็นตัวจุดประกาย จากหนังสือตระกูล พ่อรวยสอนลูก (เขียนโดย โรเบิร์ต คิโยซากิ) ซึ่งเป็นเหมือนจุดเริ่มต้น ให้ผมได้เริ่มพยายามหาความรู้เรื่อง การเงิน และ การลงทุน
ซึ่งพอมองออกไปดูว่า คนรวยๆระดับประเทศหรือระดับโลก เขาทำอะไรกันถึงได้รวย มันก็สอดคล้องไปในทางเดียวกันคือ ถ้าไม่ใช่ด้วยการสร้างธุรกิจ ก็ต้องด้วยโลกแห่งการลงทุน
พอผมมองสำรวจตัวเองแล้ว ก็คิดว่าไปทางการลงทุนน่าจะดีกว่า
แล้วผมก็ได้เข้าสู่โลกของการลงทุน นับแต่นั้น
การลงทุนคืออะไร ?
ตามความเข้าใจผมเองนั้น การลงทุน คือ การจ่าย/ให้ บางอย่างออกไป โดยคาดหวังประโยชน์ในอนาคตที่จะได้รับกลับมา ทั้งทางตรง และทางอ้อม, โดยสิ่งที่(อาจ)จะได้กลับมานั้นก็เป็น "ทุน" (ซึ่งควรมากกว่าทุนตั้งต้น) ที่สามารถนำไปใช้สอย หรือต่อยอดไปได้อีก
บางคนอาจสงสัยว่า มันคือการแลกเปลี่ยนอะไรซักอย่างกลับมา เหมือนการซื้อขายทั่วๆไปงั้นรึเปล่า?
ตอบว่า มันมีทั้งส่วนที่เหมือนและไม่เหมือน เพราะบางครั้งการลงทุนสิ่งที่ได้กลับมาเป็นนามธรรม แต่เอาไปใช้ประโยชน์ต่อได้ก็มีเหมือนกัน และโดยปกติแล้วการลงทุนนั้น สิ่งที่ได้กลับมาต้องไม่ใช่สิ่งที่ใช้แล้วหมดไป ซึ่งถ้าไปแลกอะไรซักอย่างกลับมาแล้วเป็นสิ่งที่เราเอามาใช้แล้วมันก็จะหมดไปนั้น มันจะเป็นการ บริโภค ไม่ใช่การลงทุน
และการลงทุนนั้น มักจะมี “ความเสี่ยง” แถมมาให้ด้วยเสมอ อย่างที่เห็นในคำนิยามข้างต้น ความเสี่ยงมันซ่อนอยู่ในวงเล็บที่แทรกอยู่นั่นแหละครับ
ความเสี่ยงนั้นคือ เราลงทุนไปนั้น ท้ายที่สุดอาจจะได้คืนมา มากกว่าเดิม, เท่าๆเดิม, น้อยกว่าเดิม หรือแม้แต่มันหายไปซะดื้อๆก็เป็นไปได้กับการลงทุนบางอย่าง ... แน่นอนว่าเราควรจะมุ่งหวังให้มันมากกว่าเดิมดีกว่าน่ะ ซึ่งเดี๋ยวจะศึกษากันในบทต่อๆไปว่าแล้วทำไงจะทำให้เรามีโอกาสได้ มากกว่าเสีย
แล้วถ้าไม่มีเงิน จะลงทุนได้รึเปล่า?
คำตอบคือ ได้ครับ
เพราะนิยามของคำว่า “ทุน” นั้น ไม่ใช่แค่ตัวเงินหรือทรัพย์สินมีค่าเท่านั้น ความหมายมันกว้างกว่านั้นมาก คือ
ทุน - หมายถึง สิ่งใดๆที่เรามีอยู่ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ซึ่งเราสามารถใช้(หรือจ่าย) มันเพื่อบรรลุเป้าหมายบางอย่างได้
ตัวอย่างของ ทุน คือ เงิน, แรงงาน, ความรู้, ทักษะ, เวลาว่าง(ที่ยังไม่ได้จัดสรรงานอะไรลงไป), สุขภาพ, สิ่งของ, เครื่องมือ, สิทธิ์, ฯลฯ
มีเพจของคุณ Tactschool ได้ทำการ์ตูนอธิบายเรื่อง ทุน นี้ไว้ให้เข้าใจง่ายๆและครบถ้วนอยู่ ผมแนะนำให้ลองอ่านดู จะช่วยเปิดโลกทัศน์ใหม่ๆได้มากครับ https://www.facebook.com/media/set/?set=a.742152012547166.1073741860.341438109285227&type=3
แต่ผมก็ยอมรับว่า ถ้าเราพัฒนาตัวเองขึ้นเรื่อยๆถึงจุดนึง จุดที่จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ มันคือจุดที่เรามีเงินเหลือเก็บมากพอ พอที่จะเริ่มต้นลงทุนด้วยเงินได้ จุดนี้แหละเป็นระดับ เกือบ ท้ายสุดของการลงทุนล่ะ แล้วผมจะโฟกัสเนื้อหาตรงนี้เป็นหลัก เพราะส่วนใหญ่จะข้าม level นี้กันได้ยาก เพราะมีเรื่องต้องศึกษาทฤษฎี ฝึกปรือภาคปฏิบัติ กันค่อนข้างเยอะและใช้เวลานาน ซึ่งถ้าไม่มีคู่มือหรือคนแนะนำดีๆ มันจะยิ่งเสียเวลานานขึ้นไปอีก
ถึงคำถามสำคัญคือ แล้วทำไมต้องลงทุนด้วยล่ะ?
เหตุผลอาจจะสรุปได้ดังนี้
1. เพื่อรักษาหรือเพิ่มพูนสิ่งที่อุตส่าห์เก็บหอมรอมริบมา
สิ่งที่เรียกว่าทุน หากเก็บไว้เฉยๆ มักจะเสื่อมค่าลงไป - เช่น เงินสดก็มีมูลค่าลดลงเรื่อยจากเงินเฟ้อ, ทรัพย์สินก็เก่าและชำรุดพังไป, ร่างกายก็เสื่อมลงไปเรื่อย, ความรู้ก็หลงลืมไปได้ เป็นต้น
โดยเฉพาะผลจาก "เงินเฟ้อ" นี่ค่อนข้างร้ายกาจ แม้คุณจะเห็นตัวเลขเงินเฟ้อโดยปกติเฉลี่ยแถวๆ 3-4% (ไม่นับช่วงวิกฤติเงินฝืดน่ะ เช่นปัจจุบันนี้) แต่สิ่งที่หลายคนลืมนึกถึงคือ เงินเฟ้อเอง ก็จัดเป็น ดอกเบี้ยทบต้น ประเภทนึงน่ะ แต่เป็นทางด้านตรงข้ามกับการลงทุน และอะไรก็ตามที่เป็นลักษณะดอกเบี้ยทบต้น เมื่อคูณเวลาที่ผ่านไปเรื่อยซักระยะนึง ผลลัพธ์มันน่ากลัวเสมอ เราจึงต้องหาทางสร้าง ดอกเบี้ยทบต้น ในทางบวก เอาไปสู้กับมัน
2. เพื่อความมั่นคง และอิสระ ในชีวิต
โดยการได้มาซึ่ง อิสระภาพทางการเงิน (financial freedom) นั่นเอง ซึ่งจะมีประโยชน์มากมาย ตัวอย่างเช่น
- ได้เวลากลับคืนมาวันล่ะ 8 ชม. และ ไม่ต้องพะวงคิดเรื่องการหาเงิน แต่เอาเวลาไปคิดทำอะไรสร้างสรรค์ให้ชีวิตดีกว่า (ความฝันอะไรที่เคยปล่อยให้มันหลุดมือไปจากการเป็นผู้ใหญ่วัยทำงาน จะได้กู้กลับมาก็คราวนี้แหละครับ)
- สำหรับคนวัยเกษียณแล้ว ก็จะไม่ต้องกังวลเรื่องค่าใช้จ่ายว่าจะเอาอะไรกินอยู่ดี ตลอดชีวิตที่เหลืออยู่ แถมต้องมีค่ารักษาพยาบาลตามมาอีกมาก ณ วัยนั้น
บางคนอาจคิดว่า ก็ให้ลูกหลานเลี้ยงก็ได้ คืออย่าคิดงั้นครับ เชยมาก และเมื่อถึงเวลานั้น เขาจะรู้สึกแย่กับตัวเองด้วยที่ตัวเองเป็นภาระมากกว่าจะช่วยอะไรลูกหลานได้ (เป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่อยากจะได้รับการยอมรับนับถือ ทั้งจากคนอื่น และนับถือตัวเองด้วย) และโลกยุคอนาคตยิ่งไกลออกไป ผมเห็นว่าสภาพเศรษฐกิจโลกทั้งหมด จะมีความเข้มงวดและตึงมือมากขึ้นสำหรับทุกคน ตามจำนวนประชากรโลกที่มากขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นลูกหลานท่านแค่เอาตัวให้รอดได้ก็คงหืดขึ้นคอ เราควรเตรียมพร้อมสำหรับตัวเองดีกว่า คือเราควรมี "แผนสำรอง" สำหรับชีวิตอยู่เสมอครับ แล้วชีวิตที่เหลืออยู่จะได้มีความสงบสุขในชีวิต เอาเวลาไปทำอะไรที่อยากทำ ดีกว่าครับ
ถึงตรงนี้ เราก็รู้แล้วว่า การลงทุนคืออะไร และเหตุผลว่าทำไมต้องลงทุน
บทถัดไปน่าจะได้เริ่มลงเนื้อหาจริงๆกันซักทีครับ :)
ป้ายกำกับ:
การลงทุน,
บทนำ,
หลักการ,
เหตุผล,
introduction,
investment
วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วันนี้หุ้นลงเยอะต้องเรื่องนี้เลย "เข้าหุ้นแล้วพลาดติดดอย ทำยังไงดี"
พักนี้ตลาดหุ้นไทย ก็ยังค่อยๆเตี้ยลง เตี้ยลง
เผอิญผมนึกขึ้นได้ว่าเมื่อก่อนเคยตอบกระทู้นึงเอาไว้
เรื่องการติดดอย คิดว่าเข้ากับเหตุการณ์พักนี้ดี เลยรีบเอามาลงก่อน เพราะเผื่อบางคนจำเป็นต้องใช้
(จริงๆตอนนี้เขียนบทความอื่นค้างไว้อยู่แต่ยังไม่ทันเสร็จ)
เรื่องมันมีอยู่ว่า ...
กาลครั้งนึง นานมาแล้วซักพัก ผมไปเจอกระทู้นึงในกลุ่ม
ThaiVI ใน
facebook
เป็นกระทู้เรื่องเข้าซื้อหุ้น IPO
แล้วติดดอย ไม่รู้จะทำยังไงดี
ซึ่งผมคิดว่า
1. สำรวจสถานะของตัวเองให้กระจ่างก่อน - avg.cost ที่ถืออยู่ตอนนี้ เป็นตำแหน่งที่ไปต่อในกลยุทธ์ไหนได้บ้าง (เพราะตอนเข้าซื้อไม่มีกลยุทธ์อะไรเลย) เช่น เป็นตำแหน่ง VI สายปันผลได้หรือไม่, เป็นตำแหน่ง VI สาย C.G.ได้หรือไม่ , หรือเป็น ตำแหน่งเล่นเก็งกำไรได้อย่างเดียว
1.1 ตำแหน่ง VI สายปันผลได้ - (avg.cost เราอยู่ต่ำกว่ามูลค่าเหมาะสมของวิธีสายปันผลนี้) ดูว่าลักษณะธุรกิจผลกำไรสมำเสมอในระยะยาว (ต้องดูผลกำไรย้อนหลังซัก 7 ปีขึ้นไป) ไม่โดนแทนที่ในตลาดหรือเสียความสามารถในการแข่งขันได้ง่ายๆ อัตราปันผลเป็นที่น่าพอใจอยู่แล้ว (5% ขึ้นก็พอได้สำหรับยุคนี้, แต่ถ้าได้มากกว่านั้นยิ่งดี) , อันนี้ถือยาวไปไม่ต้องไปกังวลกับราคาในตลาด
1.2 ตำแหน่ง VI สาย C.G.ได้ - (avg.cost เราอยู่ต่ำกว่ามูลค่าเหมาะสมของวิธีสาย C.G. นี้) ประเมินจาก EPS, P/BV หรือ ROE โดยไม่สนปันผลที่จะได้รับ (บางบริษัทปันผลได้น้อยหรือไม่ปันผลเลยก็ได้ถ้าเขาเอาไปลงทุนต่อได้ดี ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง) ถ้าพื้นฐานมันยังดีอยู่ (สม่ำเสมอในระยะยาว, ไม่โดนแทนที่หรือเสียความสามารถในการแข่งขันได้ง่าย) ก็รอจนราคากลับไปที่มูลค่าเหมาะสมแล้วขายไปตามวิถีของคนเล่นเอา C.G. โดยยังไม่ต้องกังวลราคาตลาดตอนนี้
ซึ่งผมคิดว่า
1. สำรวจสถานะของตัวเองให้กระจ่างก่อน - avg.cost ที่ถืออยู่ตอนนี้ เป็นตำแหน่งที่ไปต่อในกลยุทธ์ไหนได้บ้าง (เพราะตอนเข้าซื้อไม่มีกลยุทธ์อะไรเลย) เช่น เป็นตำแหน่ง VI สายปันผลได้หรือไม่, เป็นตำแหน่ง VI สาย C.G.ได้หรือไม่ , หรือเป็น ตำแหน่งเล่นเก็งกำไรได้อย่างเดียว
1.1 ตำแหน่ง VI สายปันผลได้ - (avg.cost เราอยู่ต่ำกว่ามูลค่าเหมาะสมของวิธีสายปันผลนี้) ดูว่าลักษณะธุรกิจผลกำไรสมำเสมอในระยะยาว (ต้องดูผลกำไรย้อนหลังซัก 7 ปีขึ้นไป) ไม่โดนแทนที่ในตลาดหรือเสียความสามารถในการแข่งขันได้ง่ายๆ อัตราปันผลเป็นที่น่าพอใจอยู่แล้ว (5% ขึ้นก็พอได้สำหรับยุคนี้, แต่ถ้าได้มากกว่านั้นยิ่งดี) , อันนี้ถือยาวไปไม่ต้องไปกังวลกับราคาในตลาด
1.2 ตำแหน่ง VI สาย C.G.ได้ - (avg.cost เราอยู่ต่ำกว่ามูลค่าเหมาะสมของวิธีสาย C.G. นี้) ประเมินจาก EPS, P/BV หรือ ROE โดยไม่สนปันผลที่จะได้รับ (บางบริษัทปันผลได้น้อยหรือไม่ปันผลเลยก็ได้ถ้าเขาเอาไปลงทุนต่อได้ดี ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มขึ้นได้อย่างต่อเนื่อง) ถ้าพื้นฐานมันยังดีอยู่ (สม่ำเสมอในระยะยาว, ไม่โดนแทนที่หรือเสียความสามารถในการแข่งขันได้ง่าย) ก็รอจนราคากลับไปที่มูลค่าเหมาะสมแล้วขายไปตามวิถีของคนเล่นเอา C.G. โดยยังไม่ต้องกังวลราคาตลาดตอนนี้
1.3 ตำแหน่งเล่นเก็งกำไรได้อย่างเดียว - คือ avg.cost ของเราอยู่สูงกว่ามูลค่าเหมาะสมแบบ VI ไม่ว่าจะประเมินวิธีไหน - ไม่ค่อยกล้าแนะนำเลยครับ คงต้องเล่นแนวเทคนิคฯ อย่างเดียว แต่ถ้ายังขาดทุนไม่ถึง 5% แล้วยังไม่มีสัญญานเทคนิคในลักษณะกลับตัว เป็นผมคงขายออกมาตั้งหลัก ที่เสียไปถือว่าเป็นค่าครู คราวหลังศึกษาเพิ่มดีๆก่อนเข้าไปเล่นใหม่, แต่ถ้าเกิน 5% ไปแล้วและยังไม่มีสัญญานกลับตัว กูรูสายนี้บางคนก็ถือคติไม่ขายไม่ขาดทุน ให้ทำใจ (แต่บางทีผมก็คิดว่า ถ้ามันไม่มีสัญญานกลับตัวใดๆเลย แปลว่ายังไม่เห็นก้นเหว แนวโน้มคือลงได้อีก และไม่รู้จะลงไปลึกได้อีกแค่ไหน ชิ่งออกมาก่อนอาจจะดีกว่าเงินจมก็ได้), แต่ถ้าเริ่มเห็นสัญญานกลับตัวบ้าง รอมันรีบาวน์แล้วชิ่งออกมาก็ได้ครับ
ซึ่งทั้ง 2 แบบแรกนั้น ต้องเช๊คให้แน่ใจด้วยน่ะครับ
ว่าที่ราคาลงมาเนี่ย มันลงมาตามตลาดโดยรวมเฉยๆ ไม่ใช่การลงมาเพราะปัจจัยพื้นฐานของตัวบริษัทเองที่เปลี่ยนไปในทางแย่
ซึ่งถ้าเป็นกรณีหลัง โดยหลักการควรต้องถอนตัวออกจากหุ้นตัวนั้นทันทีครับ (อ้างอิงบทความ
“จะขายหุ้นเมื่อไหร่”: http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/494384
)
กรณีถ้าเป็นหุ้น IPO มักจะไม่ค่อยมีงบย้อนหลังให้ดูยาวๆ การประเมินมูลค่าเหมาะสมนั้นทำได้ยากและคลาดเคลื่อนได้ง่าย เพราะออกแนวเหมือนคาดเดาอนาคตไปหน่อย - -a
ถ้าจะให้ประเมินจากงบปีล่า สุดปีเดียว คงคิดเอาง่ายๆบนสมมุติฐานว่าบริษัทไม่มีการเติบโต เช่น ถ้าใช้วิธีคิดจาก EPS แล้วอยากได้ราคาที่ P/E เท่ากับ 10 ก็เอา
10 = P/E
ใส่ค่า EPS ลงไปตรง E ครับ แล้วแก้สมการหาค่า P ไปเลย เช่นสมมุติ EPS เป็น 0.5
10 = P/0.5
10*0.5 = P
P = 5
ซึ่ง ค่า P/E ที่เหมาะสมก็มีหลายแนวอีก เกรแฮมฯ บอกเหมาะสมคือ 8.5 ส่วน ปีเตอร์ ลินซ์ บอกว่า 10 ก็เล่นได้แล้ว อันนี้แล้วแต่คนแล้วครับว่าชอบต้นแบบนักลงทุนคนไหน
กรณีถ้าเป็นหุ้น IPO มักจะไม่ค่อยมีงบย้อนหลังให้ดูยาวๆ การประเมินมูลค่าเหมาะสมนั้นทำได้ยากและคลาดเคลื่อนได้ง่าย เพราะออกแนวเหมือนคาดเดาอนาคตไปหน่อย - -a
ถ้าจะให้ประเมินจากงบปีล่า สุดปีเดียว คงคิดเอาง่ายๆบนสมมุติฐานว่าบริษัทไม่มีการเติบโต เช่น ถ้าใช้วิธีคิดจาก EPS แล้วอยากได้ราคาที่ P/E เท่ากับ 10 ก็เอา
10 = P/E
ใส่ค่า EPS ลงไปตรง E ครับ แล้วแก้สมการหาค่า P ไปเลย เช่นสมมุติ EPS เป็น 0.5
10 = P/0.5
10*0.5 = P
P = 5
ซึ่ง ค่า P/E ที่เหมาะสมก็มีหลายแนวอีก เกรแฮมฯ บอกเหมาะสมคือ 8.5 ส่วน ปีเตอร์ ลินซ์ บอกว่า 10 ก็เล่นได้แล้ว อันนี้แล้วแต่คนแล้วครับว่าชอบต้นแบบนักลงทุนคนไหน
แต่ในความเป็นจริง คงไม่มีบริษัทไหนได้กำไรเท่าเดิมทุกปี
ปกติต้องมีการเติบโต ดังนั้นสิ่งที่ในสูตรด้านบนไม่ได้รวมอยู่ด้วยคือเรื่องของ Growth rate (ของผลกำไร) ซึ่งในทางปฏิบัติควรต้องเอามาคิดด้วยครับ
ถ้าเล่นตามแนว ดร.นิเวศน์ฯ ถึงธุรกิจจะดีมากๆจริง ก็ไม่ควรเข้าที่ P/E เกิน 20 ครับ บนสมมุติฐานที่ว่าธุรกิจนั้นดีมากขนาดจะเติบโต 20% ต่อปีอย่างต่อเนื่องไปได้หลายๆปี เพราะว่าในโลกความเป็นจริง บริษัทที่จะโตเกิน 20% ต่อปีได้ต่อเนื่องซัก 5 ปีขึ้นไป นั้นแทบจะไม่มีให้เห็นอยู่ในโลกจริงๆเท่าไหร่ครับ ตลาดมักอิ่มตัวไปก่อน
หรือโดยสรุปย่อๆคือ P/E ควรจะต้อง
น้อยกว่าหรือไม่เกิน Growth
rate ครับ
นอกจากนั้น วิธีประเมินมูลค่าแบบ VI ยังไม่ได้มีวิธีนี้วิธีเดียวด้วย ยังมีอีกหลายวิธี แล้วแต่จะเลือกใช้ให้เหมาะกับหุ้นตัวนั้นๆครับ (ลักษณะธุรกิจต่างกัน ก็เหมาะกับวิธีประเมินมูลค่าต่างกันไปด้วยครับ)
นอกจากนั้น วิธีประเมินมูลค่าแบบ VI ยังไม่ได้มีวิธีนี้วิธีเดียวด้วย ยังมีอีกหลายวิธี แล้วแต่จะเลือกใช้ให้เหมาะกับหุ้นตัวนั้นๆครับ (ลักษณะธุรกิจต่างกัน ก็เหมาะกับวิธีประเมินมูลค่าต่างกันไปด้วยครับ)
วันพฤหัสบดีที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ประเด็นเรื่อง กรีซ จะชักดาบ หรือออกจาก EU เห็นเขาว่าเป็นเรื่องใหญ่ (?)
พักนี้ข่าวเศรษฐกิจที่ออกบ่อยๆ ก็เห็นจะเป็นเรื่อง กรีซ ซึ่งมีหนี้สินมหาศาล และทำท่าจะกำลังจะผิดนัดชำระหนี้ IMF จำนวน 1,600 ล้านยูโร... ซึ่งนี่แค่งวดเดียว แต่จริงๆ กรีซ หนี้ท่วมกว่านั้น คือเป็นหนี้หลัก 3 แสนล้านยูโร จากเจ้าหนี้หลายราย (จำได้ลางๆว่าตัวหลักๆมี ECB กะ EU)
แล้วตอนนี้ก็เล่นเสี่ยงทายกับผลประชามติ ของวันที่ 5 ก.ค. นี้อยู่ ว่าประชาชน กรีซ จะยอมรับเงื่อนไขรัดเข็มขัดของเหล่าเจ้าหนี้หรือไม่
สำหรับผม คำถามนี้ตอบได้ง่ายมาก ด้วยคำว่า "ไม่รู้" :P
ข่าวนี้อาจจะมีประเด็นสำคัญต่อตลาดหุ้นอยู่บ้าง แต่นั่นคือสำหรับนักเก็งกำไร ที่ต้องเฝ้าระวังเรื่อง fund flow ซึ่งจะทำให้ดัชนีโดยรวมของตลาด พุ่งขึ้น หรือ ดิ่งลง ได้
แต่สำหรับนักลงทุนแนว VI นั้น เรื่อง กรีซ อาจจะไม่ใช่ประเด็นสำคัญอะไร ถ้าบริษัทที่คุณถือหุ้นอยู่ ไม่ได้มี กรีซ หรือ EU เป็น ลูกค้า หรือ supplier ที่เกี่ยวข้องกัน
อันที่จริง ต่อให้ธุรกิจที่เราถือ มีความเกี่ยวข้องกับ EU อยู่บ้าง แต่ผมก็ไม่คิดว่า EU จะได้รับผลกระทบมากนัก
ถ้ามองว่า กรีซ เป็นเนื้อร้าย หรือคนประเภท มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ ที่ฝังตัวอยู่กับ EU มานาน
การที่วันนึง EU ตัดส่วนแย่ๆนี้ออกไปได้ มันอาจจะเจ็บบ้างในระยะสั้นๆ (งบดุล ช่องทรัพสิน ลูกหนี้รายใหญ่กลายเป็นหนี้สูญไปซะงั้นนี่นา) แต่ในระยะยาวๆ น่าจะไปได้ไกลและคล่องตัวยิ่งกว่าตอนที่ต้องหิ้วปีก กรีซ ไปไหนมาไหนด้วย
สมมุติน่ะครับ ... ถ้าสุดท้าย กรีซ ออกไปจาก EU จริงๆ ใครที่กังวลว่า จะมีชาติอื่นๆเลียนแบบกรีซ มันก็ขึ้นกับว่า ชะตากรรมของกรีซ หลังจากออกไปจาก EU นั้น เป็นอย่างไร
ถ้าเป็นไปในทางดีขึ้น ชาติอื่นๆที่เป็นหนี้ท่วมเหมือนกันอย่าง สเปน, อิตาลี่ ก็อาจจะเลียนแบบก็ได้
แต่ดูท่าทางแล้ว แค่ตอนนี้ที่ยังไม่ได้ออกจาก EU จริงๆ บ้านเมืองกรีซ ยังอลหม่านราวกับกำลังจะเกิดสงครามโลกก็ไม่ปาน ภาพข่าวที่ออกมาน่าสังเวชมาก
และดูๆแล้ว การเสียสิทธิประโยชน์ในฐานะสมาชิก EU ไป น่าจะส่งผลร้ายกับ กรีซ มากกว่าจะเป็นผลดี
ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น ก็คงไม่มีใครอยากเลียนแบบหรอกครับ
แต่สุดท้ายจะฟันธงว่ามันจะออกไปทางไหน ก็คงต้องตอบคำเดิมคือ "ไม่รู้" หรอกครับ และก็คงไม่มีใครรู้อนาคตแบบนั้น
และการพยายามเดา ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งด้วยสำหรับการลงทุน
แต่สิ่งที่ควรทำคือ ให้เราคิดกรณี worst case เอาไว้ (ซึ่งอาจจะมีหลายๆแบบก็ได้) และประเมินดูว่ามันกระทบ ธุรกิจที่เราถือหุ้นอยู่ มากน้อยแค่ไหน
ถ้ามันไม่ได้กระทบยอดขายหรือต้นทุนของบริษัทเรา ก็ไม่มีอะไรต้องกังวล
ต่อให้ fund flow จะส่งผลให้หุ้นลงทั้งตลาดและหุ้นของเราโดนลูกหลงไปด้วย แค่นั่นก็เป็นปัจจัยชั่วคราว
บัฟเฟต เองก็เคยบอกว่า ถ้าทนเห็นหุ้นในพอร์ตตัวเอง ขาดทุนถึง 50% ไม่ได้ ก็ไม่ควรอยู่ในตลาดหุ้น
คุณ โจ-ลูกอีสาน บอกไว้ว่า การขายหุ้นออกไป ในขณะเกิดวิกฤต เป็นการละเมิดศีลที่ร้ายแรงของ VI
การเป็น VI ไม่ได้หมายความว่า ต้องให้หุ้นทุกตัว ขึ้นสีเขียวอยู่เสมอ (อันนี้เป็นกับดักที่มือใหม่ซึ่งตบะไม่แก่กล้าพอ จะรู้สึกหวั่นไหวได้ง่าย) เราแค่ต้องทำให้มั่นใจว่า เมื่อประเมินมูลค่าตามหลักการและเหตุผลที่ถูกต้องแล้ว ต้นทุนในการซื้อหุ้นของเรา ต่ำกว่ามูลค่าเหมาะสมที่ประเมินได้ อย่างมี Margin Of Safty เพียงพอหรือไม่ ( 30% โดยปกติ, แต่ถ้า เบรนด์เขาดี ก็แค่ 20% พอ)
ส่งท้ายก็เช่นเคย ที่เขียนไปทั้งหมดนั้นเป็นเพียง ข้อคิดเห็น ของผม ไม่ใช่การชี้นำหรือฟันธงอะไร
การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน เงินของท่าน ท่านรับผิดชอบของท่านเองน่ะครับ
แล้วตอนนี้ก็เล่นเสี่ยงทายกับผลประชามติ ของวันที่ 5 ก.ค. นี้อยู่ ว่าประชาชน กรีซ จะยอมรับเงื่อนไขรัดเข็มขัดของเหล่าเจ้าหนี้หรือไม่
สำหรับผม คำถามนี้ตอบได้ง่ายมาก ด้วยคำว่า "ไม่รู้" :P
ข่าวนี้อาจจะมีประเด็นสำคัญต่อตลาดหุ้นอยู่บ้าง แต่นั่นคือสำหรับนักเก็งกำไร ที่ต้องเฝ้าระวังเรื่อง fund flow ซึ่งจะทำให้ดัชนีโดยรวมของตลาด พุ่งขึ้น หรือ ดิ่งลง ได้
แต่สำหรับนักลงทุนแนว VI นั้น เรื่อง กรีซ อาจจะไม่ใช่ประเด็นสำคัญอะไร ถ้าบริษัทที่คุณถือหุ้นอยู่ ไม่ได้มี กรีซ หรือ EU เป็น ลูกค้า หรือ supplier ที่เกี่ยวข้องกัน
อันที่จริง ต่อให้ธุรกิจที่เราถือ มีความเกี่ยวข้องกับ EU อยู่บ้าง แต่ผมก็ไม่คิดว่า EU จะได้รับผลกระทบมากนัก
ถ้ามองว่า กรีซ เป็นเนื้อร้าย หรือคนประเภท มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ ที่ฝังตัวอยู่กับ EU มานาน
การที่วันนึง EU ตัดส่วนแย่ๆนี้ออกไปได้ มันอาจจะเจ็บบ้างในระยะสั้นๆ (งบดุล ช่องทรัพสิน ลูกหนี้รายใหญ่กลายเป็นหนี้สูญไปซะงั้นนี่นา) แต่ในระยะยาวๆ น่าจะไปได้ไกลและคล่องตัวยิ่งกว่าตอนที่ต้องหิ้วปีก กรีซ ไปไหนมาไหนด้วย
สมมุติน่ะครับ ... ถ้าสุดท้าย กรีซ ออกไปจาก EU จริงๆ ใครที่กังวลว่า จะมีชาติอื่นๆเลียนแบบกรีซ มันก็ขึ้นกับว่า ชะตากรรมของกรีซ หลังจากออกไปจาก EU นั้น เป็นอย่างไร
ถ้าเป็นไปในทางดีขึ้น ชาติอื่นๆที่เป็นหนี้ท่วมเหมือนกันอย่าง สเปน, อิตาลี่ ก็อาจจะเลียนแบบก็ได้
แต่ดูท่าทางแล้ว แค่ตอนนี้ที่ยังไม่ได้ออกจาก EU จริงๆ บ้านเมืองกรีซ ยังอลหม่านราวกับกำลังจะเกิดสงครามโลกก็ไม่ปาน ภาพข่าวที่ออกมาน่าสังเวชมาก
และดูๆแล้ว การเสียสิทธิประโยชน์ในฐานะสมาชิก EU ไป น่าจะส่งผลร้ายกับ กรีซ มากกว่าจะเป็นผลดี
ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น ก็คงไม่มีใครอยากเลียนแบบหรอกครับ
แต่สุดท้ายจะฟันธงว่ามันจะออกไปทางไหน ก็คงต้องตอบคำเดิมคือ "ไม่รู้" หรอกครับ และก็คงไม่มีใครรู้อนาคตแบบนั้น
และการพยายามเดา ก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่งด้วยสำหรับการลงทุน
แต่สิ่งที่ควรทำคือ ให้เราคิดกรณี worst case เอาไว้ (ซึ่งอาจจะมีหลายๆแบบก็ได้) และประเมินดูว่ามันกระทบ ธุรกิจที่เราถือหุ้นอยู่ มากน้อยแค่ไหน
ถ้ามันไม่ได้กระทบยอดขายหรือต้นทุนของบริษัทเรา ก็ไม่มีอะไรต้องกังวล
ต่อให้ fund flow จะส่งผลให้หุ้นลงทั้งตลาดและหุ้นของเราโดนลูกหลงไปด้วย แค่นั่นก็เป็นปัจจัยชั่วคราว
บัฟเฟต เองก็เคยบอกว่า ถ้าทนเห็นหุ้นในพอร์ตตัวเอง ขาดทุนถึง 50% ไม่ได้ ก็ไม่ควรอยู่ในตลาดหุ้น
คุณ โจ-ลูกอีสาน บอกไว้ว่า การขายหุ้นออกไป ในขณะเกิดวิกฤต เป็นการละเมิดศีลที่ร้ายแรงของ VI
การเป็น VI ไม่ได้หมายความว่า ต้องให้หุ้นทุกตัว ขึ้นสีเขียวอยู่เสมอ (อันนี้เป็นกับดักที่มือใหม่ซึ่งตบะไม่แก่กล้าพอ จะรู้สึกหวั่นไหวได้ง่าย) เราแค่ต้องทำให้มั่นใจว่า เมื่อประเมินมูลค่าตามหลักการและเหตุผลที่ถูกต้องแล้ว ต้นทุนในการซื้อหุ้นของเรา ต่ำกว่ามูลค่าเหมาะสมที่ประเมินได้ อย่างมี Margin Of Safty เพียงพอหรือไม่ ( 30% โดยปกติ, แต่ถ้า เบรนด์เขาดี ก็แค่ 20% พอ)
- ถ้าใช่ ก็คือถือหุ้นไว้ หรือซื้อหุ้นเพิ่ม ถ้า SET จะลงจนหุ้นเราแดง มันจะแดงก็แดงไป เป็นแค่เรื่องชั่วคราว (อาจจะต้องใช้ศรัทธาประกอบเพื่อให้ทนผ่านช่วงเวลาแดงๆแบบนั้นไปได้น่ะ)
- ถ้าไม่ใช่ ก็ขายออกไป อย่าเก็บไว้ให้เสี่ยงพอร์ต
ส่งท้ายก็เช่นเคย ที่เขียนไปทั้งหมดนั้นเป็นเพียง ข้อคิดเห็น ของผม ไม่ใช่การชี้นำหรือฟันธงอะไร
การลงทุนมีความเสี่ยง โปรดศึกษาให้ดีก่อนตัดสินใจลงทุน เงินของท่าน ท่านรับผิดชอบของท่านเองน่ะครับ
ป้ายกำกับ:
กรีซ,
ข่าว,
วิเคราะห์,
สัพเพเหระรอบตัว,
หนี้,
หลักการ vi
วันเสาร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2558
เทรนของโลกได้เปลี่ยนไปแล้ว... เมื่อ ทีวีดิจิตอล (ที่แผลยังไม่หายดี) โดน Youtube impact
เทรนของโลกได้เปลี่ยนไปแล้ว
ประเด็นนี้เริ่มมาจาก กระทู้สองกระทู้นี้ครับ
TIGA ผู้ถือครองลิขสิทธิ์ "โคนัน" ปล่อยโคนันทุกตอนให้ดู "FREE" ใน Youtube
จัดหนัก!! ROSE ปล่อย "โดเรม่อน,นารุโตะ,บลีช,รีบอร์น,แฟรี่เทล" ดูฟรี!! Youtube
คุณอาจจะคิดว่า ข่าวการ์ตูนแบบนี้ เกี่ยวอะไรกับการลงทุน
เกี่ยวมากๆครับ ข่าวนี้กระทบกับธุรกิจ ฟรีทีวี ทีวีดิจิตอล และทีวีรูปแบบดั้งเดิมที่ต้องออกอากาศผ่านคลื่นวิทยุ ทั้งภาคพื้นดิน และดาวเทียม โดยตรง
ลองคิดดูน่ะครับ โดยปกติค่ายที่ซื้อลิขสิทธิ์การ์ตูนต่างๆมาฉายนั้น เดิมต้องไปเสียค่า air time ให้กับช่องทีวีเหล่านั้น หรืออีกทางนึง(ซึ่งเยอะกว่า) คือ รายการทีวี มาซื้อลิขสิทธิ์ ไปออกฉาย เพื่อเพิ่มเรทติ้งให้ช่องทีวีเขา
โดยทั้งนี้ทั้งนั้น รายได้หลักของค่ายทีวีจริงๆแล้ว ต้นทางล้วนมาจากเงินโฆษณาทั้งสิ้น
พอค่ายที่นำเข้าลิขสิทธิ์การ์ตูนเหล่านี้ เปลี่ยนมาใช้ youtube แทนทีวีแบบดั้งเดิม
เขาก็ได้รับค่าโฆษณาจาก youtube อยู่เช่นกัน แถมยังไม่ต้องมีคนกลาง (เจ้าของช่องทีวีแบบดั้งเดิม) มาแบ่งรายได้ก้อนนี้ไปอีกด้วย
งานนี้ช่องทีวีแบบดั้งเดิม มีแต่เสียกับเสียครับ
และเมื่อกระแสมันถูกจุดขึ้นมาแล้ว จะมีเทรนเกิดตามมา อีกเรื่อยๆ อีกหลายบริษัทที่ซื้อลิขสิทธิ์ content ต่างประเทศมา ก็จะเปลี่ยนมาใช้โมเดล youtube channel แทนช่องทีวีแบบดั้งเดิม
ซึ่งผมรู้สึกว่า นี่มันเป็น mega trend จริงๆ ยิ่งกว่าเหตุการณ์ทีวีดิจิตอลในปีก่อนนี้ซะอีก
คุณจะปรับพอร์ตยังไงให้เข้ากับ mega trend นี้ ก็แล้วแต่วิจารณญานของแต่ละท่านล่ะครับ ขอให้โชคดี :)
ประเด็นนี้เริ่มมาจาก กระทู้สองกระทู้นี้ครับ
TIGA ผู้ถือครองลิขสิทธิ์ "โคนัน" ปล่อยโคนันทุกตอนให้ดู "FREE" ใน Youtube
จัดหนัก!! ROSE ปล่อย "โดเรม่อน,นารุโตะ,บลีช,รีบอร์น,แฟรี่เทล" ดูฟรี!! Youtube
คุณอาจจะคิดว่า ข่าวการ์ตูนแบบนี้ เกี่ยวอะไรกับการลงทุน
เกี่ยวมากๆครับ ข่าวนี้กระทบกับธุรกิจ ฟรีทีวี ทีวีดิจิตอล และทีวีรูปแบบดั้งเดิมที่ต้องออกอากาศผ่านคลื่นวิทยุ ทั้งภาคพื้นดิน และดาวเทียม โดยตรง
ลองคิดดูน่ะครับ โดยปกติค่ายที่ซื้อลิขสิทธิ์การ์ตูนต่างๆมาฉายนั้น เดิมต้องไปเสียค่า air time ให้กับช่องทีวีเหล่านั้น หรืออีกทางนึง(ซึ่งเยอะกว่า) คือ รายการทีวี มาซื้อลิขสิทธิ์ ไปออกฉาย เพื่อเพิ่มเรทติ้งให้ช่องทีวีเขา
โดยทั้งนี้ทั้งนั้น รายได้หลักของค่ายทีวีจริงๆแล้ว ต้นทางล้วนมาจากเงินโฆษณาทั้งสิ้น
พอค่ายที่นำเข้าลิขสิทธิ์การ์ตูนเหล่านี้ เปลี่ยนมาใช้ youtube แทนทีวีแบบดั้งเดิม
เขาก็ได้รับค่าโฆษณาจาก youtube อยู่เช่นกัน แถมยังไม่ต้องมีคนกลาง (เจ้าของช่องทีวีแบบดั้งเดิม) มาแบ่งรายได้ก้อนนี้ไปอีกด้วย
งานนี้ช่องทีวีแบบดั้งเดิม มีแต่เสียกับเสียครับ
และเมื่อกระแสมันถูกจุดขึ้นมาแล้ว จะมีเทรนเกิดตามมา อีกเรื่อยๆ อีกหลายบริษัทที่ซื้อลิขสิทธิ์ content ต่างประเทศมา ก็จะเปลี่ยนมาใช้โมเดล youtube channel แทนช่องทีวีแบบดั้งเดิม
ซึ่งผมรู้สึกว่า นี่มันเป็น mega trend จริงๆ ยิ่งกว่าเหตุการณ์ทีวีดิจิตอลในปีก่อนนี้ซะอีก
คุณจะปรับพอร์ตยังไงให้เข้ากับ mega trend นี้ ก็แล้วแต่วิจารณญานของแต่ละท่านล่ะครับ ขอให้โชคดี :)
ป้ายกำกับ:
สัพเพเหระรอบตัว,
digital,
mega trend,
tv,
youtube
วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2558
ในวันที่มีข่าวร้ายเกี่ยวกับตลาดหุ้น ออกสื่อมาอย่างเป็นทางการ (ฤาจะถึงคราวเผาจริง?)
พาดหัวข่าวของ Money Channel วันนี้
SET ก.ค.มีโอกาสร่วงถึง 1,300 จุด
(ตัวอย่างเนื้อหา : บล.ซีไอเอ็มบี ระบุ SET ปี 58 เคลื่อนไหวคล้ายปี 54 ขณะที่มีโอกาสปรับตัวซ้ำรอยเดิมโดยขึ้นไปก่อนจะปรับลงมาทำนิวโลว์ มองลงไปได้ถึง 1,300 จุด อิงระดับดัชนีเหมาะสมหลังปรับลด EPS ตลาด .... )
ก่อนหน้าจะมีข่าวนี้ ในเมืองไทย ผมเห็นคนเดียวที่กล้าออกมาบอกตั้งแต่ต้นปี ว่า SET จะลงแน่ๆ คือคุณ ศิริวัฒน์ (เจ้าสัวเยสเตอร์เดย์ ตอนปี 40 ที่หลังจากเจ๊งแล้วออกมาขายแซนวิช)
ส่วน ดร.นิเวศน์ บอกว่ามันเข้าเฟสอิ่มตัวเริ่มเสียวๆแล้ว แต่ก็ยังไม่มองร้ายเท่าคุณศิริวัฒน์
ส่วนโบรกและนักวิเคราะห์ต่างๆ ปกติจะมองโลกแง่ดีได้ทุกวัน จนกว่าจะถึงวันที่มันเจ๊งจริง (รู้ตัวเมื่อสายแล้ว ... ซึ่งคุณ ศิริวัฒน์ เองก็เคยเป็นแบบนั้นมาก่อน)
SET ก.ค.มีโอกาสร่วงถึง 1,300 จุด
(ตัวอย่างเนื้อหา : บล.ซีไอเอ็มบี ระบุ SET ปี 58 เคลื่อนไหวคล้ายปี 54 ขณะที่มีโอกาสปรับตัวซ้ำรอยเดิมโดยขึ้นไปก่อนจะปรับลงมาทำนิวโลว์ มองลงไปได้ถึง 1,300 จุด อิงระดับดัชนีเหมาะสมหลังปรับลด EPS ตลาด .... )
บล.ซี
ไอเอ็มบี ระบุ SET ปี 58 เคลื่อนไหวคล้ายปี 54
ขณะที่มีโอกาสปรับตัวซ้ำรอยเดิมโดยขึ้นไปก่อนจะปรับลงมาทำนิวโลว์
มองลงไปได้ถึง 1,300 จุด อิงระดับดัชนีเหมาะสมหลังปรับลด EPS ตลาด - See
more at:
http://www.moneychannel.co.th/news_detail/4135/#sthash.arwBSC2A.dpuf
บล.ซี
ไอเอ็มบี ระบุ SET ปี 58 เคลื่อนไหวคล้ายปี 54
ขณะที่มีโอกาสปรับตัวซ้ำรอยเดิมโดยขึ้นไปก่อนจะปรับลงมาทำนิวโลว์
มองลงไปได้ถึง 1,300 จุด อิงระดับดัชนีเหมาะสมหลังปรับลด EPS ตลาด - See
more at:
http://www.moneychannel.co.th/news_detail/4135/#sthash.arwBSC2A.dpuf
บล.ซี
ไอเอ็มบี ระบุ SET ปี 58 เคลื่อนไหวคล้ายปี 54
ขณะที่มีโอกาสปรับตัวซ้ำรอยเดิมโดยขึ้นไปก่อนจะปรับลงมาทำนิวโลว์
มองลงไปได้ถึง 1,300 จุด อิงระดับดัชนีเหมาะสมหลังปรับลด EPS ตลาด - See
more at:
http://www.moneychannel.co.th/news_detail/4135/#sthash.arwBSC2A.dpuf
ก่อนหน้าจะมีข่าวนี้ ในเมืองไทย ผมเห็นคนเดียวที่กล้าออกมาบอกตั้งแต่ต้นปี ว่า SET จะลงแน่ๆ คือคุณ ศิริวัฒน์ (เจ้าสัวเยสเตอร์เดย์ ตอนปี 40 ที่หลังจากเจ๊งแล้วออกมาขายแซนวิช)
ส่วน ดร.นิเวศน์ บอกว่ามันเข้าเฟสอิ่มตัวเริ่มเสียวๆแล้ว แต่ก็ยังไม่มองร้ายเท่าคุณศิริวัฒน์
ส่วนโบรกและนักวิเคราะห์ต่างๆ ปกติจะมองโลกแง่ดีได้ทุกวัน จนกว่าจะถึงวันที่มันเจ๊งจริง (รู้ตัวเมื่อสายแล้ว ... ซึ่งคุณ ศิริวัฒน์ เองก็เคยเป็นแบบนั้นมาก่อน)
ดังนั้นโดยส่วนตัวแล้ว ผมจะไม่ตามข่าวหรือบทวิเคราะห์ของค่ายไหนๆเลย
ถ้าจะอ่านบทวิเคราะห์ ต้องตั้งสติเสมอว่า ให้แยก ข้อเท็จจริง และ
ข้อคิดเห็น ออกจากกันเสมอให้เด็ดขาด
และเราเอาเฉพาะส่วนที่เป็นข้อเท็จจริงมาใช้
วงการนี้นี่ ประสบการณ์และความเก๋า ช่วยให้ได้เปรียบเยอะมากจริงๆ
เราก็จะต้องพัฒนาตัวเอง หมั่นหาความรู้ หมั่นฝึกฝน เพิ่มความเก๋าให้ตัวเอง ตามแนวทางนี้ให้สำเร็จให้ได้
วงการนี้นี่ ประสบการณ์และความเก๋า ช่วยให้ได้เปรียบเยอะมากจริงๆ
เราก็จะต้องพัฒนาตัวเอง หมั่นหาความรู้ หมั่นฝึกฝน เพิ่มความเก๋าให้ตัวเอง ตามแนวทางนี้ให้สำเร็จให้ได้
วันอาทิตย์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558
เงินเดือนขึ้นทีละคืบ แต่ค่าครองชีพกับรสนิยม ขึ้นทีละศอก
สัปดาห์ที่ผ่านมานี้ มีเหตุให้ต้องกินเลี้ยงกับเพื่อนฝูง 2 งาน งานแรกเพื่อนมัธยมคนนึงที่ไปเรียนเอกที่อังกฤษแล้วกลับมาเยี่ยมบ้าน อีกงานคือ เลี้ยงส่งเพื่อนในที่ทำงานปัจจุบัน ซึ่งได้ออกจากงานไปสู่โอกาสใหม่ๆ ในโลกกว้าง
งานแรกนั้นไม่มีอะไรแปลก ผมกินกับเพื่อนนานๆครั้ง ร้านสุกี้เจ้าใหญ่รายนึง เป็นอะไรที่ดูมาตรฐานดี ไม่น่าจะแพงไปนัก
กินไปกินมา พอเพื่อนผมถามเช๊คราคาเท่านั้นแหละ น่าจะราวหัวล่ะ 45x บาท ... (ผมอึ้งไปเลย) แต่เคราะห์ดี ที่ท้ายที่สุดแล้ว ราคาบางรายการคิดผิด และเพื่อนมีบัตรสมาชิกใช้ลดได้อีก จึงเหลือแค่หัวล่ะ 400 บาท (ก็ยังแอบแพงน่ะ T-T)
อีกงานนึงวันถัดมา รู้แบบกระชั้นชิด ตอนแรกก็ไม่แอะใจ คิดว่าไปกินบุฟเนื้อย่างธรรมดา ชื่อร้านแปลกๆไม่เคยได้ยิน พอได้ยินราคาเท่านั้นแหละ ผมนี่ซีดไปกระทันหัน คือค่าเสียหายต่อหัวน่าจะราวๆ 6xx บาท จึงได้ทักท้วงไปว่าแพงเกินไป ขอไม่เกิน 500 ได้มั้ย สรุปลงเอยได้อีกเจ้านึงที่ราคาราว 520 บาท (มารู้ภายหลังว่ามันเพิ่งเปลี่ยนราคาเป็น 540 บาทด้วย T=T)
แต่โชคชะตายังไม่โหดร้ายเกินไปนัก อยู่ๆคนร่วมงานเกิดไปไม่ได้กระทันหันหลายคน งานจึงล่มไปโดยปริยาย
;
ย้อนไปเมื่อแค่ซัก 2-3 ปีก่อน เวลาผมไปกินดีๆกับเพื่อนซักครั้ง น่าจะเสียค่าใช้จ่ายราวๆหลัก 2xx - 3xx บาทเท่านั้น ก็ไม่รู้ว่าเพราะค่าต้นทุนมันแพงขึ้น (ค่าแรงแพงขึ้น .. ก็คงมีส่วน) หรือว่าร้านค้าเหล่านี้เริ่มปั่นราคาเกินควรกันแน่ ทั้งที่เวลาไปกินมันก็ไม่ได้อร่อยต่างกันมากนักในราคาใกล้ๆกัน
การที่ราคาขึ้นกันเร็วแบบนี้ แสดงให้เห็นถึงกลไกของตลาดทุนนิยมเสรี กำลังผลิบานเกือบจะเต็มใบ (เผื่อใครยังไม่รู้ สังคมเราเริ่มเปลี่ยนเป็นทุนนิยมเสรีไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว ดังนั้นราคาสินค้าบริหารต่างๆจะใช้กลไกของ demand & supply หาจุดที่จะได้กำไรสูงสุดกัน แทนที่จะดูจากต้นทุนผลิตแล้วบวกกำไรพอเป็นพิธี เหมือนยุคก่อนนี้) แต่ดูเหมือนคนไทยจะยังปรับตัวให้ "เหมาะสม" กับความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ทัน
โดยเฉพาะสังคมยุค social media ที่มีการแชร์รูปกินดีเที่ยวหรู อยู่สบาย กันทั่วไป ทำให้เกิดการกระตุ้นกิเลสกันมากมายมหาศาลกว่าทุกยุคที่ผ่านมา (มันถึงมีสำนวนว่า "กระเป๋าตังในมือผมมันสั่นไปหมดแล้ว" เกิดขึ้นมาไงล่ะ)
ในหลายๆบริษัท พนง. ประจำ ก็มักจะได้ขึ้นเงินเดือนทีละนิดตามอายุงาน (แต่ถ้าได้โปรโมทก็จะได้เยอะหน่อย)
ซึ่งผมก็เป็น พนง. ประจำเช่นกัน มักจะได้ขึ้นครั้งล่ะ 1-2 % แต่ว่าค่าครองชีพรวมถึงสิ่งที่เราเรียกว่า "ภาษีสังคม" กลับวิ่งไปเร็วกว่านั้นมาก โดยเฉพาะอย่างหลัง ซึ่งเข้าใจว่าจะไม่แสดงออกในตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคของ ธปท. เพราะดัชนีนี้คิดเฉพาะปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพเป็นหลัก แล้วไอ้ที่ๆ "ต้อง" ไปจ่ายภาษีสังคมนั้น ก็ไม่ได้เข้าข่ายเอาไปคิดในดัชนีดังกล่าวด้วยเพราะจัดเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย (แต่ถ้าเข้าสังคม ไม่อยากไปก็เหมือนบังคับไปแหละ)
แล้วเราจะเอาตัวรอดจากเหตุการณ์นี้ได้ยังไง ?
ถ้าไม่คิดหาทางเพิ่มรายรับให้เร็วกว่าค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ก็คงต้อง หาทางลดรายจ่ายพวกนี้ลงให้ได้แหละครับ
ผมรู้สึกว่าคนไทยส่วนใหญ่ แม้แต่คนมีระดับการศึกษาดี ยังขาดการวางแผนการเงินสำหรับชีวิตของตัวเองอยู่ ทำให้ไม่ค่อยรู้ตัวกันว่าใช้เงินเกินตัวกันไปแล้ว (เพราะระบบมหาวิทยาลัย ไม่เคยสอนเรื่องนี้อยู่แล้ว)
แต่ก็เป็นไปได้ว่า เป้าหมายของแต่ละคนที่ต่างกัน ก็ส่งผลให้ plan ออกมาไม่เหมือนกัน งบจับจ่ายก็ต่างกันได้ ซึ่งความแตกต่างระหว่างบุคคลนี้ ควรจะเจรจาหาข้อตกลงอย่างสันติกันได้ โดยเราก็รักษาจุดยืนของเราให้แผนชีวิตของเราและของเขายังราบรื่นต่อไปได้ด้วย น่าจะเป็นสิ่งที่ควรจะเป็นมากที่สุดครับ
งานแรกนั้นไม่มีอะไรแปลก ผมกินกับเพื่อนนานๆครั้ง ร้านสุกี้เจ้าใหญ่รายนึง เป็นอะไรที่ดูมาตรฐานดี ไม่น่าจะแพงไปนัก
กินไปกินมา พอเพื่อนผมถามเช๊คราคาเท่านั้นแหละ น่าจะราวหัวล่ะ 45x บาท ... (ผมอึ้งไปเลย) แต่เคราะห์ดี ที่ท้ายที่สุดแล้ว ราคาบางรายการคิดผิด และเพื่อนมีบัตรสมาชิกใช้ลดได้อีก จึงเหลือแค่หัวล่ะ 400 บาท (ก็ยังแอบแพงน่ะ T-T)
อีกงานนึงวันถัดมา รู้แบบกระชั้นชิด ตอนแรกก็ไม่แอะใจ คิดว่าไปกินบุฟเนื้อย่างธรรมดา ชื่อร้านแปลกๆไม่เคยได้ยิน พอได้ยินราคาเท่านั้นแหละ ผมนี่ซีดไปกระทันหัน คือค่าเสียหายต่อหัวน่าจะราวๆ 6xx บาท จึงได้ทักท้วงไปว่าแพงเกินไป ขอไม่เกิน 500 ได้มั้ย สรุปลงเอยได้อีกเจ้านึงที่ราคาราว 520 บาท (มารู้ภายหลังว่ามันเพิ่งเปลี่ยนราคาเป็น 540 บาทด้วย T=T)
แต่โชคชะตายังไม่โหดร้ายเกินไปนัก อยู่ๆคนร่วมงานเกิดไปไม่ได้กระทันหันหลายคน งานจึงล่มไปโดยปริยาย
;
ย้อนไปเมื่อแค่ซัก 2-3 ปีก่อน เวลาผมไปกินดีๆกับเพื่อนซักครั้ง น่าจะเสียค่าใช้จ่ายราวๆหลัก 2xx - 3xx บาทเท่านั้น ก็ไม่รู้ว่าเพราะค่าต้นทุนมันแพงขึ้น (ค่าแรงแพงขึ้น .. ก็คงมีส่วน) หรือว่าร้านค้าเหล่านี้เริ่มปั่นราคาเกินควรกันแน่ ทั้งที่เวลาไปกินมันก็ไม่ได้อร่อยต่างกันมากนักในราคาใกล้ๆกัน
การที่ราคาขึ้นกันเร็วแบบนี้ แสดงให้เห็นถึงกลไกของตลาดทุนนิยมเสรี กำลังผลิบานเกือบจะเต็มใบ (เผื่อใครยังไม่รู้ สังคมเราเริ่มเปลี่ยนเป็นทุนนิยมเสรีไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว ดังนั้นราคาสินค้าบริหารต่างๆจะใช้กลไกของ demand & supply หาจุดที่จะได้กำไรสูงสุดกัน แทนที่จะดูจากต้นทุนผลิตแล้วบวกกำไรพอเป็นพิธี เหมือนยุคก่อนนี้) แต่ดูเหมือนคนไทยจะยังปรับตัวให้ "เหมาะสม" กับความเปลี่ยนแปลงนี้ไม่ทัน
โดยเฉพาะสังคมยุค social media ที่มีการแชร์รูปกินดีเที่ยวหรู อยู่สบาย กันทั่วไป ทำให้เกิดการกระตุ้นกิเลสกันมากมายมหาศาลกว่าทุกยุคที่ผ่านมา (มันถึงมีสำนวนว่า "กระเป๋าตังในมือผมมันสั่นไปหมดแล้ว" เกิดขึ้นมาไงล่ะ)
ในหลายๆบริษัท พนง. ประจำ ก็มักจะได้ขึ้นเงินเดือนทีละนิดตามอายุงาน (แต่ถ้าได้โปรโมทก็จะได้เยอะหน่อย)
ซึ่งผมก็เป็น พนง. ประจำเช่นกัน มักจะได้ขึ้นครั้งล่ะ 1-2 % แต่ว่าค่าครองชีพรวมถึงสิ่งที่เราเรียกว่า "ภาษีสังคม" กลับวิ่งไปเร็วกว่านั้นมาก โดยเฉพาะอย่างหลัง ซึ่งเข้าใจว่าจะไม่แสดงออกในตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภคของ ธปท. เพราะดัชนีนี้คิดเฉพาะปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีพเป็นหลัก แล้วไอ้ที่ๆ "ต้อง" ไปจ่ายภาษีสังคมนั้น ก็ไม่ได้เข้าข่ายเอาไปคิดในดัชนีดังกล่าวด้วยเพราะจัดเป็นสิ่งฟุ่มเฟือย (แต่ถ้าเข้าสังคม ไม่อยากไปก็เหมือนบังคับไปแหละ)
แล้วเราจะเอาตัวรอดจากเหตุการณ์นี้ได้ยังไง ?
ถ้าไม่คิดหาทางเพิ่มรายรับให้เร็วกว่าค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้น ก็คงต้อง หาทางลดรายจ่ายพวกนี้ลงให้ได้แหละครับ
- การหารายได้เพิ่มคงไม่พ้นหาอาชีพเสริมนอกเวลา การเปลี่ยนงาน หรือ การบริหารพอร์ตการลงทุนส่วนตัว
- การลดรายจ่าย อันนี้หินกว่า เพราะถึงเราจะมองว่า ภาษีสังคม หลายครั้งมัน "เว่อร์เกิน" แต่ก็ยากจะเลี่ยงโดยไม่ให้เสียน้ำใจ แล้วทำไงดี
ก็ไม่พ้นต้องหาทางเลี่ยงแบบละมุนละม่อม อันนี้คงต้องใช้ศิลปะกันซักหน่อย เช่น บอกว่าไม่ว่าง ไม่สะดวก หรือ ทำตัวเงียบๆไว้ไม่พูดไม่จา ...
ถ้าโดนต้อนจนมุมจริงๆคงต้อง กลับไปดูเป้าหมายชีวิตของเราเอง ว่าการไปเข้าสังคมนี้มันกระทบเป้าหมายเรายังไง บวกหรือลบ ถ้ามันเป็นผลลบต่อเป้าหมายชีวิตเรา เราก็ควรต้องปฏิเสธอย่างตรงไปตรงมา หรือต่อรองให้ไปเลี้ยงกันในที่ๆราคาถูกกว่านั้นหน่อย (ทุกคนเกิดมามีเสรีภาพในชีวิต คนไทยเราขี้เกรงใจแต่คิดอีกแง่ อีกฝ่ายก็ควรต้องเกรงใจเราด้วย ดังนั้นก็สื่อสารกันได้ ไม่ว่าผลจะออกมายังไง ไม่ใช่ความผิดเราเลยครับ ถ้าผลออกมาแย่มันคือผิดที่วุฒิภาวะของอีกฝ่ายเอง)
ผมรู้สึกว่าคนไทยส่วนใหญ่ แม้แต่คนมีระดับการศึกษาดี ยังขาดการวางแผนการเงินสำหรับชีวิตของตัวเองอยู่ ทำให้ไม่ค่อยรู้ตัวกันว่าใช้เงินเกินตัวกันไปแล้ว (เพราะระบบมหาวิทยาลัย ไม่เคยสอนเรื่องนี้อยู่แล้ว)
แต่ก็เป็นไปได้ว่า เป้าหมายของแต่ละคนที่ต่างกัน ก็ส่งผลให้ plan ออกมาไม่เหมือนกัน งบจับจ่ายก็ต่างกันได้ ซึ่งความแตกต่างระหว่างบุคคลนี้ ควรจะเจรจาหาข้อตกลงอย่างสันติกันได้ โดยเราก็รักษาจุดยืนของเราให้แผนชีวิตของเราและของเขายังราบรื่นต่อไปได้ด้วย น่าจะเป็นสิ่งที่ควรจะเป็นมากที่สุดครับ
วันเสาร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
เมื่อ SET ทำท่าจะร่วงแหล่ไม่ร่วงแหล่มาพักนึง เราทำอะไรได้บ้าง
วันนี้ผมอัพ blog จากหน้าโรงหนังลิโด้ กำลังนั่งรอดูหนังเรื่อง Parasyte อยู่ แต่เหลือเวลาอีกนานกว่าหนังจะฉายรอบ 2 ทุ่ม ก็เลยเขียน blog หน่อยดีกว่า
หลายวันมานี้ ตลาดหุ้นดูไม่ค่อยสดใสเท่าไหร่ ดัชนี SET ก็ขึ้นๆลงๆหาทางไปยังไม่เจอ ล่าสุดก็ตกลงมาอยู่แถวๆ 15xx อีกแล้ว
ในเวลาแบบนี้ พวก VI ที่นั่งทับมือตัวเองไว้มานาน ในใจก็แช่งลงๆ เพราะรอจะซื้อของตอนมันกลับลงมาที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่คำนวณได้ ในระดับมี MOS (margin of safety) ตั้งแต่ 20% ขึ้นไป, เพราะที่ผ่านมาหุ้นบ้านเราแพงไปมากๆจากมูลค่าพื้นฐานที่ควรจะเป็น ทำให้หาซื้อหุ้นไม่ได้ (เมื่อใช้วิธี VI แบบดั้งเดิม), VI บางคนอาจจะล้างพอร์ตไปก่อนนี้แล้วเมื่อเห็นว่าตลาดอิ่มตัวและเริ่มเป็นฟองสบู่
แต่ถ้าใครเล่น VI แล้วยังไม่มี หุ้นเป้าหมายพร้อมกับราคาเหมาะสมอยู่ในมือ เวลานี้ก็ควรอย่างยิ่งจะเร่งทำการบ้าน ใส่หุ้นเป้าหมายไว้แล้วจับตาดูว่าเมื่อไหร่จะเข้าซื้อได้น่ะครับ
ส่วนพวกนักเก็งกำไร ไม่ว่าเวลาไหนก็ทำคล้ายๆเดิม คือรันระบบเทรดไปตามแผน แต่ตลาดแบบนี้ต้องเล่นพวกสัญญา ฟิวเจอร์ ต่างๆ ที่ทำงานได้ทั้งตลาดขาขึ้นและลง อย่างไรก็ตาม ตลาดที่ผันผวนจนเริ่มจะ side way แบบนี้ก็คงยากจะได้กำไรเหมือนกัน เพราะระบบเทรดจะทำงานได้ดี กราฟต้องมีเทรนด์ที่ชัดซักหน่อย ไม่ไช่แบบเดาทางไม่ได้แบบที่เป็นอยู่
หลายวันมานี้ ตลาดหุ้นดูไม่ค่อยสดใสเท่าไหร่ ดัชนี SET ก็ขึ้นๆลงๆหาทางไปยังไม่เจอ ล่าสุดก็ตกลงมาอยู่แถวๆ 15xx อีกแล้ว
ในเวลาแบบนี้ พวก VI ที่นั่งทับมือตัวเองไว้มานาน ในใจก็แช่งลงๆ เพราะรอจะซื้อของตอนมันกลับลงมาที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่คำนวณได้ ในระดับมี MOS (margin of safety) ตั้งแต่ 20% ขึ้นไป, เพราะที่ผ่านมาหุ้นบ้านเราแพงไปมากๆจากมูลค่าพื้นฐานที่ควรจะเป็น ทำให้หาซื้อหุ้นไม่ได้ (เมื่อใช้วิธี VI แบบดั้งเดิม), VI บางคนอาจจะล้างพอร์ตไปก่อนนี้แล้วเมื่อเห็นว่าตลาดอิ่มตัวและเริ่มเป็นฟองสบู่
แต่ถ้าใครเล่น VI แล้วยังไม่มี หุ้นเป้าหมายพร้อมกับราคาเหมาะสมอยู่ในมือ เวลานี้ก็ควรอย่างยิ่งจะเร่งทำการบ้าน ใส่หุ้นเป้าหมายไว้แล้วจับตาดูว่าเมื่อไหร่จะเข้าซื้อได้น่ะครับ
ส่วนพวกนักเก็งกำไร ไม่ว่าเวลาไหนก็ทำคล้ายๆเดิม คือรันระบบเทรดไปตามแผน แต่ตลาดแบบนี้ต้องเล่นพวกสัญญา ฟิวเจอร์ ต่างๆ ที่ทำงานได้ทั้งตลาดขาขึ้นและลง อย่างไรก็ตาม ตลาดที่ผันผวนจนเริ่มจะ side way แบบนี้ก็คงยากจะได้กำไรเหมือนกัน เพราะระบบเทรดจะทำงานได้ดี กราฟต้องมีเทรนด์ที่ชัดซักหน่อย ไม่ไช่แบบเดาทางไม่ได้แบบที่เป็นอยู่
วันพุธที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
กระแสทีวีดิจิตอล, เมื่อความรู้เศรษฐศาสตร์แบบพื้นๆ ทำให้รอดจากความเสี่ยงใหญ่
"อมรินทร์"กระอัก! ขาดทุนไตรมาสแรก 117 ล้าน คิดเป็น 2,902% เหตุทีวีดิจิตอลถ่วง "โมโน"กอดคอ ติดลบ257%
พาดหัวข่าวจาก มติชน วันนี้ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1431520750)
ทำให้ผมนึกถึงเมื่อราว 2 ปีก่อน ที่กระแสทีวีดิจิตอลกำลังกรุ่นๆ ใครๆรอบตัวก็พูดถึงทีวีดิจิตอล และแน่นอนรวมถึงความคาดหวังจากการเก็งกำไรหุ้นของบริษัทที่ประกาศตัวชัดกว่าจะกระโดดเข้ามาในสนามนี้
ตอนนั้นผมหัดเล่นหุ้นใหม่ๆ ยังไม่ปีกกล้าขาแข็งนัก ก็คุ้ยๆหาหุ้นแนวอนุรักษ์นิยมหน่อย เน้นแบบกำไรสม่ำเสมอ และโตเรื่อยๆต่อเนื่อง
ไปสะดุดตากับหุ้น MCOT ซึ่งกำไรก็ดูดีมาก และยังไม่ over value
ผมเอาไปคุยกับเพื่อนๆที่ทำงาน ก็ได้รู้เพิ่มเติมว่า MCOT ก็มีแผนจะลุยตลาด ทีวีดิจิตอล เหมือนกัน (ตอนนั้นถ้าจำไม่ผิด MCOT มีข่าวด้านลบซักอย่างอยู่ ซึ่งก็เป็นส่วนนึงที่ทำให้ราคาหุ้นไม่วิ่งไปเหมือนอย่างตัวอื่นๆเขา) ทำให้รู้สึกว่าดูน่าเล่นขึ้นมาทันที
แต่อยู่ๆก็นึกขึ้นได้ว่า เค้กชิ้นนึง ที่เดิมมีคนแบ่งกันกินแค่ 5-6 คน, อยู่ๆจะมีการเปลี่ยนแปลงใหญ่ ที่ทำให้เค้กชิ้นเท่าเดิมนี้ จะมีคนมาแบ่งกันกินเป็นสิบๆคน แล้วผลกำไรที่เติบโตอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องที่เห็นอยู่ตอนนี้ มันจะยังเป็นอย่างงั้นต่อไปได้หรือ .. ผมคิดว่าไม่น่าจะเป็นไปได้
พอคิดแบบนี้ขึ้นมา ก็เลยตัดสินใจวางหุ้นนี้ลง (รวมถึงหุ้นทีวีดิจิตอลอื่นๆด้วย เพราะราคาแพงไปหมดแล้ว และผมก็ไม่มีความรู้ในตลาดนี้มากนัก) และหันไปหาหุ้นอื่นๆ
และข่าววันนี้ ก็ออกมาเป็นอย่างที่เคยคาดเอาไว้ ทำให้รู้สึกว่าวันนั้นโชคดีที่ไม่หลวมไปเล่นในตลาดนี้ตามกระแสฮิตในช่วงนั้น
แล้วเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์ยังไง ?
นิยามของเศรษฐศาสตร์ อย่างสั้นและเรียบง่ายที่สุดคือ ศาสตร์ของการบริหารทรัพยากรที่มีจำกัด เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ที่มีไม่จำกัด
ในทางกลับกัน demand ในตลาดต่างๆ ก็สามารถมองเป็น ทรัพยากรที่มีจำกัดได้ และมันต้องตอบสนองต่อความต้องการ(อันไม่จำกัด) ของบริษัทต่างๆที่จ้องจะจับ demand เหล่านั้น เรื่องนี้ก็จึงเป็นไปตามหลักพื้นฐานของเศรษฐศาสตร์นี้เช่นกัน
นี่ขนาดแค่นิยามของศาสตร์เฉยๆ ก็ยังมีประโยชน์แล้ว
นักลงทุนที่จะสามารถอยู่รอดในตลาดระยะยาวๆได้ จึงควรหาความรู้ไว้เยอะๆน่ะครับ
ยิ่งรู้มากเท่าไหร่ ยิ่งลดความเสี่ยงได้มากเท่านั้น
วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558
Hello World !! วันแรกกับการอัพ blog แห่งนี้
ในที่สุดก็มี blog ขึ้นมาซักที หลังจากเดิมมีแต่ตอบกระทู้ที่นั่นที่นี่ เกี่ยวกับการเงินการลงทุน แล้วเพื่อนๆ เห็นเราตอบจริงจังมีสาระเยอะ น่าจะอัพเป็น blog ไปเลยดีกว่า จะได้เก็บเป็นคลังความรู้ไว้กลับมาอ่านดูได้ง่ายๆ และเผื่อว่าวันนึงมันอาจจะเป็นประโยชน์กับคนอื่นๆที่ search มาเจอ ก็เป็นได้
ต่อจากนี้ ก็คิดว่า หากมีการตอบกระทู้ที่ไหน ที่เกี่ยวกับการเงินการลงทุน ก็จะเอามาเซฟเก็บไว้ที่นี่ด้วย
หรือหากวันไหนอยู่ๆ เกิดไอเดียบรรเจิด ไปอ่านไปคิด แล้วได้ความรู้ใหม่ๆมา อยากจะแชร์ ก็จะเอามาเก็บไว้ที่นี่เช่นกันครับ
เพจนี้จะถูกวางสถานะไว้เป็นต้นทางของเพจที่ผมเปิดไว้บน facebook พร้อมๆกันนี้ คือ https://www.facebook.com/sompolinvestment
เพราะว่ากลไกการ report บน facebook นั้นค่อนข้างเปิดกว้างให้ใครรีพอร์ทก็ได้ ทำให้เพจปลิวได้ง่าย
แต่ขณะเดียวกัน เครือข่ายบน Facebook ก็มีเพื่อนและคนรู้จักของเราอยู่เยอะกว่ามากๆ
ดังนั้นจึงคิดว่า ใช้วิธีอัพ blog ที่นี่เป็นหลัก แล้วแชร์ต่อไปบน facebook น่าจะดีกว่า เผื่อว่าเพจบน facebook มีปัญหาขึ้นมา ข้อมูลต่างๆจะได้ยังคงเหลืออยู่ที่ blog นี้ไว้กู้กลับคืนมาได้
วันนี้ก็พอแค่นี้ก่อน โปรดติดตามตอนต่อไป (ไม่รู้เมื่อไหร่) ได้น่ะครับ :D
ต่อจากนี้ ก็คิดว่า หากมีการตอบกระทู้ที่ไหน ที่เกี่ยวกับการเงินการลงทุน ก็จะเอามาเซฟเก็บไว้ที่นี่ด้วย
หรือหากวันไหนอยู่ๆ เกิดไอเดียบรรเจิด ไปอ่านไปคิด แล้วได้ความรู้ใหม่ๆมา อยากจะแชร์ ก็จะเอามาเก็บไว้ที่นี่เช่นกันครับ
เพจนี้จะถูกวางสถานะไว้เป็นต้นทางของเพจที่ผมเปิดไว้บน facebook พร้อมๆกันนี้ คือ https://www.facebook.com/sompolinvestment
เพราะว่ากลไกการ report บน facebook นั้นค่อนข้างเปิดกว้างให้ใครรีพอร์ทก็ได้ ทำให้เพจปลิวได้ง่าย
แต่ขณะเดียวกัน เครือข่ายบน Facebook ก็มีเพื่อนและคนรู้จักของเราอยู่เยอะกว่ามากๆ
ดังนั้นจึงคิดว่า ใช้วิธีอัพ blog ที่นี่เป็นหลัก แล้วแชร์ต่อไปบน facebook น่าจะดีกว่า เผื่อว่าเพจบน facebook มีปัญหาขึ้นมา ข้อมูลต่างๆจะได้ยังคงเหลืออยู่ที่ blog นี้ไว้กู้กลับคืนมาได้
วันนี้ก็พอแค่นี้ก่อน โปรดติดตามตอนต่อไป (ไม่รู้เมื่อไหร่) ได้น่ะครับ :D
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)